Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

บริษัทผีดิบ หรือ zombie firm ถือเป็นปรากฏการณ์ทางธุรกิจหนึ่ง ที่เกิดขึ้นได้เมื่อธุรกิจเกิดภาวะ “หนี้สินล้นพ้นตัว” หรือถ้าจะเอานิยามแบบวิชาการหน่อยก็ต้องบอกว่า zombie firm หมายถึง “บริษัทที่ไม่มีความสามารถในการทำกำไรทั้งในปัจจุบันและอนาคตมากเพียงพอ ที่จะชำระหนี้สินที่บริษัทมีได้อีกเป็นเวลานาน” พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นบริษัทที่กิจการตกต่ำ จนไม่สามารถหากำไรมาใช้หนี้ได้แล้วนั่นเอง

กระนั้น ลักษณะเด่นที่ทำให้ zombie firm แตกต่างจากกิจการที่ต้องล้มละลายหรือปิดกิจการไปก็คือ บริษัทผีดิบนี้ แม้ว่าจะไม่สามารถทำกำไรได้มากพอเพื่อจ่ายหนี้ แต่บริษัทกลับยังไม่ถึงกับเจ๊งจนถึงขั้นต้องปิดกิจการ โดยหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้บริษัทผีดิบเหล่านี้ยังอยู่ได้ ก็เนื่องมาจากบริษัทอาจยังสามารถหาเงินทุนจากทางแหล่งอื่นมาต่ออายุบริษัทไปได้ เช่น บริษัทเก่าแก่ที่อาจไม่ทำกำไรแล้ว แต่ก็ยังอยู่ได้เนื่องจากมีความสัมพันธ์อันดีกับธนาคารมาเนิ่นนาน จนยอมปล่อยกู้ให้บริษัทอยู่ได้ต่อไปแม้ว่าจะกลายเป็นบริษัทผีดิบ หรือ zombie firm แล้วก็ตาม

สำหรับในประเทศไทย ทาง Economic Intelligence Center หรือ EIC ของธนาคารไทยพาณิชย์ ได้เคยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทผีดิบในไทยเอาไว้ โดยพบลักษณะที่น่าสนใจดังนี้

1.) บริษัทผีดิบในไทยเพิ่มขึ้นมาตลอดในช่วง 10 ปีหลัง จากประมาณ 7.6% ของบริษัททั้งหมดในปี 2009 เป็นกว่า 9.1% ในปี 2019

2.) บริษัทผีดิบในไทยมักกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มบริษัทที่เล็กที่สุดและใหญ่ที่สุด โดย zombie firm ที่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มบริษัทขนาดเล็กที่สุด (1st quantile) มีอยู่สูงสุดที่ 16.4% ในขณะที่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่สุด (5th quantile) มีบริษัทผีดิบอยู่ในสัดส่วน 10.5% ซึ่งมากกว่าบริษัทขนาดกลางๆ ที่มีบริษัทผีดิบอยู่ที่ประมาณ 5-7% ของบริษัทในกลุ่มนี้ทั้งหมดเท่านั้น

ทั้งนี้ ทาง EIC สรุปว่าสาเหตุที่บริษัทผีดิบกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มบริษัทขนาดเล็กที่สุดนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอและเปราะบางในด้านความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจขนาดเล็กในไทย

ส่วนที่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดซี่งมีบริษัทผีดิบอยู่ในสัดส่วนที่มากเช่นกันนั้น ทาง EIC สรุปว่าน่าจะเกิดจากการที่บริษัทเหล่านี้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและสินเชื่อได้สูงกว่าบริษัทขนาดกลางและเล็ก ดังนั้นจึงสามารถทนภาวะการขาดทุนต่อเนื่องยาวนานได้ และส่งผลให้ยังไม่จำเป็นต้องปิดบริษัทแม้จะมีผลประกอบการขาดทุนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

3.) บริษัทผีดิบในไทยกระจุกตัวอยู่ในธุรกิจที่พึ่งพาเม็ดเงินต่างชาติ โดยกลุ่มธุรกิจ 5 อันดับแรกที่มีสัดส่วนของ zombie firm มากที่สุดคือ อสังหาริมทรัพย์, สิ่งทอ, การโรงแรม, ยานยนต์ และสินค้าเกษตร ซึ่งทั้งหมดต้องพึ่งพิงอุปสงค์จากต่างชาติค่อนข้างมาก ดังนั้นในภาวะที่เศรษฐกิจโลกตกต่ำจากวิกฤติโควิด-19 จึงน่าเป็นห่วงยิ่งว่ากลุ่มบริษัทผีดิบที่อยู่ในธุรกิจเหล่านี้จะสามารถฟื้นคืนกิจการและความสามารถในการชำระหนี้กลับมาได้หรือไม่

4.) โอกาสฟื้นตัวของบริษัทผีดิบในไทยถือว่าน้อยกว่านานาประเทศ โดย EIC ให้ข้อมูลว่าโอกาสที่บริษัทผีดิบในไทยจะฟื้นตัวในช่วงปีแรกอยู่ที่ 17.4% และโอกาสที่จะฟื้นตัวได้ภายใน 4 ปีอยู่ที่ 42.1% ซึ่งถือว่าต่ำกว่าในยุโรป โดย zombie firm ในยุโรปมีโอกาสฟื้นตัวสะสมในช่วง 4 ปีอยู่ที่ 60% พูดง่ายๆ ก็คือ เมื่อบริษัทในไทยกลายเป็นบริษัทผีดิบแล้ว โอกาสที่จะฟื้นกลับมาเป็นบริษัทที่แข็งแรงได้อีกครั้งนั้นน้อยกว่าบริษัทในยุโรปมาก

5.) วิกฤติโควิด-19 จะทำให้บริษัทผีดิบในไทยเพิ่มขึ้นอีกมาก EIC ประเมินว่าบริษัทผีดิบในไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 9.1% ในปี 2019 ไปเป็นกว่า 16.0% ในปี 2022 และกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 มากที่สุดคือกลุ่มบริษัทขนาดเล็กที่สุดที่มีทรัพย์สินบริษัทเฉลี่ย 5 แสนบาท EIC คาดว่าบริษัทกลุ่มนี้กว่า 30% จะกลายเป็น zombie firm ภายในปี 2022

ทั้งนี้ การคงอยู่ของบริษัทผีดิบส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในภาพรวมด้วย เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่บริษัทเหล่านี้ (โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่) จะเบียดบังทรัพยากรมาจากบริษัทอื่นๆ (เช่นเงินกู้ เงินทุน) ทำให้บริษัทที่อาจจะมีผลิตภาพและความสามารถในการทำกำไรสูงกว่า ไม่สามารถเกิดหรือเติบโตได้

เรื่องบริษัทผีดิบ หรือ zombie firm นี้ จึงไม่ใช่แค่เรื่องปรากฏการณ์ทางธุรกิจ แต่ในมุมหนึ่งจึงยังเป็นปัญหาในเชิงเศรษฐกิจมหภาค ที่ควรต้องถูกจัดการด้วย

บทความโดย กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์

ที่มา https://www.scbeic.com/…/EIC_Note-Zombie-Firm_TH…

https://www.bot.or.th/…/Pages/Article_12Oct2020-2.aspx

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า