SHARE

คัดลอกแล้ว

เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เยาวชนไทยต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน และด้านที่สำคัญต่ออนาคตอย่าง การศึกษา

แต่ผลสำรวจจากงานวิจัยเชิงนโยบายซึ่ง Thailand Policy Lab ห้องปฏิบัติการออกแบบนโยบายสาธารณะ ก่อตั้งโดยสภาพัฒน์ฯ และ UNDP พบว่าการเรียนออนไลน์ตลอด 4 เทอมที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อเยาวชนไทย ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างน่าเป็นห่วง

งานวิจัยเชิงนโยบายของ Thailand Policy Lab ถูกจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเกี่ยวกับ Well-Being หรือ ‘ความเป็นอยู่ที่ดี’ ของเยาวชนไทยในช่วงโควิด-19 การสำรวจนี้เกิดขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหญ่ ทำให้กระทรวงศึกษาธิการที่ประกาศเลื่อนเปิดเทอมมาแล้วถึง 2 ครั้ง ออกคำสั่งให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสมโดยหนึ่งในนั้นคือ รูปแบบออนไลน์

ก่อนที่จะเริ่มทำการวิจัย Thailand Policy Lab ได้มีกระบวนการทำแบบสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนไทยว่าพวกเขามองเห็นปัญหาใดมีความเร่งด่วนและควรได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด ผลสำรวจพบว่า สุขภาพจิต และ สุขภาวะ คือหนึ่งในปัญหาที่เยาวชนมองว่าเร่งด่วนและสำคัญ ต่อมาทีมวิจัยจึงใช้เครื่องมือ Social Listening ในการกวาดสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนไทยบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยปกติเครื่องมือนี้แล้วมักถูกใช้งานในโลกธุรกิจเพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภค คราวนี้ถูกนำมาใช้ในการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนเพื่อนำมาออกแบบเป็นนโยบายที่สามารถเข้าถึงความเป็นมนุษย์และเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของประชาชนอย่างแท้จริง 

คีย์เวิร์ดและแฮชแท็กต่าง ๆ ที่ทีมวิจัยเลือกสำรวจมักเป็นคำที่มีความเกี่ยวข้องกับ Well-Being หรือ ความเป็นอยู่ที่ดี เช่น เครียด ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด เศร้า เหงา ปวดท้อง ปวดตา ฯลฯ

‘ปัญหาด้านจิตใจ’ แผลใหญ่ของวัยรุ่นยุคโควิด

ทีมวิจัยคัดแยกข้อมูลที่ได้จากการสำรวจผ่านเครื่องมือ Social Listening กว่า 117,991 ข้อความ โดยสามารถจำแนกตามประเภทตามสุขภาวะ* หรือภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม ออกมาได้ดังนี้

      • จิตใจ 80% คีย์เวิร์ดที่พูดถึงภาวะสุขภาพจิตที่ไม่ดี ถูกพูดถึงกว่า 93,933 ข้อความ โดย ‘เครียด’ เป็นคีย์เวิร์ดที่ถูกพบมากที่สุด 59,784 ครั้ง รองลงมาคือ ‘หงุดหงิด’ 6,242 ครั้ง ‘ซึมเศร้า’ 5,355 ครั้ง และ ‘คิดมาก’ 5,122 ครั้ง
      • สังคม 11% ความทุกข์จากการต้องกักตัว หรืออยู่บ้านนาน ๆ ทำให้เยาวชนไทยรู้สึกขาดสังคม โดยคีย์เวิร์ด ‘เหงา’ ถูกพบมากที่สุด 4,293 ครั้ง ‘ไม่มีเพื่อน’ 2,327 ครั้ง และ ‘ครอบครัว’ 1,717 ครั้ง
      • ร่างกาย 8% มีคีย์เวิร์ดที่พูดถึงภาวะความเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น ‘นอนไม่หลับ’ 2,782 ครั้ง ‘ปวดตา’ 1,788 ครั้ง และ ‘ปวดท้อง’ 1,765 ครั้ง
      • สติปัญญา 1% คีย์เวิร์ดเกี่ยวกับความรู้ ความคิด เช่น ‘ไม่มีความรู้’ ถูกพูดถึง 557 ครั้ง ‘ไม่มีความสุข’ 485 ครั้ง และ ‘สมาธิสั้น’ 283 ครั้ง

*คำนิยามสุขภาวะตามพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550*

เรียนออนไลน์ ขยายช่องว่างความเหลื่อมล้ำ

ผลสำรวจจากงานวิจัยเผยว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เยาวชนไทยเกิดความรู้สึก เครียด หงุดหงิด เหงา และไม่มีความสุข มักมีที่มาจากความเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา หรือ การเรียนออนไลน์

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ‘ความเหลื่อมล้ำ’ เป็นปัญหาหลักของระบบการศึกษาไทยในสภาวะปกติอยู่แล้ว เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ปัญหาที่มีอยู่เดิมจึงยิ่งแสดงผลชัดเจนกว่าเก่า เราอาจเคยเห็นข่าวการขาดแคลนอุปกรณ์การเรียน การเข้าไม่ถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตของเยาวชนไทยบางพื้นที่ ความไม่พร้อมของหลักสูตรการเรียนการสอนที่ถูกปรับมาเป็นการสอนออนไลน์กะทันหัน ฯลฯ

โดยข้อความที่ได้รับการความสนใจและมีส่วนร่วม (Engagement) มากที่สุด ในช่วงเดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน 2564 สามารถจำแนกประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุดได้ ดังนี้

