SHARE

คัดลอกแล้ว

ใบหน้าไร้สัญชาติเป็นอย่างไร? UNHCR ชวนเราสบใบหน้าของบุคคลไร้สัญชาติและเรื่องราวของพวกเขา ที่มีความสำเร็จ-ความท้อแท้อยู่เบื้องหลัง ท่ามกลางความหวังที่จะได้รับการยอมรัฐจากรัฐที่ตนอยู่ให้เป็นพลเมือง

หากช่วงสัปดาห์ท้ายสุดของเดือนพฤศจิกายน 2563 ได้ไปเยี่ยมเยือนหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ หลายคนจะเห็นภาพบุคคลเรียงตายตามผนังโค้งชั้น 5 ใบหน้าเหล่านี้ดูไม่ผิดแผกจากบุคคลที่มีเนื้อหนังมังสา แต่ในทางกฎหมายรัฐเรียกพวกเขาว่า “บุคคลไร้สัญชาติ”

นิทรรศการภาพถ่าย “WE BELONG: Global Faces of Statelessness” จัดโดย สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เพื่อรวบรวมความก้าวหน้าตลอด 6 ปีที่ผ่านมาทั้งจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก หลัง UNHCR เปิดตัวโครงการ #IBelong ในพ.ศ. 2557 ซึ่งตั้งเป้ายุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติภายใน 10 ปี

นิทรรศการนี้เกิดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลไรสัญชาติ และการแสดงภาพถ่ายทำให้เราเห็นถึงหลักฐานว่า เบื้องหลังความไร้รัฐไร้สัญชาติ มีมนุษย์คนหนึ่งอยู่ ผู้ซึ่งชีวิตของเขามีเรื่องราวของความสำเร็จ มีความฝัน และนิทรรศการนี้ก็เพื่อแสดงเรื่องราวที่แตกต่างหลากหลายของบุคคลไร้สัญชาติเคสต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อให้คนตระหนักรู้ถึงปัญหาของคนไร้สัญชาติและร่วมกันหาทางแก้ไข” จูเซ็ปเป้ เด วินเซ็นทีส ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทยกล่าว 

“การจัดนิทรรศการนี้ยังต้องการให้สาธารณชนได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย ภาพเล่าเรื่องราวได้มากมาย ยิ่งเป็นภาพของใบหน้าคนยิ่งเสริมสร้างความเข้าอกเข้าใจให้คนได้มีความรู้สึกเหล่านี้ต่อบุคคลไร้สัญชาติมากขึ้น” เขาเสริม

โครงการ  #IBelong  ดำเนินมาถึงปีที่ 6 แล้ว จูเซปเป้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่ามีความก้าวหน้าในหลายๆ  ประเทศทั่วโลก ขณะที่ประเทศไทย มีการออกกฎหมายเพื่อแก้ไขเรื่องสัญชาติออกมาอย่างต่อเนื่อง

“ด้วยความร่วมมือที่ดีทำให้ประเทศไทย มีการเสนอกฎหมายที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร ตั้งแต่ 2551 เป็นการแก้ข้อสงวนตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งเดิมรัฐไทยจะไม่จดทะเบียนให้กับเด็กที่เกิดในประเทศไทยที่พ่อ แม่ไม่ใช่คนไทย แต่พอมีการแก้พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร เด็กทุกคนเกิดในประเทศไทยจดทะเบียนเกิดหมด” ครูแดง หรือ เตือนใจ ดีเทศน์ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเผย “เรื่องนี้แก้ได้หลายแสนคนและในอนาคตอีกมากเลย

ครูแดง หรือ เตือนใจ ดีเทศน์ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

แม้แนวโน้มการแก้ไขปัญหาของคนไร้สัญชาติในไทยจะเป็นกราฟที่ชี้ขึ้น แต่เตือนใจยังมองว่ามีบุคคลบางส่วนตกหล่น

“กฎหมายของเราระบุแค่ 2 ช่องทาง คือหลักดินแดน-เกิดไทย หลักสืบสายโลหิต-เป็นลูกหลานของพ่อหรือแม่ไทย แต่คนที่เกิดนอกแล้วกลมกลืนกับไทยเรามีช่องทางเดียวคือแปลงสัญชาติซึ่งเราจะต้องแก้ไขเรื่องนี้ ”

เธอยกตัวอย่างคนที่ไม่ได้เกิดในไทย แต่อยู่อาศัยมาเป็นเวลา 20-50 ปีอย่างน้อย 3 คน รายแรกเป็นครูผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีและนาฎศิลป์ไทย ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่น คนที่สองเป็นเยาวชนที่เรียนจบเกียรตินิยมด้านการบัญชี คนที่สามเป็นผู้เฒ่าชาวจีนที่อยู่ไทยมานานกว่า 50 ปี

พี่คิดว่าไม่ใช่แค่ประเทศไทย ทั้งโลกต้องช่วยกันแก้ไขเรื่องนี้ เพราะว่าทราบว่าที่ประเทศอื่นก็มีปัญหาเหมือนกัน การแปลงสัญชาติเป็นเรื่องยากที่สุด

ส่วนจูเซ็ปเป้  เด วินเซ็นทีส กล่าวว่า เมื่อย่างเข้้าสู่ปีที่ 6 การจัดงานครั้งนี้เป็นเหมือนการเพิ่มน้ำหนักของข้อเรียกร้อง ตลอดจนเป็นการมานั่งนับดูกันว่าสังคมสามารถผลักดันเรื่องการลดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติให้รัฐบาลได้มากน้อยเพียงใด และจะวางแผนกันต่อว่าจะทำยังไงให้แคมเปญนี้บรรลุเป้าในปี 2024

จูเซ็ปเป้ เด วินเซ็นทีส ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย

“ดูรูปนี้สิ” ผู้แทนข้าหลวงใหญู่้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติชี้รูปเด็กผู้หญิงกำลังรำ “ดูท่าทางของผู้หญิงคนนี้ เห็นไหมว่าเธอมีความสุขที่รู้ว่าไม่มีอะไรปิดกั้นเธอจากอนาคต เพราะตอนนี้เธอได้สัญชาติและมีชีวิตใหม่แล้ว มีหลายคนที่ไม่ได้โชคดีแบบนี้ กว่าจะได้สัญชาติก็ช้าเกินไป แต่ผู้หญิงคนนี้มีทั้งชีวิตให้ใช้เบื้องหน้าเธอ

การจัดนิทรรศการนี้ต้องการให้สาธารณชนได้เข้ามามีอารมณ์ร่วมกับภาพตรงนี้ ภาพเล่าเรื่องราวได้มากมาย ยิ่งเป็นภาพของใบหน้าคนยิ่งเสริมสร้างความเข้าอกเข้าใจให้คนได้มีความรู้สึกเหล่านี้ต่อบุคคลไร้สัญชาติมากขึ้น นำมาสู่การผลักดันการออกนโยบายเพื่อแก้ปัญหาให้คนเหล่านี้ได้มีสิทธิพลเมืองอย่างที่เขาควรได้มีในที่สุด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า