Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 วันอาทิตย์ กรมควบคุมมลพิษ สรุปพบ 18 จุด เกินค่ามาตรฐาน เตือน 21 ม.ค. ของจริง ฝุ่นอาจเพิ่มสูงขึ้น เพราะการลอยตัวของอากาศจะไม่ดี ลมพัดอ่อน

กรมควบคุมมลพิษ รายงาน สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ประจำวันที่ 20 มกราคม 2562 พบว่า จากสภาพอุตุนิยมวิทยาที่อากาศในช่วงเช้า อากาศลอยตัวไม่ดี มีสภาพอากาศปิด ลมสงบ ความเร็วลมส่วนใหญ่ต่ำกว่า 3.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีหมอกในตอนเช้า ไม่มีฝน ส่งผลทำให้สถานการณ์ PM2.5 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในวันนี้ คุณภาพอากาศในภาพรวมจากคำแนะนำของกรมอนามัยและกรมควบคุมโรค ลักษณะเช่นนี้ จะทำให้ “เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ” ปริมาณฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

โดยข้อมูลจาก สถานีวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษและกรุงเทพมหานคร(กทม.) บริเวณ พื้นที่ริมถนน คุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในระดับ “เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ” มีค่าเกินมาตรฐาน (50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์) 18 สถานี ขณะที่ พื้นที่ทั่วไป (ห่างจากริมถนนสายหลัก) คุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ มีค่าเกินมาตรฐาน (50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) อยู่ 9 สถานี

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า ในวันพรุ่งนี้ (21 ม.ค. 62) จากการพยากรณ์และแบบจำลองของกรมอุตุนิยมวิทยา “การลอยตัวของอากาศจะไม่ดี สภาวะอากาศปิด และลมอ่อน มีมวลอากาศสะสมอยู่มาก” ส่งผลทำให้ ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 อาจเพิ่มสูงขึ้น

กรมควบคุมมลพิษ ได้ประสานงานกับกทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งบก.จร. ขนส่ง กองทัพฯ กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงคมนาคม และผู้ว่าราชการจังหวัดปริมณฑล ทั้ง 5 จังหวัด ดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM2.5 อย่างต่อเนื่อง เช่น บก.จร. เพิ่มจำนวนจุดตรวจวัดรถยนต์ควันดำเป็น 20 จุด กทม. กวาดล้างถนนอย่างเข้มงวดทุกวัน พร้อมทั้งจัดอุปกรณ์ฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง เร่งคืนพื้นที่ผิวจราจร ลดค่าบริการพื้นที่จอดแล้วจร ลดฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง เพื่อดำเนินการลดปริมาณฝุ่นละอองอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลจาก http://aqmthai.com/aqi.php  

ติดตามข้อมูลออนไลน์  กรมควบคุมมลพิษ  กรุงเทพมหานคร  แอพพลิเคชั่น Air4Thai

สำหรับสถานการณ์คุณภาพอากาศที่ไม่ค่อยดีนักของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เริ่มมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกินค่ามาตรฐานมาตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 20 ธ.ค. 2561 บางวันที่มีฝนตกลงมาชะล้างก็ทำให้คุณภาพอากาศกลับมาดีขึ้นบ้าง แต่จนถึงขณะนี้สถานการณ์คุณภาพอากาศในช่วงหน้าหนาว ที่อากาศปิด ลมนิ่งเช่นนี้ยังคงต้องติดตามเป็นรายวัน

สำหรับข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ควรลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 ขณะอยู่กลางแจ้ง หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว ดังต่อไปนี้ โรคทางเดินหายใจ, โรคเยื่อบุตาอักเสบ, โรคผิวหนัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด

ข้อแนะนำสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยง

  1. พักผ่อนอยู่ในบ้าน
  2. เตรียมยาให้พร้อม
  3. ใช้หน้ากากกันฝุ่น
  4. รีบพบแพทย์ หากมีอาการ

สำหรับประชาชนทั่วไป ควรลดระยะเวลาออกกำลังกาย หรือทำงานหนักกลางแจ้ง หมั่นสังเกตอาการหากเกิดอาการแสบคอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด รีบพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ

ที่มา FB : กรมควบคุมมลพิษ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ห่วงประชาชนฝุ่นPM 2.5 กลับมาเกินค่ามาตรฐาน แนะดูแลสุขภาพ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า