Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เชื่อหรือไม่ ประเทศไทยมีเด็กถูกรังแกในโรงเรียนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากญี่ปุ่น จากการสำรวจของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเมื่อต้นปี 2561 [1] พบว่ามีเด็กไทย 6 แสนคนถูกรังแกในโรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 40 ของทั้งประเทศ

ไม่ได้มีเพียงเด็กไทยเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้ แต่ปัญหาการรังแกถือเป็นประเด็นใหญ่ของโลก ผลสำรวจเมื่อปี 2016 ของยูนิเซฟ[2]ยังบอกว่าเด็ก 2 ใน 3 จากกลุ่มตัวอย่าง 1 แสนคนใน 18 ประเทศบอกว่าตัวเองเคยถูกรังแก เด็กที่ถูกรังแกจะมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้าและไม่ชอบเข้าสังคม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กในที่สุด เรื่องนี้สำคัญถึงขนาดองค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 4 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันต่อต้านการรังแกโลก

[1] https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27485
[2] School Violence and Bullying : Global Status Report http://unesdoc.unesco.org/images/0024/002469/246970e.pdf

จากกระแสคลิปนักเรียนชั้นป.4 ถูกรังแกโดยรุ่นพี่ ทีมข่าวเวิร์คพอยท์จึงพามาดูว่าทั่วโลกมีวิธีการรับมือการรังแกกันในหมู่นักเรียนอย่างไรบ้าง มีทั้งสำเร็จและล้มเหลว

KiVa เป็นแผนงานต่อต้านการรังแกที่กระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมฟินแลนด์ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Turku พัฒนาขึ้น โดยบังคับใช้ในโรงเรียนรัฐ 95% ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา

แผนงานนี้ไม่ได้ระบุแค่หน้าที่ของครู แต่นักเรียนเองก็ต้องรู้ด้วยว่าถ้าเจอคนถูกรังแกจะต้องทำอย่างไร โดยต้องแสดงท่าทีเข้าข้างคนถูกรังแกและต้องรายงานเรื่องนี้ให้ผู้ใหญ่ได้รับทราบ ตัวนักเรียนที่รังแกคนอื่นจะไม่ได้รับการลงโทษแต่จะถูก “เยียวยา” ซึ่งแนวทางการปฏิบัติยังครอบคลุมไปถึงผู้ปกครอง ผ่านเว็บไซต์และช่องทางการปรึกษาที่ผู้ปกครองสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา

นักวิจัยของฟินแลนด์มีฐานคิดที่เชื่อว่า เด็กรังแกคนอื่นเพราะเชื่อว่าจะทำให้ตัวเองได้รับสถานะทางสังคมในหมู่นักเรียน[1] หากทำให้คนที่ผ่านไปผ่านมาเห็นอกเห็นใจคนที่ถูกรังแก การรังแกก็จะไม่ใช่เรื่องที่น่าชื่นชมอีกต่อไป แผนงานนี้จึงใช้วิธีการสอนผ่านบทเรียน เกมส์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมให้เด็กทั่วไปคิดเห็นอกเห็นใจเด็กที่ถูกรังแก โดยมีการบรรจุเรื่องนี้ในหลักสูตรถึง 20 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา

แผนงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การป้องกันการรังแก การดูแลเด็กเป็นรายกรณี และการเฝ้าติดตามความเปลี่ยนแปลงและการตอบรับจากโรงเรียน โดยตั้งต้นว่า และ หลังมีการบังคับใช้นโยบายนี้ก็พบว่าการรังแกในโรงเรียนลดลงทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถลดความเครียดและอาการซึมเศร้าในหมู่นักเรียนอีกด้วย [2]

