Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาลรัฐธรรมนูญ นัดลงมติวินิจฉัย พ.ร.ก. เลื่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.อุ้มหายฯ ในวันที่ 18 พ.ค.นี้ หลัง อดีตส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ขอสภาฯ ส่งตีความก่อนในที่ประชุมโหวต

ศาลรัฐธรรมนูญ นัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 หรือที่เรียกว่า พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ หรือ ‘พ.ร.บ.อุ้มหายฯ’ กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคหนึ่งหรือไม่ ในวันพฤหัสบดี ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 9.30 น.

ย้อนเรื่องราว

– เดิม พ.ร.บ.อุ้มหายฯ จะต้องมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.พ. 66 แต่ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในวันที่ 6 ม.ค. 66 ขอเลื่อนการบังคับใช้

โดยทาง iLaw ได้เปิดเผยประเด็นเหตุผลของทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนี้

1. ด้านงบประมาณ กล้องสำหรับรองรับการปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ ยังไม่เพียงพอ โดยกล้องติดตัวเจ้าหน้าที่จะต้องจัดซื้ออีก 1.7 แสนตัว กล้องติดรถยนต์ควบคุมผู้ถูกจับอีก 1,578 ตัว และกล้องติดสถานที่ควบคุมผู้ถูกจับ 6,244 ตัว โดยจะต้องใช้งบประมาณดำเนินการ 3,473 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับการจัดระบบเก็บข้อมูลอีกด้วย ซึ่งงบประมาณดังกล่าว ไม่ได้อยู่ในแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยจะต้องตั้งคำของบประมาณอย่างเร็วที่สุดคืองบประมาณปี พ.ศ. 2567

2. ด้านการเตรียมความพร้อมบุคลากร เจ้าหน้าที่ตำรวจยังขาดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ เนื่องจากเทคโนโลยีและอุปกรณ์บันทึกภาพและเสียงในปัจจุบันพัฒนาก้าวล้ำไปมาก ผลิตภัณฑ์มีหลายยี่ห้อ วิธีใช้งานแตกต่างกัน จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง

3. ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงาน เนื่องจากความไม่ชัดเจนหรือคลุมเครือในบทกฎหมาย และยังไม่มีระเบียบหรือแนวทางการปฏิบัติอันเป็นมาตรฐานกลาง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมหรือควบคุมยึดถือปฏิบัติ

– 14 ก.พ. 66 คณะรัฐมนตรี เห็นชอบ ให้ออกเป็น พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อเลื่อนการบังคับใช้ เฉพาะมาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 66

28 ก.พ. 66 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณา พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุ้มหายฯ ที่รัฐบาลเสนอมา โดยในวันนั้น ส.ส.ส่วนใหญ่อภิปรายไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.ที่รัฐบาลเสนอ เพื่อเลื่อนบังคับใช้ มาตรา 22-25 เป็นวันที่ 1 ต.ค. 66 จนกระทั่ง นายนิโรธ สุนทรเลขา ประธานวิปรัฐบาล เข้าชื่อเสนอประธานสภาฯ ส่งศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว

– 23 มี.ค. 66 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์รับคำร้องวินิจฉัย พ.ร.ก.เลื่อน พ.ร.บ.อุ้มหายฯ พร้อมให้คณะรัฐมนตรีและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จัดทำความเห็นตามส่งสำเนาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า