Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กนอ.นำคณะเอกชนไทย-เทศ 18 ราย ลงสำรวจพื้นที่โครงการท่าเรือฯมาบตาพุด ระยะที่ 3 เก็บข้อมูลประกอบการจัดทำข้อเสนอทางเทคนิค-ราคา ยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่1) เตรียมเปิดให้เอกชนยื่นซองในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 เดินหน้าพัฒนาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาล มูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาท รองรับภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอีอีซี  

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่28 พ.ย.ที่ผ่านมา กนอ.ได้นำคณะภาคเอกชนไทยและต่างประเทศ จำนวน 18 ราย ลงพื้นที่โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) เพื่อให้เอกชนที่ซื้อซองประกวดราคาได้เข้าไปสำรวจและศึกษากายภาพของพื้นที่เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการในการจัดทำข้อเสนอทางเทคนิค และราคา ตามเงื่อนไขการยื่นประมูลการร่วมลงทุนตามรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ Public Private Partnership (PPP) Net Cost ซึ่ง กนอ.ได้กำหนดให้มีการยื่นข้อเสนอในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 และคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกได้ในราวเดือนมีนาคม 2562 เพื่อเข้าพัฒนาและสามารถเปิดดำเนินการได้ในต้นปี 2568

สำหรับเอกชนที่เข้าซื้อซองประกวดราคา และลงพื้นที่ศึกษาโครงการท่าเรือฯมาบตาพุดระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) ในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 18 ราย ประกอบด้วย

ภาคเอกชนไทย จำนวน 10 ราย ประกอบด้วย

  1. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
  3. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
  4. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
  5. บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด
  6. บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด
  7. บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
  8. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
  9. บริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด
  10. บริษัท สหการวิศวกร จำกัด

ภาคเอกชนจีน จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย

  1. บริษัท China Railway Construction Corporation Limite
  2. บริษัท China Harbour Engineering Co.,Ltd.
  3. บริษัท ชิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด
  4. บริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชั่น คอนสตรัคชั่น จำกัด

ภาคเอกชนญี่ปุ่น จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย

  1. บริษัท Mitsui & Co., Ltd.
  2. บริษัท Tokyo Gas Co.,Ltd.

ภาคเอกชนเนเธอร์แลนด์ จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย

  1. บริษัท Vopak LNG Holding B.V.
  2. บริษัท Boskalis International B.V.

สำหรับการพัฒนาโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 รวมมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 55,400 ล้านบาท แบ่งออกเป็นภาครัฐ 12,900 ล้านบาท และ เอกชน 42,500 ล้านบาท โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 2 ช่วง ทั้งในการพัฒนาและการบริหารโครงการ

ทั้งนี้ การพัฒนาช่วงที่1 เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 47,900 ล้านบาท โดย กนอ.จะเข้าร่วมลงทุนในมูลค่าไม่เกิน 12,900 ล้านบาท และ เป็นส่วนการลงทุนของภาคเอกชน 35,000 ล้านบาท โดยจะพัฒนาในส่วนขุดลอกและถมทะเล พื้นที่ 1,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ 550 ไร่ และพื้นที่เก็บกักตะกอน 450 ไร่ การขุดลอกร่องนํ้า และแอ่งกลับเรือ การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือท่าเทียบเรือบริการ และท่าเรือก๊าซ รองรับปริมาณการขนถ่ายก๊าซได้ 10 ล้านตันต่อปี โดยเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าพัฒนาโครงการในช่วงที่ 1 จะได้รับสิทธิในการบริหารและพัฒนาพื้นที่ท่าเรือ (Superstructure) ประมาณ 200 ไร่ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารท่าเรือ และเพื่อรองรับการใช้บริการท่าเรือที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

สำหรับแผนการพัฒนาในช่วงที่ 2 จะเป็นการลงทุนก่อสร้างท่าเรือ (Superstructure) จะใช้เงินลงทุนประมาณ 4,300 ล้านบาท โดยเอกชนจะเป็นผู้ดำเนินการลงทุนและพัฒนาท่าเทียบเรือสินค้าเหลว รองรับปริมาณขนถ่ายสินค้าเหลว ได้ 4 ล้านตันต่อปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2566 และเปิดให้บริการได้ภายในปี 2568 และงานก่อสร้างพื้นที่หลังท่า จำนวน 150 ไร่ เงินลงทุน 3,200 ล้านบาท เพื่อรองรับธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

“ศักยภาพของท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีจำนวนเรือที่เข้าใช้บริการในท่าเทียบเรือปริมาณหนาแน่นทั้ง 2 ระยะ ทำให้มีความจำเป็นต้องขยายพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งของไทยในอนาคต” นางสาวสมจิณณ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินภาคเอกชนเพื่อพัฒนาโครงการดังกล่าว คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการดังกล่าว จะพิจารณาบนเงื่อนไขที่รัฐได้ผลตอบแทนสูงสุดทั้งในด้านราคาและเทคนิค เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่จะสามารถรองรับกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันท่าเรือฯมาบตาพุดแห่งนี้ ได้วางแผนที่จะพัฒนาเพื่อรองรับการขนถ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ( LNG) ในช่วงที่ 2 อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อความต้องการใช้และนำเข้าก๊าซ LNG ที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะมีการเปิดเสรี LNG ในอนาคต

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า