ทั้งนี้ การที่ฟินแลนด์สามารถส่งนโยบายนี้จากบนลงล่างได้สำเร็จ เป็นเพราะโรงเรียนและนักเรียนฟินแลนด์มีความใกล้เคียงกันทั้งในด้านคุณภาพการศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การที่นักเรียนมีความแตกต่างกันในด้านเหล่านี้น้อยมากก็ทำให้การลดการถูกรังแกเป็นเรื่องง่ายเข้าไปอีก

แผนป้องกันการรังแก ”Olweus” ของนอร์เวย์ เป็นแนวทางที่สู่การลดและป้องกันการรังแกที่ใช้ป้องกันเด็กประถม-มัธยมต้นในนอร์เวย์และสวีเดนมาตั้งแต่ปี 2001

แผนป้องกันนี้กำหนดเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดให้ในระดับโรงเรียนต้องมี คณะกรรมการป้องกันการรังแก คณะกรรมการที่มีครู ผู้ปกครอง และชุมชน ทำหน้าที่ในการดำเนินนโยบายและฝึกหัดครูให้รับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ต้องมีการออกกฎโรงเรียนเพื่อต่อต้านการรังแก โดยผู้ปกครองและชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ส่วนในระดับห้องเรียนต้องมีการบังคับใช้กฎห้ามรังแกกัน มีการประชุมนักเรียนและผู้ปกครองในเรื่องนี้อย่างสม่ำเสมอ

แนวทางนี้ยังได้ลงลึกถึงระดับบุคคล โดยให้ครูดูแลกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนอย่างทั่วถึง เมื่อมีการรังแกกันเกิดขึ้นต้องมีครูอยู่ ณ จุดนั้นทันที หลังจากนั้นกำหนดให้มีการพูดคุยกันระหว่างนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ และเรียกพบผู้ปกครอง หลังจากนั้นก็มีการมุ่งดูแลเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันแผนการป้องกันการรังแกของนอร์เวย์ได้รับความนิยมในประเทศอื่น ๆ ทั้งในแคนาดา โครเอเชีย อังกฤษ เยอรมัน ไอซ์แลนด์ สวีเดน และสหรัฐอเมริกา

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.violencepreventionworks.org/public/olweus_bullying_prevention_program.page

สหราชอาณาจักรแก้ปัญหานี้ด้วยการออกกฎหมาย[1] ให้โรงเรียนรัฐทุกโรงเรียนต้องมีนโยบายต่อต้านการแกล้งกัน โดยกฎหมายนี้บังคับใช้ในประเทศอังกฤษ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ และ สนับสนุนให้มีการใช้ในสก็อตแลนด์

กฎหมายฉบับนี้บังคับให้โรงเรียนต้องกำหนดคำนิยามของการรังแกอย่างชัดเจน แล้วต้องกำหนดขั้นตอนว่าต้องทำอะไรก่อนหลังหากเกิดปัญหาขึ้น ตลอดจนต้องมีมาตรการจัดการที่เหมาะสมโดยลงรายละเอียด ทั้งนี้ทุกโรงเรียนจะถูกตรวจสอบจากกรอบ Ofsted อีกทีหนึ่งว่าได้ดำเนินนโยบายจริงหรือไม่

งานวิจัยของ ฟราน ทอมป์สัน [2] ชี้ว่าด้วยนโยบายที่เปิดกว้างทำให้โรงเรียนอังกฤษมีมาตรการรับมือปัญหารังแกกันในหมู่เด็กหลากหลายมาก ตั้งแต่การป้องกัน การขอความร่วมมือจากเพื่อนนักเรียน มาตรการเชิงรุกอย่างการบรรจุกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กันในหลักสูตร หรือวิธีใหม่ ๆ อย่างการฝึกให้เด็กกล้าพูดและปกป้องตัวเอง โดยทอมป์สันบอกว่าการกำหนดกฎหมายปลายเปิดแบบนี้เป็นสิ่งที่ดีเพราะโรงเรียนและนักเรียนในอังกฤษมีหลากหลาย ทำให้การบังคับใช้มาตการจากส่วนกลางอาจไม่ครอบคลุม

