Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กล่าวกันว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่ใช้ในปัจจุบัน คือ เงาของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 ส่วนหนึ่งคือเหตุผลของผู้ร่างที่มองสถานการณ์การเมืองและต้องการกำหนดทิศทางไปในทางเดียวกัน และน่าสนใจที่ผู้เขียนกฎหมาย มีชื่อของคนเดียวกัน คือ “มีชัย ฤชุพันธุ์” ที่อยู่ในคณะคณะกรรมการร่างเมื่อ 40 ปีก่อน และเป็นประธานในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน


.

รัฐธรรมนูญ 2521 ถูกตั้งฉายาจากบางกลุ่มว่า “รัฐธรรมนูญฟันปลอม” และ “รัฐธรรมนูญ (ประชาธิปไตย) ครึ่งใบ” เพราะ มีเนื้อหาหลายส่วนที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและเปิดช่องให้มีการสืบทอดอำนาจ เช่น กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา และในบทเฉพาะกาลที่ให้ข้าราชการประจำเป็นข้าราชการการเมือง ให้สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง ร่วมพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี, อภิปรายทั่วไป และประการสำคัญ คือร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี
.
และด้วยโครงสร้างที่วางไว้นี้ก็ทำให้ นายกรัฐมนตรีคนแรกหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เป็นคนนอกที่ไม่ได้ลงเลือกตั้ง และได่รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ส. ส่วนน้อยแต่ขึ้นสู่ตำแหน่งได้ เพราะเสียงสนับสนุนของ ส.ว.

.

พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ และพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

ย้อนกลับไปหลังการยึดอำนาจรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ของ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ใช่หัวหน้าคณะปฏิรูปอย่าง พล.ร.อ.สงัด ที่เป็นทหารเรือ แต่เป็นพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
.
หลังจากนั้น มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ ใช้เวลาประมาณ 1 ปีกว่า แล้วเสร็จและประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2521 เป็น รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2521 และรัฐบาลประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 22 เมษายน 2522
.
การเลือกตั้ง ครั้งนั้น พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ไม่ได้ลงเลือกตั้งด้วย และคอลัมนิสต์ในยุคนั้นก็มั่นใจว่า นายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหารจะวางมือทางการเมือง เพราะเคยเปรยไว้ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 13 เมษายนว่า “เบื่อหน่ายต่อชีวิตอย่างนี้เต็มที และนายกรัฐมนตรีคนต่อไปจะไม่ชื่อเกรียงศักดิ์อีกแล้ว”


.
แต่หลังจากการเลือกตั้ง 22 เมษายน 2522 พล.อ.เกรียงศักดิ์ ก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ทั้งที่ไม่ได้ลงเลือกตั้งด้วย แต่ด้วยเพราะกลไกให้ วุฒิสภา (ส.ว.) ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยนั่นเอง
.
ผลการเลือกตั้ง จากจำนวน ส.ส. 301 คน ไม่มีกลุ่มการเมืองใดได้เสียงเกินครึ่ง (เป็นกลุ่มเพราะยังไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองแทนฉบับเดิมที่ถูกยกเลิก)  กลุ่มกิจสังคมได้ 82 คน / กลุ่มอิสระ 63 คน / กลุ่มชาติไทยได้ 38 คน / กลุ่มประชาธิปัตย์ 32 คน / กลุ่มประชากรไทย 32 คน / กลุ่มสยามประชาธิปไตย 31 คน
.
การโหวตนายกรัฐมนตรีจะต้องใช้เสียง ส.ส. 301 คน และ ส.ว. (แต่งตั้ง) 225 คน รวม 526 คน ผู้จะเป็นนายกฯ ต้องได้เกินครึ่งคือ 264
.
กลุ่ม ส.ว. 225 คน รวมกับ ส.ส. อีก 86 คน จาก เสรีธรรม (21 คน) ชาติประชาชน (13 คน) พลังใหม่ (8 คน) กิจประชาธิปไตย (4 คน) และ ส.ส.อิสระไม่สังกัดกลุ่มการเมือง สนับสนุน พล.อ.เกรียงศักดิ์ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2
.


หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (กิจสังคม) นายสมัคร สุนทรเวช (ประชากรไทย) พันเอกพล เริงประเสริฐวิทย์ (สยามประชาธิปไตย) (ภาพจาก wikipedia.org)

ในขณะที่ ส.ส.ที่มาจากการเลือกของประชาชนส่วนใหญ่ อีก 215 เสียง ต้องกลายไปเป็นฝ่ายค้าน
.
สัดส่วนของ ส.ว. 225 คน ที่เป็นเสียงหลักในการจัดตั้งรัฐบาล เป็น พลเรือน 32 คน ทหารและตำรวจ 193 คน (ทหารบก 112 คน ทหารเรือ 39 คน ทหารอากาศ 34 คน ตำรวจ 8 คน)
.
บรรยากาศในการโหวตนายกรัฐมนตรี มีการบันทึกไว้ว่า เหมือนทุกคนรู้ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้น จากจำนวนเต็ม 2 สภารวมกัน 526 คน มีผู้เข้าร่วมประชุม 349 คน ตอนโหวตงดออกเสียง 18 คน เดินออกจากห้องประชุม 20 คน
.
ด้วยโครงสร้างที่วางไว้เชื่อกันว่า รัฐบาลของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ในสมัย 2 จะมั่นคงต่อไปได้ 4 ปี เพราะ ส.ว.ไม่เพียงจะโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี แต่จะมีบทบาทด้านอื่นๆ ด้วย แต่ในความเป็นจริงการที่รัฐบาลไม่มีฐานพรรคการเมืองและ ส.ส. สนับสนุน จึงมีสถานภาพคลอนแคลน
.

