Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดผลโพล สถาบันพระปกเกล้า 1 ปี หลังการเลือกตั้ง ‘ก้าวไกล’ คะแนนนิยมมาแรงแซง ‘เพื่อไทย’ ส่วนคนที่ถูกเทใจอยากให้เป็นนายกฯ ในเวลานี้ อันดับ 1 ‘พิธา’ ด้าน ‘เศรษฐา’ รั้งที่ 4

เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 67 สถาบันพระปกเกล้า โดย สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับ สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง และศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง 76 จังหวัด สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความนิยมในพรรคการเมืองและนายกรัฐมนตรี: 1 ปีหลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาฯ 2566” จำนวน 1,620 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 7-18 พ.ค. 67 ใช้วิธีการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) ในทุกจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานคร

ผลการสำรวจ พบว่า ถ้ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในช่วงนี้ คนส่วนใหญ่ยังคงจะเลือกพรรคก้าวไกล มากเป็นอันดับ 1 ทั้ง 2 บัตร

เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า “ถ้ามีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ท่านจะลงคะแนนเลือกผู้สมัคร จากพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้ง สส. แบบแบ่งเขต” ผู้ตอบ ร้อยละ 35.7 ระบุว่า จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคก้าวไกล รองลงมา ระบุว่า จะลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย คิดเป็นร้อยละ 18.1 ผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 11.2 ผู้สมัครจากพรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 9.2 ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 7.8 ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 5 ผู้สมัครจากชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 1.6 ผู้สมัครจากพรรคประชาชาติ ร้อยละ 1.2 ตามลำดับ ในขณะที่มีผู้ตอบสอบถามที่ระบุว่า จะลงคะแนนให้ผู้สมัครจากพรรคอื่นๆ หรือยังไม่ตัดสินใจเลือกใครในตอนนี้ รวมกันอีกร้อยะ 10.2

เมื่อสอบถามต่อไปว่า แล้วในการเลือกตั้ง สส. แบบบัญชีรายชื่อ ถ้ามีการเลือกตั้ง สส. ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ท่านจะลงคะแนนให้แก่บัญชีรายชื่อของพรรคใด” ผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 44.9 ระบุว่า จะลงคะแนนให้พรรคก้าวไกล รองลงมา ระบุว่า จะลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทย คิดเป็นร้อยละ 20.2 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 10.9 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 3.5 พรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 3 พรรคประชาชาติ ร้อยละ 1.3 และพรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 0.7 ตามลำดับ นอกจากนี้ น่าสนใจว่า ยังมีผู้ตอบที่ระบุว่าจะลงคะแนนให้พรรคการเมืองอื่นๆ หรือไม่ต้องการลงคะแนนให้พรรคใดเลยในตอนนี้ รวมกันถึงร้อยละ 12.6

ทั้งนี้ เมื่อนำผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้เปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้ง สส. เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 66 ปรากฏว่า พรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนในการเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเพิ่มขึ้น มี 2 พรรค คือ พรรคก้าวไกลและพรรคประชาชาติ โดย พรรคก้าวไกล ได้รับคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 9.67 ซึ่งอาจส่งผลให้พรรคมีโอกาสชนะการเลือกตั้ง และได้ สส. เพิ่มขึ้นถึง 49 ที่นั่ง ส่วน พรรคประชาชาติ ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 0.35 ซึ่งอาจทำให้พรรคมีโอกาสชนะการเลือกตั้งแต่ได้ สส. เพิ่มขึ้น 1 ที่นั่ง

ในขณะที่มีพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตลดลง จำนวน 6 พรรค ได้แก่ พรรคเพื่อไทย ได้รับคะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 7 และอาจส่งผลให้พรรค มีโอกาสเสียที่นั่งที่มีอยู่เดิมไปราว 28 ที่นั่ง

พรรคพลังประชารัฐ คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 3.41 มีโอกาสเสียที่นั่ง 11 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 2.64 มีโอกาสเสียที่นั่ง 10 ที่นั่ง และ พรรคประชาธิปัตย์ คะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 1.13 มีโอกาสเสียที่นั่ง 3 ที่นั่ง

อย่างไรก็ตาม สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ได้รับคะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 0.47 และ พรรคชาติไทยพัฒนา ที่ได้รับคะแนนนิยมลดลง ร้อยละ 0.02 นั้น คะแนนนิยมที่ลดลงดังกล่าวยังไม่มากพอที่จะส่งผลให้พรรคการเมืองทั้ง 2 มีที่นั่งลดลง

ทั้งนี้ เมื่อสอบถามว่า “ถ้าเลือกได้ ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในช่วงเวลานี้มากที่สุด” ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ระบุว่า อยากให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด คิอเป็นร้อยละ 46.9

รองลงมา ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 17.7

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 10.5

นายเศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 8.7

นายอนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 3.3

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ร้อยละ 1.7

และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 0.4 ตามลำดับ

นอกจากนี้ ยังมีผู้ตอบที่ระบุชื่อคนอื่นๆ รวมกับที่ยังไม่เห็นว่ามีคนที่เหมาะสมอีก ร้อยละ 10.9

ที่มา : ผลโพล สถาบันพระปกเกล้า 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า