Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรุงเทพมหานคร เตรียมคุมเข้มตู้น้ำหยอดเหรียญ หลังพบว่ามีตู้น้ำเถื่อนที่ไม่ขออนุญาตให้ถูกต้องกว่า 3,804 ตู้ จากทั้งหมด 3,964 ตู้ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคน้ำดื่มไม่ได้มาตรฐาน

(4 พ.ค. 61) นายภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ไม่ได้มาตรฐานพื้นที่ กทม. ว่า กรุงเทพมหานครได้มอบหมายให้สำนักอนามัย ลงพื้นที่สำรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทั่วพื้นที่กรุงเทพฯแล้ว พบว่า ในปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพฯ มีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ จำนวนทั้งสิ้น 3,964 ตู้ แต่มีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการถูกต้องเพียง 160 ตู้ ซึ่งที่ผ่านมา กทม.ได้ติดตามตรวจสอบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้สำนักงานเขตเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพน้ำทุก 3 เดือน ด้วยชุดทดสอบน้ำบริโภคอย่างง่าย พร้อมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ กรณีการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมีการขออนุญาตอย่างถูกต้อง

ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงานเขตได้ส่งหนังสือเรียกให้ผู้ประกอบการมาดำเนินการขอใบอนุญาตให้ถูกต้องแล้ว แต่ผู้ประกอบการยังไม่มาดำเนินการให้เรียบร้อย เนื่องจากค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตู้หยอดเหรียญมีอัตราที่สูง จึงได้สั่งการให้สำนักงานเขตบังคับใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เพื่อดูแลและคุ้มครองในเรื่องการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มอัตโนมัติอย่างเข้มงวด หากพบว่ายังมีผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืน จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ

เบื้องต้นหากพบว่า ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่มีเจ้าของ แต่ยังไม่มีใบอนุญาต สำนักงานเขตจะแจ้งให้หยุดดำเนินการทันที พร้อมทั้งออกหนังสือเรียกให้ผู้ประกอบการมาดำเนินการขอใบอนุญาตให้ถูกต้อง ส่วนตู้น้ำหยอดเหรียญที่ติดตั้งในที่สาธารณะและไม่สามารถติดต่อสืบหาเจ้าของได้ กรุงเทพมหานครจะดำเนินการติดป้ายประกาศที่ตู้น้ำดื่มนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการแก้ไขให้ถูกต้องภายใน 15 วัน หากไม่ดำเนินการตามที่กำหนด กรุงเทพมหานครจะดำเนินการตามกฎหมายทันที

อีกทั้งในระหว่างที่ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย กรุงเทพมหานครจะดำเนินการตรวจสอบสุขลักษณะและคุณภาพน้ำดื่มด้วยชุดทดสอบน้ำบริโภคอย่างง่าย (อ 11) อย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ หากพบไม่ถูกสุขลักษณะจะแจ้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลแก้ไขให้ถูกต้อง และหากไม่มีการแก้ไข หรือยังพบว่ามีการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่ใช้เป็นดัชนีชี้การสุขาภิบาลอาหาร และน้ำที่ไม่สะอาด ไม่ถูกสุขลักษณะ จะติดป้ายห้ามใช้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการแก้ไขให้ถูกต้อง

นอกจากนี้ กทม.ได้ยกร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ฉบับ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.2558 และกฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต หนังสือรับรองการแจ้งและการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ.2559 ซึ่งขณะนี้ข้อบัญญัติ กทม.เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ…..  ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของกลุ่มภารกิจด้านคุณภาพชีวิตและงบประมาณแล้ว และจะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานครต่อไป เพื่อประกาศให้กิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเป็นกิจการเฉพาะแยกจากการผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค โดยเมื่อประกาศใช้ จะทำให้การดูแลเรื่องนี้เป็นไปอย่างทั่วถึงมากขึ้น ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ยังอยู่ระหว่างการยกร่างข้อบัญญัติ กทม. เพื่อให้ค่าธรรมเนียมลดลงเหลือประมาณตู้ละ 500 บาท/ปี จากเดิมตู้ละ 2,000 บาท/ปี ซึ่งเมื่อประกาศใช้คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการมาขอใบอนุญาตให้ถูกต้องมากขึ้น

สำนักอนามัยเตรียมทำสติกเกอร์ตู้น้ำดื่มสะอาดปลอดภัยแจกจ่าย 50เขต

ด้านนายแพทย์สุนทร สุนทรชาติ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า สำนักอนามัยจะจัดทำสติกเกอร์ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญสะอาดและปลอดภัย เพื่อมอบให้ 50 สำนักงานเขต นำไปติดหน้าตู้น้ำดื่มที่ได้มีการตรวจสอบและขออนุญาตถูกต้อง เพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นได้อย่างชัดเจน โดยสติกเกอร์จะระบุเลขที่ใบอนุญาต วันอนุญาต วันหมดอายุ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะดำเนินการทุกๆ 3 เดือน ในส่วนของสติกเกอร์วันเดือนปีที่เปลี่ยนไส้กรองและวันเดือนปีที่ตรวจคุณภาพน้ำ บริษัทผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มจะจัดทำและมีการตรวจสอบตามระยะที่กำหนด ซึ่งมีการจดบันทึกไว้ในตู้น้ำดื่มอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม กทม.จะกำชับให้เจ้าของหรือผู้ดูแลติดสติกเกอร์ดังกล่าวในจุดที่ประชาชนสามารถเห็นได้ชัดเจนขึ้น

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีความยินดีให้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร เข้ามามีส่วนร่วมเฝ้าระวังตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ และเป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์การดำเนินการเรื่องตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยปัจจุบันกทม.ได้ทำงานร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคลงพื้นที่ตรวจสอบและแก้ปัญหาเรื่องตู้น้ำหยอดเหรียญในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ อยู่แล้ว อาทิ เขตหนองแขม เขตปทุมวัน เขตจตุจักร เขตยานนาวา เขตธนบุรี เป็นต้น

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก สำนักงานประชาสัมพันธ์ กทม.

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า