Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุป อธิบดีกรมทางหลวง แถลงสาเหตุเบื้องต้น สะพานกลับรถพระราม 2 ถล่ม พังระหว่างการซ่อมครั้งใหญ่

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง สะพานลอยกลับรถที่เกิดเหตุในคืนวันที่ 31 ก.ค. 65 มีการซ่อมแซม เนื่องจากว่า พื้นสะพานชำรุด ซ่อมโดย ศูนย์สร้างและบูรณะสะพาน ที่ 3 (ปทุมธานี) เป็นงานดำเนินการเองของกรมทางหลวง งบประมาณในการปรับปรุงสะพาน 3,000,000 บาท ได้รับงบประมาณเรียบร้อย เริ่มลงมือปรับปรุงซ่อมแซม วันที่ 23 มิ.ย. 65 ตามแผนคาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงปลายเดือน ส.ค. 65 คนคุมงานเป็นคนของกรมทางหลวง คนงานก็เป็นคนที่กรมทางหลวงจ้าง เป็นลูกจ้างที่ศูนย์สะพานฯ ดังนั้นเรื่องนี้ไม่มีบริษัทเอกชนมาเกี่ยวข้อง

สำหรับสาเหตุเบื้องต้นจากที่ตนลงพื้นที่ไปร่วมวิเคราะห์กับเจ้าหน้าที่เมื่อคืนหลังเกิดเหตุ พบ 2 สาเหตุ คือ
1. ในการซ่อม มีการสกัดพื้นสะพานคอนกรีตเดิมออก น้ำหนักที่เดิมมีทั้งพื้นที่สะพานและคาน 5 คาน เมื่อนำพื้นเดิมออกน้ำหนักที่กดทับอยู่หายไป ทำให้ตำแหน่งของคานที่วางอยู่ ซึ่งมีแผ่นยางรองคาน ซัพพอร์ตหัวและท้าย น่าจะเกิดการขยับตัว ประกอบกับสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกลงมา น้ำฝนอาจจะทำให้การเคลื่อนตัวของคาน เกิดการเคลื่อนตัวคานตัวริมที่ร่วงหล่นลงไป
.
ทั้งนี้ ในขณะเกิดเหตุไม่มีกิจกรรมสกัดอะไรแรงๆ รื้อพื้นสะพานออกเรียบร้อยแล้ว มีคนงานอยู่ 2 คน ไปทำความสะอาด เก็บเศษวัสดุ เพื่อเตรียมขั้นตอนต่อไป ในการวางไม้แบบ เตรียมเทพื้นสะพานใหม่

การซ่อมพื้นสะพานครั้งนี้มีการซ่อมใหญ่ 2 จุด จุดแรกคือโค้งยูเทิร์นเกือกม้าด้านซ้ายทำเสร็จเรียบร้อย ส่วนที่เกิดการพังเป็นช่วงด้าน

2. สะพานสร้างมาเมื่อปี พ.ศ. 2536 ประมาณ 29 ปี เคยเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ด้านล่าง เมื่อปี พ.ศ. 2547 และอาจจะมีความร้อนขึ้นไปถึงตัวสะพานเกือกม้า ทั้งนี้ในเหตุการณ์เมื่อปี 2547 เคยมีการซ่อมแซ่มไปแล้ว 1 ครั้ง ก็ใช้งานด้วยดีมาโดยตลอด คาดว่า สะพานตัวนี้ที่สร้างมานาน 29 ปี แล้วอาจจะเกิดเหตุเรื่องของไฟไหม้ ทำให้โครงสร้างที่เป็นเหล็ก คอนกรีตเสียหายเพิ่มมากขึ้นจากในขณะนั้นเป็นเหตุประกอบกันทำให้คานตัวริมเกิดการหล่นลงมา

วันนี้ได้มีการเซ็นตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ประกอบ วิศวกรใหญ่ด้านก่อสร้าง เป็นประธานกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรรมการคนนอก ตัวแทนสภาวิศวกรและตัวแทนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้รายงานผลภายใน 14 วัน

