SHARE

คัดลอกแล้ว

นักกฎหมายข้ามเพศทนายความข้ามเพศยื่นคำให้การต่อศาลปกครองกลางในฐานะผู้ร้องกรณีสภาทนายฯ ยื่นฟ้องวลพ. ไม่เห็นด้วยกับการแก้กฎระเบียบการเข้าสอบ หวังหากศาลปกครองชี้ขาดให้สภาทนายความแก้ไขระเบียบการแต่งกายให้สอดคล้องกับความหลากหลายทางเพศ ทนายความจะสามารถแต่งกายตามเพศสภาพว่าความในศาลได้

วานนี้ (13 ธ.ค. 2565) ชิษณ์ชาภา พานิช นักกฎหมายหญิงข้ามเพศเดินทางไปยังศาลปกครองกลาง เขตหลักสี่ เพื่อยื่นคำให้การแก้ไขคำฟ้องร้องของสภาทนายความกรณีสภาทนายความได้ยื่นฟ้องร้องต่อคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) ที่ศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 

เนื้อหาการฟ้องร้องของสภาทนายความแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของวลพ. ที่ให้สภาทนายความแก้ไขระเบียบโดยให้บุคคลที่มีการแสดงออกทางเพศแตกต่างจากเพศกำเนิดให้สามารถแต่งกายตามเพศสภาพของตนได้ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายในการเข้าอบรม ฝึกงาน การเข้าสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ หรือการเข้ารับประกาศนียบัตรและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความเมื่อสำเร็จการอบรม จึงร้องขอให้ศาลปกครองวินิจฉัยชี้ขาดว่าคำสั่งวลพ.ที่ 04/2565 เป็นการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ก่อนหน้านี้ชิษณ์ชาภาต้องเข้าสอบเพื่อขอใบอนุญาตการเป็นทนายความในภาคทฤษฎี โดยในวันที่ 26 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่คุมสอบระบุกับเธอว่า เธอแต่งกายผิดระเบียบคุมสอบและขอให้เซ็นใบรับทราบว่าแต่งกายผิดระเบียบในระหว่างการสอบ แต่ไม่ได้มีการไล่เธอออกจากห้องสอบแต่อย่างใด ทำให้เธอสามารถผ่านการสอบในครั้งนั้นมาได้และเข้าสู่การสอบภาคปฏิบัติ ในวันที่ 14 สิงหาคม 2565 

ชิษณ์ชาภากล่าวว่า แม้เธอจะสามารถผ่านการสอบครั้งนั้นมาได้ โดยมีคะแนนผ่านเกณฑ์ของสภาทนายความ ทว่าเธอยังคงกังวลว่าการแต่งกายตามเพศสภาพของเธอที่ผิดระเบียบการแต่งกายเข้าสอบของสภาทนายความจะส่งผลให้เธอถูกหักคะแนนสอบในครั้งนั้น เธอกล่าวเพิ่มเติมว่านอกจากความกังวลเรื่องการถูกหักคะแนนสอบแล้วเธอยังได้รับผลกระทบทางจิตใจจากความอับอายจนสูญเสียสมาธิในการสอบเป็นเหตุผลให้เธอยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) ให้ช่วยตรวจสอบระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจนออกเป็นคำสั่งวลพ.ดังกล่าว

ลำดับต่อไปหลังจากการยื่นคำให้การแก้ไขคำฟ้องร้องของสภาทนายความเแล้วเสร็จ ศาลจะพิจารณาคำให้การของชิษณ์ชาภา และวลพ. กับคำฟ้องร้องของสภาทนายความว่าระเบียบการแต่งกายของสภาทนายความมีการเลือกปฏิบัติจริงหรือไม่ หากวินิจฉัยแล้วพบว่าเป็นการเลือกปฏิบัติจริง ศาลจะยกคำฟ้องร้องของสภาทนายความ และสั่งให้สภาทนายความปฏิบัติตามคำร้องของวลพ. โดยให้แก้กฎอนุญาตให้บุคคลข้ามเพศสามารถแต่งกายตามเพศสภาพเข้าสอบหรือเข้าอบรมของสภาทนายความได้

ผู้สื่อข่าว TODAY ได้สอบถามเพิ่มเติมถึงผลลัพธ์หากว่าศาลยกคำฟ้องร้องของสภาทนายความจะเกิดอะไรขึ้น ชิษณ์ชาภากล่าวว่า หากสภาทนายความถูกยกคำร้องจะส่งผลให้ผู้ที่เข้าอบรมหรือต้องการจะสอบตั๋วทนายโดยผู้นั้นมีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดจะได้รับสิทธิ์การแต่งกายตามเพศสภาพอย่างสุภาพเข้าสอบได้ ที่สำคัญคือสามารถว่าความในศาลได้โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตหรือนำหลักฐานการศัลยกรรมแปลงเพศมายื่นให้กับเจ้าพนักงานต่อไป

ก่อนหน้านี้คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) ได้รับคำร้องให้วินิจฉัยระเบียบการแต่งกายหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดคือวินิจฉัยให้ทนายความหญิงสามารถใส่กางเกงว่าความในชั้นศาลได้ แต่ยังไม่แน่ชัดว่ากรณีนี้สภาทนายความจะยื่นฟ้องศาลปกครองเช่นเดียวกันกับกรณีของชิษณ์ชาภาหรือไม่ 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า