Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

Photo by Seth Doyle

ค่านิยมเรื่องครอบครัวคือลักษณะพิเศษที่หลายประเทศในฝั่งเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งต่างจากวัฒนธรรมตะวันตกที่มีความเข้มข้นทางค่านิยมในเรื่องนี้น้อยกว่า ซึ่งค่านิยมเรื่องครอบครัวนั้นอาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ช่วยให้เอเชียประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจ ครั้งหนึ่งลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งผู้นำประเทศที่ส่งเสริมค่านิยมดังกล่าวมาโดยตลอด เคยกล่าวว่า “ครอบครัวคนจีนมักสอนลูกหลานเสมอว่าให้ตั้งใจเรียนหนังสือ ขยันทำงาน รู้จักประหยัดเงิน และอย่าเพิ่งหาความสุขวันนี้เพื่อจะได้เจริญมั่งคั่งในวันข้างหน้า”

The Economist ได้เปิดเผยว่า โดยส่วนมากคนในเอเชียมักจะทำการแต่งงานตามประเพณี น้อยคู่นักที่จะอยู่กินกันโดยไม่แต่งงาน ซึ่งต่างจากสังคมตะวันตก ที่เด็กจำนวนมากเกิดจากพ่อแม่ที่ไม่ได้แต่งงานกัน แต่ทว่าค่านิยมเรื่องการแต่งงานของคนในเอเชียเริ่มเปลี่ยนไป และสิ่งที่เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศของเอเชียคือ การไม่อยากแต่งงาน

หากดูจากภาพรวมอัตราการแต่งงานทั่วโลกนั้นลดลง เนื่องจากผู้คนเลือกที่จะแต่งงานในช่วงอายุที่มากขึ้น โดยจากการสำรวจพบว่าคนในเอเชียแต่งงานช้ากว่าคนฝั่งตะวันตกเสียอีก จากการสำรวจในญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และฮ่องกง พบว่ามีค่าเฉลี่ยการแต่งงานที่ช้ากว่าเดิมมากกว่าช่วงทศวรรษที่ 90 และช่วงต้นยุคศตวรรษที่ 21 จากค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ฝ่ายหญิงจะแต่งงานเมื่ออายุ 29-30 ปี ส่วนฝ่ายชายจะแต่งงานเมื่ออายุได้ 31-33 ปี แต่หากเลยช่วงวัยนี้ไปคนส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่แต่งงาน หญิงญี่ปุ่นวัย 30 ปีเศษเกือบ 1 ใน 3 ไม่ได้แต่งงาน และประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้ครองโสดตลอดชีวิต ส่วนในกรุงเทพฯ พบว่าผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 40-44 ปี มีถึงร้อยละ 20 ที่ไม่ได้แต่งงาน

ความสุขจากการครองโสด

ในปัจจุบันมีผู้หญิงวัยทำงานจำนวนมากโดยเฉพาะในเอเชียไม่อยากแต่งงาน เนื่องจากในสังคมเอเชียนั้นมองว่าเรื่องงานบ้านงานเรือนคือสิ่งที่ผู้หญิงจะต้องจัดการ นั้นทำให้หญิงวัยทำงานที่แต่งงานแล้วมีภาระหน้าที่หนักขึ้นไปอีกเท่าตัว ซึ่งเห็นได้ชัดจากผู้หญิงญี่ปุ่นที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง และยังต้องกลับมาทำงานบ้านเฉลี่ยสัปดาห์ละ 30 ชั่วโมง กลับกันชายญี่ปุ่นที่แต่งงานแล้วใช้เวลาทำงานบ้านเฉลี่ยสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงเท่านั้น

นอกจากนี้หากฝ่ายหญิงลาออกจากงานมาเลี้ยงลูกแล้ว การที่พวกเธอจะกลับมาทำงานอีกครั้งนั้นก็ยากเหลือเกิน สิ่งเหล่านี้จึงส่งผลให้ผู้หญิงเอเชียมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการแต่งงาน นอกจากนี้การที่ผู้หญิงยุคปัจจุบันมีการศึกษาที่ดีขึ้น และมีรายได้ที่มั่นคงจากการทำงาน ทำให้พวกเธอมีอิสระทางการเงิน ส่งผลให้พวกเธอเลือกใช้ชีวิตโสดและหาความสุขให้ตัวเองอย่างอิสระ มากกว่าที่จะต้องแต่งงาน

Photo by Josefa nDiaz

แน่นอนว่าอัตราการแต่งงานที่ลดลงย่อมส่งผลให้จำนวนการเกิดของประชากรลดลงไปตามกัน เนื่องจากประชากรในวัยเด็ก และประชากรในวัยเจริญพันธุ์มีจำน้อยลงเมื่อเทียบกับประชากรที่อยู่ในช่วงหลังวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งอัตราการเจริญพันธุ์ในเอเชียตะวันออกลดลงจาก เด็ก 5.3 คนต่อผู้หญิง 1 คน (ช่วงปลายทศวรรษที่ 1960) เหลือเพียง เด็ก 1.6 คน ต่อผู้หญิง 1 คนเท่านั้น

ด้าน The Economist เผยว่า บรรดาชาติต่างๆ ในเอเชียลงทุนกับเรื่องเงินบำนาญและการประกันสังคม น้อยกว่าประเทศตะวันตก เนื่องจากรัฐบาลเชื่อว่าสถาบันครอบครัวจะเข้ามามีส่วนในการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยอยู่แล้ว ทำให้ภาครัฐไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากจัดสวัสดิการในการดูแล ซึ่งปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวต้องปรับเปลี่ยน เนื่องจากปัจจุบันประชากรวัยหลังเจริญพันธุ์จำนวนมากที่เลือกครองโสดตลอดชีวิต พวกเขาเหล่านี้ต้องการสวัสดิการจากรัฐเพื่อดูแลเมื่อพวกเขาเข้าสู่วัยชรา

ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่นี้นี้ทำให้รัฐบาลชาติต่างๆ ในเอเชียต้องเร่งหาทางแก้ไขปัญหา เพื่อรับมือกับผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้านผู้เชี่ยวชาญเผยว่า การช่วยให้ประชากรในเอเชียเริ่มกลับมาแต่งงานกันมากขึ้น อาจเกิดขึ้นได้หากสังคมยอมปรับเปลี่ยนความคาดหวังระหว่างทั้งสองเพศลง

หนึ่งในสิ่งที่อาจช่วยให้ผู้หญิงรู้สึกดีกับการแต่งงานมากขึ้น คือการที่รัฐควรปรับแก้กฎหมายเกี่ยวกับการหย่าร้างให้สะดวกกับฝ่ายหญิงมากยิ่งขึ้น เพราะจะทำให้ผู้หญิงตัดสินใจยุติความสัมพันธ์ไม่ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น และการที่ฝ่ายหญิงมีอิสระที่จะจากไปอาจทำให้ฝ่ายชายอยู่กับร่องกับรอยได้ นอกจากนี้หากบริษัทอนุญาตให้ทั้งพ่อและแม่ลางานเพื่อเลี้ยงลูกอ่อนได้ รวมถึงมีเงินสนับสนุนจากองค์กรหรือภาครัฐในการเลี้ยงดูบุตร ก็อาจะทำให้อัตราการแต่งงาน และการเกิดของประชากรในแต่ละประเทศของเอเชียเพิ่มขึ้นได้

 

 

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า