Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันนี้ (1 ส.ค. 2565) ‘เอกลาภ ยิ้มวิไล’ ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิปเม็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Zipmex ชี้แจงกับสื่อกรณีผลิตภัณฑ์ ZipUp+ ระงับฝาก-ถอน ว่า

ยอมรับว่าเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นวิกฤตที่ต้องได้รับการแก้ไข แต่วันนี้อยากชี้แจงกับสื่อ เพราะช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตั้งแต่เกิดเรื่อง (20 ก.ค.) ก็มีข่าวปลอม (Fake News) เผยแพร่ค่อนข้างมาก ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจคลาดเคลื่อน คือ

1. ทำไมถึงทำ ZipUp+ ต่อทั้งๆ ที่มีความเสียหายเกิดขึ้นกับ Celcius Network และ Babel Finance?

จากความผันผวนที่เกิดขึ้นกับตลาดคริปโตเคอร์เรนซีในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหลายคนทราบดีว่าปีนี้เป็นขาลงของคริปโตฯ ส่งผลให้หลายบริษัทเจอปัญหาด้านสภาพคล่อง ไปจนถึงล้มละลาย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวก็กระทบมาถึง Zipmex ที่อยู่ในเอเชียด้วย

ทันทีที่ Celcius ประกาศล้มละลาย (14 ก.ค.) ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ ZipUp+ มูลค่าราว 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 180 ล้านบาท) ทาง Zipmex สิงคโปร์ ยินดีชดเชยค่าเสียหายให้ แต่ช่วง 1-2 เดือนที่มีกระแสข่าว Celcius ประสบปัญหา ZipUp+ ก็ทยอยลดเรท Celcius ลงอย่างต่อเนื่อง

ส่วนกรณี Babel Finance ที่มูลค่าความเสียหายรวม 48 ล้านเหรียญ (ราว 1,750 ล้านบาท) นั้น ยืนยันว่า ปัจจุบัน Babel Finance ยังดำเนินกิจการอยู่และยังไม่ล้มละลาย อีกทั้งยังสามารถฝาก-ถอนได้ ซึ่ง Zipmex สิงคโปร์ได้ทำการถอนเงินออกมาบางส่วนราว 200 ล้านเหรียญ (ราว 7,300 ล้านบาท)

‘เอกลาภ’ กล่าวอีกว่า ทันทีที่ทราบปัญหา Zipmex ประเทศไทยก็รายการต่อ ก.ล.ต.ในช่วง 4 โมงเย็นของวันที่ 20 ก.ค. ก่อนที่หน่วยงานกำกับจะนัดคุยรานละเอียดช่วง 5 โมงเย็น และช่วง 1 ทุ่มตรง ตนก็ได้ออกมาชี้แจงกับผู้ลงทุนในท้ายที่สุดผ่าน Live

2. การยื่นขอ Moratorium Relief ต่อศาลสิงคโปร์ ยืนยันว่า Zipmex ยังไม่ล้มละลาย และการกระทำดังกล่าวเป็นการทำเพื่อขอพักชำระหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เท่านั้น รวมถึงป้องกันไม่ให้เจ้าหนี้รายใหญ่ชิงฟ้องในช่วงที่ Zipmex กำลังแก้ไขปัญหา

โดยยืนยันว่าการยื่น Moratorium Relief ที่สิงคโปร์ ไม่ส่งผลกระทบกับการดำเนินการ รวมถึงไม่มีผลทางกฎหมายต่อ Zipmex ประเทศไทย

3. สำหรับการระดมทุนเพื่อนำเงินมาชดเชยผู้เสียหาย ปัจจุบัน Zipmex ได้ลงนามความร่วมมือ (MoU) กับบริษัทที่สนใจเข้ามาลงทุนแล้ว 2 ราย โดยมี 1 บริษัทที่วางมัดจำเพื่อเตรียมความพร้อมเข้ากระบวนการสอบทานธุรกิจ (Due Diligence) แล้ว เบื้องต้นคาดแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน

ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายระดมเงินทุนให้ได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาทเพื่อชดเชยผู้เสียหายจาก ZipUp+ ซึ่งปัจจุบันมีผู้แสดงความสนใจเข้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทไม่ได้ปิดกั้นรูปแบบการลงทุน และพร้อมเปิดรับโอกาสใหม่ๆ เสมอ

4. จากกรณีที่ ก.ล.ต.ออกมาเปิดเผยผ่านเพจ ‘สำนักงาน ก.ล.ต.’ รวมถึงให้ข้อมูลผ่านรายการต่างๆ ยืนยันว่า Zipmex ดำเนินกิจการตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. โดยมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร และยืนยันว่า Zipmex มีเป้าหมายหลักในการเดินหน้าช่วยเหลือลูกค้า

และ 5. ส่วนความคืบหน้าล่าสุดหลังจากนี้ บริษัทเปิดให้ลูกค้าที่ได้รับความเสียหายลงทะเบียนเพื่อรับการเยียวยา โดยลูกค้าสามารถกรอบข้อมูลได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 25 ส.ค. 2565

นอกจากนี้ เย็นวันนี้ บริษัทฯ จะทยอยเปิดให้ลูกค้าโอนเหรียญออกจาก Z Wallet โดยจะเริ่มจาก ADA, SOL, XRP, BTC และ ETH

สำหรับจำนวนลูกค้าที่ได้รับความเสียหาย เบื้องต้นลูกค้าของ ZipUp+ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ Zipmex สิงคโปร์ มีผู้ใช้บริการราว 1.2-1.3 แสนราย โดย 70% หรือราว 6 หมื่นรายเป็นชาวไทย

ขณะที่กลุ่มผู้เสียหายวันนี้ นัดรวมตัวกันที่หน้าสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อยื่นหนังสือสำคัญ และเรียกร้องให้ ก.ล.ต.หาข้อสรุปและชี้แจง โดยมี ‘รื่นวดี สุวรรณมงคง’ เลขาธิการ ออกมาพบกับกลุ่มผู้เสียหาย

เบื้องต้นมีผู้เสียหายที่ลงทะเบียนเปิดเผยข้อมูลความเสียหายแล้ว 854 ราย มูลค่าความเสียหาย ณ วันที่ปิดฝาก-ถอน (20 ก.ค.) อยู่ที่ 798 ล้านบาท ขณะที่มูลค่า ณ วันที่ผู้เสียหายเปิดเผยข้อมูลอยู่ที่ 405 ล้านบาท (อัพเดต ณ วันที่ 1 ส.ค. 2565 เวลา 9.30 น.)

ส่วนเลขาฯ ก.ล.ต. บอกกับผู้เสียหายว่า ก.ล.ต.รับทราบผลกระทบที่เกิดขึ้น และไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยมีการเรียก Zipmex เข้ามาให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นคาดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ ZipUp+ อาจเข้าข่ายความผิด 3 กรณี คือ

1. กฎวิธีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Trading Rules) เพราะการระงับฝาก-ถอนของ Zipmex เป็นการกระทำโดยไม่มีเหตุอันควร เช่น การระงับการซื้อขายเพื่อบำรุงรักษาระบบ เป็นต้น ซึ่งบริษัทได้ขออนุญาตประกอบธุรกิจแบบซื้อขาย 24 ชั่วโมง 7 วัน

2. การประกอบธุรกิจอื่นโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต จากกรณี ZipUp+ ที่โอนเงินไปยังบริษัทแม่ที่ประเทศสิงคโปร์

และ 3. ความผิดตามกฎหมายอาญา ซึ่ง ก.ล.ต.จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร์) เพราะบางประเด็นอยู่นอกเหนืออำนาจของ ก.ล.ต.

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า