[1] https://www.gov.uk/bullying-at-school
[2] https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/file/182421/DFE-RR098.pdf

แม้จะไม่มีกฎหมายบังคับเรื่องการรังแกครอบคลุมทั้งประเทศ แต่ 50 รัฐทั่วประเทศก็ออกกฎหมายต่อต้านการรังแก โดยมีความรุนแรงลดหลั่นกันไปตามกฎหมายของแต่ละรัฐ มีเพียง 5 รัฐเท่านั้นที่ไม่มีมาตรการลงโทษผู้รังแกผู้อื่น [1]

ในบางรัฐถือว่าการรังแกเป็นการทำผิดกฎหมายและต้องถึงมือตำรวจด้วยซ้ำ[2] เช่น กฎหมายของรัฐแมสซาชูเซตส์ระบุว่าครูต้องแจ้งตำรวจหากสิ่งที่เด็กกระทำเพื่อรังแกอาจถูกนับว่าเป็นอาชญากรรมได้ [3] และการนิยามอาชญากรรมในแต่ละรัฐมีความหมายกว้างขวาง รัฐมิสซูรีนับว่าการสร้างความเดือดเนื้อร้อนใจก็นับเป็นอาชญากรรมหนักแล้ว [4] เด็กสองคนในฟลอริดาเคยต้องคดีอุกฉกรรจ์เพราะรังแกเพื่อนอายุ 12 ปีจนฆ่าตัวตาย ซึ่งแม้จะมีมาตรการเด็ดขาดเช่นนี้ แต่ตั้งแต่การรังแกกลายเป็นอาชญากรรมครั้งแรกในปี 2005 ตัวเลขการรังแกในเด็กก็ไม่ได้ลดลงเลย ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่าการจัดการกับการรังแกควรเป็นเรื่องของตำรวจหรือของครูกันแน่

อย่างไรก็ดี บางรัฐก็เลือกใช้วิธีเยียวยา เช่นในโอไฮโอ เด็กที่ชอบรังแกคนอื่นจะเข้ากระบวนการบำบัดให้เข้าใจว่าสิ่งที่ทำทำให้คนอื่นรู้สึกแย่อย่างไร หรือโอคลาโฮมา ก็กำหนดกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาการกลั่นแกล้ง โดยมีการเน้นย้ำความสำคัญว่าโรงเรียนต้องทำอะไรบ้างและ การกลั่นแกล้งเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในชุมชน

บางส่วนยังมีความเห็นว่าการกำหนดกฎห้ามรังแกในสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงการทำให้รู้สึกอุ่นใจเนื่องจากไม่มีมาตรการบังคับชัดเจน หรือหากมีก็ไม่มีทุนเพื่อสนับสนุนให้นโยบายเกิดขึ้นจริง[5] ขณะที่อเมริกาเป็นผู้นำด้านการทำวิจัยหาความเชื่อมโยงเกี่ยวกับการรังแกและจิตวิทยาของเด็กที่รังแกและถูกรังแก

[1] http://www.governing.com/news/headlines/49-States-Now-Have-Anti-Bullying-Laws-Hows-that-Working-Out.html
[2] https://www.theguardian.com/teacher-network/teacher-blog/2013/nov/20/other-countries-tackle-bullying
[3] https://www.stopbullying.gov/laws/key-components/index.html
[4] https://www.washingtonpost.com/local/education/in-missouri-students-who-bully-could-be-charged-with-a-felony/2017/01/06/0e71f17e-d1e2-11e6-945a-76f69a399dd5_story.html?noredirect=on&utm_term=.3043f471c3f0
[5] https://www.hg.org/legal-articles/anti-bullying-laws-in-america-31372

 

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่ workpointnews.com

Facebook / facebook.com/WorkpointNews/

Instagram / instagram.com/workpointnews/

Twitter / twitter.com/WorkpointShorts

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า