      • อุปกรณ์การเรียนออนไลน์ เช่น ไม่มีอุปกรณ์การเรียน ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต โดยมีผู้สนใจและมีส่วนร่วมถึง 4,727,389 Engagement
      • การเรียกร้องสิทธิ เช่น อยากให้โรงเรียนเปิด หรือการเกิด #ไม่เรียนออนไลน์แล้วอีสัส ซึ่งมาจากการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ‘นักเรียนเลว’ ได้รับความสนใจถึง 3,920,918  Engagement
      • ค่าเทอมแพง ทั้งที่ไม่ได้ไปโรงเรียน 1,353,502 Engagement
      • การเยียวยาจากรัฐ 266,033 Engagement
      • ความเครียด ภาวะซึมเศร้า เพราะเรียนออนไลน์ 244,113 Engagement

จะเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวสะท้อนภาพความลำบากที่วัยรุ่นไทยต้องเผชิญมาตั้งแต่การเรียนออนไลน์ในปีการศึกษาก่อน โดยช่วงเวลาที่ทำการสำรวจ นับเป็นภาคเรียนที่ 3 แล้ว ที่เยาวชนไทยต้องตกอยู่ในสภาวะนี้

แน่นอนว่าปัญหาทั้งหมดสะสมเป็นความเครียด ความกดดัน และความวิตกกังวล ทั้งในนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ผลกระทบจากภาวะดังกล่าวมีให้เห็นผ่านข่าวการจบชีวิตของนักเรียนชั้น ม.6 เมื่อเดือนกันยายน 2564 หรือตัวเลขของเด็กไทยกว่า 1.2 ล้านคนที่ต้องหลุดจากระบบการศึกษาในภาคเรียนที่ผ่านมา (ข้อมูลจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)) ด้วยสาเหตุจากสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด

ถึงเวลารับฟังปัญหา ดีไซน์ทางออก 

มากกว่าการสะท้อนปัญหาเดิมให้ยิ่งเด่นชัด ดูเหมือนโควิด-19 จะยิ่งถ่างขยายช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ให้กว้างขึ้นกว่าเก่า และมันอาจถึงเวลาแล้วที่เราต้องใช้เสียงของเยาวชนไทยเพื่อหาแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีมานานนี้

แม้ ‘ทางออก’ ที่ได้จากการสำรวจคีย์เวิร์ดข้อเสนอของวัยรุ่นไทย อย่าง เลิกเรียนออนไลน์ เปิดเรียนตามปกติ ปฏิรูปการศึกษา ลดงาน ลดการบ้าน หรือจัดหาจิตแพทย์ให้คำปรึกษานักเรียนนักศึกษาจะถือเป็นเสียงสะท้อนจากวัยรุ่นไทยหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงที่ได้รับผลกระทบ แต่ในทางปฏิบัติข้อความเหล่านี้ยังเป็นเพียงข้อเสนอเบื้องต้น

Thailand Policy Lab นำผลการสำรวจที่ได้จากการวิจัย ร่วมกับการทำ Focus Group เพื่อฟังเยาวชน ออกแบบเป็นกิจกรรม Policy Hackathon ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 28-29 พฤษภาคมนี้ เพื่อต่อยอดไอเดียจากข้อเสนอของเยาวชและข้อมูลงานวิจัยของ Thailand Policy Lab โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งเป็นเยาวชน ผู้ปกครอง หรือครูอาจารย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะนำข้อมูลที่ได้มาผ่านการระดมสมอง ร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา ก่อนจะออกแบบเป็นนโยบายสุขภาวะจิตของเยาวชน 4 ด้าน ได้แก่

      • PROTECTION นโยบายเพื่อแก้ไขและรักษาสุขภาพจิต
      • PREVENTION นโยบายเพื่อป้องกันปัญหาทางสุขภาพจิต
      • PROMOTION นโยบายเพื่อส่งเสริมความเข้าใจด้านสุขภาพจิต
      • FUTURE OF EDUCATION นโยบายด้านการศึกษาที่ใส่ใจสุขภาพจิต

นโยบายที่ได้จากกิจกรรม Policy Hackathon จะถูกนำไปเผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ก่อนทดลองในพื้นที่จริงเพื่อพัฒนาต่อ และผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้

จะเห็นได้ว่าตลอดกระบวนการทำงาน ทั้งการกำหนดประเด็นปัญหา การกวาดข้อมูล การฟังอย่างลึกซึ้ง จนถึงการออกแบบนโยบายร่วมกัน คือ การออกแบบนโยบายเพื่อเยาวชนโดยเยาวชน (Policy For Youth By Youth) ซึ่ง Thailand Policy Lab ที่มีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนกระบวนการออกแบบนโยบายสาธารณะของประเทศไทยให้รับฟังเสียงของประชาชนมากขึ้น ได้ถือโอกาสมอบบทบาท ‘นักออกแบบนโยบาย’ (Policy Entrepreneur) ให้อยู่ในมือของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแท้จริง

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารกิจกรรม ร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมโหวตโยบายที่คุณคิดว่าเร่งด่วนได้ผ่านช่องทางของ Thailand Policy Lab หรือคลิก https://thailandpolicylab.com/

อย่าลืมมาร่วมเปิดหน้า เข้าใจปัญหาของคนรุ่นใหม่ พร้อมออกแบบ Youth Policy ไปพร้อมกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า