แฟ้มภาพ

10 ตุลาคม .2522 เพียง 5 เดือนหลังรับตำแหน่ง ฝ่ายค้านยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป ลงมติไม่ไว้วางใจต่อรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล คือ กระทรวงมหาดไทย คมนาคม พาณิชย์ และอุตสาหกรรม แม้จะผ่านการยกมือสนับสนุนแต่ก็มีรัฐมนตรีลาออกและมีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่
.
แต่สถานการณ์ในสภาก็ยังไม่ดีขึ้น สขณะเดียวกันมีการประท้วงของนักศึกษาและกรรมกร จากการขึ้นค่าน้ำ ค่าไฟ ราคาน้ำมัน และปัญหาเศรษฐกิจ
.
27 กุมภาพันธ์ 2523 ฝ่ายค้านที่นำโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จากกลุ่มกิจสังคม ขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในวันที่ 3 มีนาคม 2523 ในขณะที่กระแสความนิยมในตัว พล.อ.เกรียงศักดิ์ ลดลงต่อเนื่อง
.
สถานภาพของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ในตอนนั้นขึ้นอยู่กับ วุฒิสภา ที่เขาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งด้วยตนเอง ซึ่งนอกจากจะมีนายทหารผู้ใหญ่แล้ว ยังมีกลุ่มนายทหารหนุ่ม หรือ “ยังเติร์ก” อีกหลายคน เช่น พ.ท.จำลอง ศรีเมือง, พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร, พ.อ.พัลลภ ปิ่นมณี, พ.ท.มนูญ รูปขจร
.
แต่ที่สุดแล้ว กลุ่ม ส.ว.ก็มองว่า มีตัวเลือกที่ดีกว่า พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั่นคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ควบคู่กับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ในรัฐบาลเดียวกัน
.
28 กุมภาพันธ์. พล.อ.เกรียงศักดิ์ ที่รับรู้กระแสกดดันจากทั้งในสภาและภายนอก ตัดสินใจครั้งสำคัญ ชวน พล.อ.เปรม ขึ้นเครื่องบินจากดอนเมืองไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จ.เชียงใหม่ เพื่อไปกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ภาพจาก เส้นทางสู่อำนาจพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดย เสถียร จันทิมาธร สนพ.มติชน

.
วันรุ่งขึ้น 29 กุมภาพันธ์ 2523 มีการประชุมสภาสมัยวิสามัญ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ยกมือขอพูดก่อนอ่านร่างที่เตรียมมา โดยที่ทุกคนในสภายังเข้าใจว่าเป็นการพูดข้อราชการทั่วไปและเนื้อหาหลายส่วนเป็นการตอบโต้กับฝ่ายค้าน แต่ในช่วงท้าย พล.อ.เกรียงศักดิ์ เว้นจังหวะยกแก้วน้ำขึ้นดื่ม แล้วประกาศขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีปรบมือตอบรับจากทั้งสภา ซึ่งเหตุการณ์นี้มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ทราบก่อน คือ พล.อ.เปรม

ภาพจาก เส้นทางสู่อำนาจพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดย เสถียร จันทิมาธร สนพ.มติชน

.
การลาออกของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ จึงเป็นการสิ้นสุดนายกรัฐมนตรีที่ขึ้นสู่ตำแหน่งด้วยการมีเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนราษฎรสนับสนุน แต่ขึ้นได้ด้วยการมี ส.ว.แต่งตั้งค้ำยันไว้ ด้วยเวลาเพียงไม่ถึง 10 เดือน ด้วยความเป็นจริงที่ว่าเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน เสียงสนับสนุนก็เปลี่ยนโดยเฉพาะจากกองทัพ
.
3 มีนาคม 2533 มีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ คือ นายกรัฐมนตรีคนต่อมา ด้วยเสียงสนับสนุนจากทั้ง ส.ว. และ ส.ส. ที่เคยอยู่ตรงข้าม พล.อ.เกรียงศักดิ์ มาก่อน โดยได้เสียงโหวตจากสภารวม 399 เสียง
.
ขณะที่รัฐธรรมนูญ 2521 ที่ถูกเรียกจากบางกลุ่มว่า “รัฐธรรมนูญฟันปลอม” และ “รัฐธรรมนูญ (ประชาธิปไตย) ครึ่งใบ” ใช้ต่อเนื่องยาวนานกว่า 12 ปี ก่อนที่จะถูกฉีกทิ้ง โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เมื่อปี 2534

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า