“สำหรับเรื่องที่เกิดขึ้น ก็ต้องยอมรับว่า เหตุเกิดเป็นอุบัติเหตุ ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แล้วก็อาจจะเกิดจากความประมาทของเจ้าหน้าที่เราบ้างเหมือนกัน ต้องรอดูผลตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร การรับผิดชอบดูแลผู้ที่เสียหาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เสียชีวิต เป็นประชาชนผู้ใช้ทาง 1 คน บาดเจ็บ 1 คน และเจ้าหน้าที่กรมทางหลวง เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 1 คน การเยียวยาดูแลทุกเรื่องทุกอย่าง กรมทางหลวงรับผิดชอบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลครอบครัวผู้เสียชีวิต การเยียวยาในเรื่องต่างๆ และผู้บาดเจ็บ การรักษาพยาบาลดูแลทุกอย่างทั้งเจ้าหน้าที่ทั้งประชาชน”

อธิบดีกรมทางหลวง ระบุด้วยว่า ทางกรมทางหลวงรับเป็นเจ้าภาพงานศพทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวงตลอดทุกวัน ส่วนทรัพย์สินมีรถยนต์เสียหาย 3 คน เป็นรถปิคอัพ รถยนต์เก๋ง รถบรรทุกน้ำมัน (ช่วงเกิดเหตุไม่มีน้ำมัน เป็นรถเปล่า) ได้ติดต่อเจ้าของรถ และบริษัทประกันเพื่อดำเนินการชดเชย ยืนยันไม่ทอดทิ้ง

“ในนามของกรมทางหลวง ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เสียใจกับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวง ขอยืนยันนะครับว่า จะทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นมาอีก เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจที่จะเดินทางบนทางหลวงด้วยความปลอดภัย” นายสราวุธ กล่าว

นายสราวุธ ตอบเพิ่มเติมว่า สะพานกลับรถโครงสร้างสะพานเป็นคอนกรีต คานเป็นรูปตัวไอ มี 5 คาน เทคอนกรีตเป็นพื้น ติดตั้งแบริเออร์ ออกแบบก่อสร้างอยู่ได้ 30 ปีขึ้น แต่สะพานนี้บนถนนพระราม 2 มีการใช้งานหนักมาก เท่าที่ทราบมีการซ่อมใหญ่เมื่อปี 2547 และระหว่างนั้นมีการบำรุงรักษา โดยแขวงทางหลวงสมุทรสาคร มีการตรวจ BMMS อย่างสม่ำเสมอ ครั้งนี้น่าจะเป็นการซ่อมใหญ่ถัดจาก ปี 2547 คาดว่า หลังเกิดเหตุไฟไหม้ มีการสำรวจตรวจสอบความแข็งแรง ปรับปรุงซ่อมแซม ประเมินว่าสะพานยังใช้การได้ และย้ำว่าพังครั้งนี้คือพังระหว่างการซ่อม

ส่วนคำถามที่หลายคนสะท้อนมาว่าเหตุใดจึงไม่ได้ปิดการจราจรระหว่างซ่อมแซม อธิบดีกรมทางหลวง ชี้แจงว่า ขั้นตอนในการรื้อพื้นสะพาน มีการนำแผ่นไม้อัดไปรองเพื่อกันเศษวัสดุตก ทำเสร็จไปช่วงหนึ่งแล้ว ถ้าขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องปิดการจราจรในการทำงาน เพราะเศษวัสดุไม่ร่วงลงพื้น แต่อีก 3-4 วัน ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น จะเป็นขั้นตอนที่สำคัญวางไม้แบบ เทคอนกรีตทำพื้นสะพานใช้คอนกรีตเยอะและมีน้ำหนัก ต้องปิดการจราจร ครั้งนี้เป็นบทเรียนที่สำคัญ เท่าที่ตนรับราชการ 36 ไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ดังนั้นได้สั่งเพิ่มเติมว่า ไม่ว่าซ่อมเล็กซ่อมน้อยถ้าข้างบนมีการซ่อมข้างล่างต้องไม่มีรถวิ่ง ต้องเบี่ยงไปใช้ช่องทางขนาน ทำจนเสร็จเรียบร้อยจึงจะเปิดการจราจร

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า