Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อนุทิน ยันนำโควิดออกจากยูเซ็ป เพราะจะให้โควิด-19 เป็นโรคปกติ ไม่ใช่โรคฉุกเฉิน รัฐยังดูแลตามสิทธิ 

วันที่ 14 ก.พ. 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมบอกให้ติดตามงาน รองรับสถานการณ์โควิด-19 ตนจึงให้ความมั่นใจไปว่ากระทรวงสาธารณสุขเตรียมความพร้อมแม้จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นก็ตาม อย่างกรณีนำโรคโควิด-19 ออกจากบริการ UCEP (ยูเซ็ป) หรือการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่นั้น ไม่ได้หมายความว่ายกเลิก แต่เราจะทำให้โควิด-19 เป็นโรคปกติ ไม่ใช่โรคฉุกเฉิน หากใครติดโควิด-19 แล้วมีอาการหนักสามารถเข้ารักษาฉุกเฉินได้ในสถานพยาบาลทุกที่ สปสช.ดูแลครบ สิทธิบัตรทองใช้ได้ทุกที่อยู่แล้ว 

การไปแปลความว่าจะยกเลิก ไม่จ่าย ไม่ดูแลนั้น ยืนยันว่า ไม่ใช่ ถึงอย่างไรรัฐก็จ่ายตามสิทธิที่ทุกคนมีอยู่ ใครฉุกเฉินหรือมีอาการหนัก เรารักษาอยู่แล้ว ไม่ใช่โควิด-19 อย่างเดียว 

นายอนุทิน กล่าวว่า ระบบฉุกเฉินรัฐจะดูแล 3 วัน และจะมีการส่งตัวต่อ ตอนนี้หากส่งต่อก็ส่งมาที่โรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งมีศักยภาพเตียงเพียงพออยู่แล้ว ไม่ได้ไปตัดการดูแล สปสช. ได้ให้รายละเอียดไปแล้ว สำหรับผู้มีประกันหากใครต้องการความสะดวกสบาย สามารถไปใช้โรงพยาบาลเอกชนหากยินดีจะจ่ายส่วนต่าง ถือว่าเป็นสิทธิของเขา หากเกรงว่าประกันภัย ประกันสุขภาพ จะไม่ครอบคลุม กรมการแพทย์ สปสช. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะออกหลักเกณฑ์ขึ้นมา จะมาเลี่ยงบาลีใช้เหตุผลอะไรต่างๆ เอาเปรียบผู้ซื้อประกันไม่ได้

ด้านนายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์กรณีเสนอให้เลื่อนปลดโรคโควิด-19 จากโรคฉุกเฉินวิกฤต (UCEP) จากวันที่ 1 มี.ค. เป็นวันที่ 1 เม.ย. 2565 ว่า ได้หารือกับ นายอนุทิน แล้ว ซึ่งได้มอบหมายให้ตนประชุมหารือกับ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน

“ขณะนี้ยังไม่มีการประกาศปลดโควิดจากโรคฉุกเฉินวิกฤต อยู่ระหว่างการร่างประกาศ ซึ่งเดิมสถานการณ์การติดเชื้อไม่สูงมาก แต่หลังจากเทศกาลตรุษจีนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากประชาชนยังไม่ได้รับทราบข้อมูลมากพอ อาจเกิดปัญหาเมื่อไปรับบริการได้ จึงต้องใช้เวลาในการสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจว่า เมื่อประกาศยกเลิก UCEP โควิด ต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิ หากไปโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ได้อยู่ในสิทธิ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง เหมือนกับการรักษาโรคอื่น ๆ ตามปกติ” นายสาธิต กล่าว

นายสาธิตกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังต้องหารือเรื่องอื่นๆ ด้วย ทั้งปัญหาการตีความประกันภัย อัตราการครองเตียง ที่ต้องคำนึงถึงผู้ติดเชื้อโควิดที่มีโรคร่วม เช่น มะเร็ง ซึ่งแม้จะไม่มีอาการแต่มีความจำเป็นต้องใช้เตียงที่มีศักยภาพ และหากมีการติดเชื้อสูงขึ้นอาจยังต้องใช้ศักยภาพของโรงพยาบาลเอกชนด้วย รวมถึงกรณีพื้นที่ กทม. ผู้ที่อยู่อาคารชุดหรือคอนโด หากนิติบุคคลไม่ให้กักตัว ก็อาจต้องไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนที่มีฮอสพิเทล จึงควรต้องมีเป็นทางเลือกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งถ้าได้ข้อสรุปแล้วจะเสนอให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสื่อสารกับประชาชนต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า