Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วัคซีนโควิด-19 นับเป็นหนึ่งในความหวังของคนทั่วโลกเพื่อหวังจะก้าวผ่านสถานการณ์โควิด-19 ให้ได้ ไม่ต่างจากประเทศไทยที่ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ตอนนี้เข้าขั้นวิกฤต ผู้ป่วยล้นเกินอัตราที่แพทย์จะรับมือไหว สิ่งเดียวที่แพทย์พยาบาลต้องการคือ เร่งฉีดวัคซีนให้ทุกคน และยิ่งไปกว่านั้นตอนนี้พบการกลายพันธุ์เชื้อไวรัสหลายสายพันธุ์จนควบคุมได้ยาก นักวิจัยทั่วโลกต่างเร่งศึกษาพัฒนาเพื่อให้ได้วัคซีนที่ดีมีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อได้ ซึ่งไทยเป็นหนึ่งประเทศที่มีการศึกษาพัฒนาวิจัยวัคซีนต้านโควิด-19 ถึง 4 โครงการ

โดยล่าสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2564 ผศ.ดร.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าทั้ง 4 โครงการ พร้อมระบุถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่าได้ติดตามและแสดงความชื่นชมผลงานวิจัยวัคซีน โดยทีมแพทย์และนักวิจัยไทย โดยจะส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวัคซีนภายในประเทศอย่างเต็มที่ เพื่อเปาหมายให้ไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านวัคซีนและลดงบประมาณการจัดซื้อรวมถึงส่งออกเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต

โดยทั้ง 4 โครงการมีรายละเอียดดังนี้

วัคซีน NDV-HXP-S
โดยศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และ องค์การเภสัชกรรม ร่วมกันวิจัยพัฒนา ซึ่งได้เริ่มฉีดให้กับอาสาสมัครไปเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2564 ซึ่งโรงงานขององค์การเภสัชกรรม มีความพร้อมในการผลิตระดับอุตสาหกรรม

โดยวัคซีน NDV-HXP-S ใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือ วัคซีนเชื้อตาย ซึ่งได้รับความร่วมมือระดับนานาชาติจากองค์กร PATH สนับสนุนกล้าเชื้อไวรัสและร่วมกันวิจัยกับผู้ผลิตจากประเทศเวียดนามและบราซิล

วัคซีน ChulaCov19
โดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด mRNA ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตเช่นเดียวกับวัคซีนจาก Pfizer-BioNTech และ Moderna จากการทดลองในหนูและลิง พบว่ามีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี เริ่มทดลองในอาสาสมัครจำนวน 72 คน เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2564

โดยวัคซีน ChulaCov19 สามารถอยู่ในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ได้นาน 3 เดือน และเก็บในอุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียส ได้นาน 2 สัปดาห์

จากการทดลองในหนูชนิดพิเศษที่ออกแบบให้สามารถเกิดโรคโควิด-19 ได้ เมื่อฉีดวัคซีน ChulaCov19 ให้หนูครบ 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ แล้วให้หนูทดลองได้รับเชื้อโควิด-19 เข้าทางจมูกพบว่าหนูทดลองไม่ติดเชื้อโควิด-19 และยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือด รวมทั้งสามารถลดจำนวนเชื้อในจมูกและในปอดลงไปอย่างน้อย 10,000,000 เท่า มีความปลอดภัยในสัตว์ทดลองและยังสามารถปรับแต่งวัคซีนต้นแบบตามพันธุกรรมของเชื้อกลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

วัคซีนโควิเจน
โดยบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด มีผลการทดสอบในหนูทดลองพบว่า วัคซีนมีความปลอดภัย และสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขออนุมัติกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อทดสอบในมนุษย์ในระยะที่ 1 และคาดว่าจะวิจัยในคนระยะที่ 2 และ 3 ในปีนี้ (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มิ.ย 64) โดยมีแผนการทดสอบในมนุษย์ในระยะที่ 1 ในประเทศออสเตรเลียคู่ขนานกันไป

วัคซีนใบยา
พัฒนาโดย บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้คิดค้นการใช้ใบยาสูบโดยการใช้สกัดโปรตีนจากพืชในกระบวนการสร้างวัคซีน จึงทำให้มีต้นทุนต่ำราคาโดสละไม่เกิน 500 บาท โดยหลังจากที่มีการผลิตวัคซีนล็อตแรกเสร็จ จะนำไปสู่ขั้นตอนของการทดสอบวัคซีนในมนุษย์ คาดจะอยู่ในช่วงประมาณเดือนสิงหาคมถึงกันยายนนี้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า