Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ถือเป็นที่พึ่งของหลายประเทศในยามคับขัน เพราะเป็นกองทุนที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน

IMF ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2487 จากการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference หรือที่รู้จักในนาม Bretton Woods Conference มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา และมีฐานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ

จากข้อมูล ณ วันที่ 21 พ.ค. 2567 ‘อาร์เจนตินา’ เป็นประเทศที่มีหนี้กับ IMF มากที่สุดที่ 1.12 ล้านล้านบาท หรือราว 5.3% ต่อจีดีพี รองลงมาคืออียิปต์ 4 แสนล้านบาท หรือราว 3.1% ต่อจีดีพี และอันดับสามคือยูเครน 3.3 แสนล้านบาท หรือราว 4.7% ต่อจีดีพี (ตามรูป)

top-10-countries-most-in-debt-to-the-imf

สำหรับประเทศไทย ในอดีตเคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินฯ ภายใต้โครงการเงินกู้ Stand-by รวม 5 ครั้ง วงเงินรวมทั้งสิ้น 4,431 ล้าน SDR (ราว 2 แสนล้านบาท) ก่อนใช้หนี้หมดเมื่อปี 2546

ครั้งที่ 1 เมื่อเดือน ก.ค. 2521 จำนวน 42.25 ล้าน SDR (ประมาณ 2,143 ล้านบาท)

ครั้งที่ 2 เมื่อเดือน มิ.ย. 2524 จำนวน 814.5 ล้าน SDR ประมาณ 38,566 ล้านบาท(โดยเบิกถอนจริงเพียงแค่ 345 ล้าน SDR หรือประมาณ 16,336 ล้านบาท)

ครั้งที่ 3 เมื่อเดือน พ.ย. 2525 จำนวน 271.5 ล้าน SDR หรือประมาณ 12,855 ล้านบาท

ครั้งที่ 4 เมื่อเดือน มิ.ย. 2528 จำนวน 400 ล้าน SDR ประมาณ 18,915 ล้านบาท (แต่เบิกจริงเพียง 260 ล้าน SDR หรือประมาณ 12,310 ล้านบาท)

ครั้งที่ 5 เมื่อเดือน ก.ค. 2546 จำนวน 2,900 ล้าน SDR ประมาณ 137,314 ล้านบาท (แต่เบิกจริงแค่ 2,500 ล้าน SDR หรือประมาณ 118,374 ล้านบาท)

ที่มา:

  • www.bot.or.th/th/our-roles/international-cooperation/interorg/imf.html
  • www.imf.org/external/np/fin/tad/balmov2.aspx?type=TOTAL
  • www.imf.org/external/np/fin/tad/exfin2.aspx?memberKey1=940&date1key=2099-12-31

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า