Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มูลนิธิกระจกเงา เชิญชวนลงทะเบียนฟรี รับสายรัดข้อมือ QR code “หาย (ไม่) ห่วง” นวัตกรรมติดตามคนหายในกลุ่มผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โรคจิตเวช และพัฒนาการทางสมองช้า ที่มีความเสี่ยงหายออกจากบ้าน หรือพลัดหลงกับญาติ

มูลนิธิกระจกเงา ร่วมกับภาคเอกชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดตัวโครงการ “หาย (ไม่) ห่วง” ด้วยการนำเทคโนโลยีสื่อสารมาต่อยอดจากแอพพลิเคชั่น Thaimissing เพิ่มอุปกรณ์สายรัดข้อมือติดตามตัวคนหาย

สายรัดข้อมือดังกล่าวจะมี OR Code เลขรหัส และข้อมูลของผู้สวมใส่ เพื่อช่วยติดตามคนหายในกลุ่มผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โรคจิตเวช พัฒนาการทางสมองช้า ส่วนใหญ่มักเป็นผู้สูงอายุ ที่มีความเสี่ยงในการพลัดหลงหายออกจากบ้านและไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองได้

ข้อมูลจากมูลนิธิกระจกเงา พบว่า ปี 2561 มีคนหายรวม 906 คน เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี จำนวน 309 คน ส่วนกลุ่มที่หายตัวออกจากบ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อยู่ที่ 531 คน สาเหตุเกิดจากโรคสมองเสื่อม จิตเวช และพัฒนาการทางสมองช้า

ทั้งนี้ ครอบครัวของผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ สามารถลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่น Thaimissing โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android จากนั้นเจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงา จะติดต่อกลับไปเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ไว้ในระบบ และจัดส่งสายรัดข้อมือทางไปรษณีย์ สอบถามเพิ่มเติมโทร 095-631-1914

 

ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา ชี้แจงกรณีดราม่าโครงการ “หาย(ไม่)ห่วง”

ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา ขอเรียนชี้แจง ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการสายรัดข้อมูล (ริสแบนด์) หาย(ไม่)ห่วง

โครงการนี้เกิดจากเราในฐานะคนทำงานติดตามหาคนหาย พบสถิติคนหายจากการพลัดหลงออกจากบ้าน ด้วยสาเหตุป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมมีอาการหลงลืม โรคทางจิตเวชและกลุ่มพัฒนาการทางสมอง ซึ่งหายออกจากบ้าน “ด้วยความไม่สมัครใจ” แต่เป็น “พลัดหลง” ด้วยความเจ็บป่วยและไม่สามารถจำจดข้อมูลส่วนตัวเมื่อมีคนไปให้ความช่วยเหลือได้ โดยสถิติคนหายในรอบ 3 ปีย้อนหลัง จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้นมีคนหายในประเภทนี้จำนวน 1,420 ราย

ปัญหาที่พบ เนื่องจากการหายตัวไปในลักษณะนี้ ปกติแล้วจะเดินเท้าหรือขึ้นรถโดยสาร ในลักษณะพลัดหลงจำทางกลับบ้านไม่ได้ ซึ่งคนหายลักษณะนี้ คนในสังคมพอมองออกว่าสิ่งปกติเกิดขึ้น เช่น การนั่งอยู่ที่ป่ายรถเมล์เป็นเวลานานหลายชั่วโมง ลักษณะการพูดคนเดียว หรือเมื่อมีคนไปสอบถามไม่บอกชื่อตัวเองได้ คนหายกลุ่มนี้หากมีพลเมืองไปให้การช่วยเหลือจะถูกนำส่งเข้าสู่ระบบของรัฐ คือ สถานีตำรวจหรือสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ท้ายที่สุดหากคนหายไม่สามารถให้ข้อมูลส่วนตัวได้ จะกลายเป็นคนนิรนามในระบบครับ หรือผู้ป่วยที่พลัดหลงหายออกจากบ้านที่ไม่ได้รับสู่ระบบการช่วยเหลือจะเดินเร่ร่อนอยู่ข้างถนน กลายเป็นคนป่วยพลัดหลงที่ญาติกำลังติดตามหา

สายรัดข้อมือ หาย(ไม่)ห่วง จึงทำหน้าที่ในการระบุตัวบุคคลว่าผู้สวมใส่เป็นใคร โดยผู้จัดทำพยายามอย่างถึงที่สุดและตระหนักต่อการปกป้องสิทธิของผู้ป่วยที่พลัดหลงหายออกจากบ้านโดยไม่สามารถให้ข้อมูลตัวเองแก่ผู้ให้การช่วยเหลือได้ โดยแม้กระทั่งผู้ทำการช่วยเหลือจะสแกนคิวอาร์โค้ตที่สายรัดข้อมือ ก็จะทราบเพียงว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือในการนำส่งสถานีตำรวจใกล้เคียง(ตามภาพที่แนบมา-หมายเลขโทรศัพท์คือหมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา) และซึ่งจะมีเพียงเจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงาเท่านั้นที่จะทราบข้อมูลหลังมีพลเมืองดี สแกนคิวอาร์โค้ตว่าสายรัดข้อมือที่ได้รับการช่วยเหลือเป็นใคร ซึ่งจะมีกระบวนการตรวจสอบข้อมูลประสานงานญาติตามระบบไม่ใช่ในทางสาธารณะ

ทั้งนี้ขอเรียนเพิ่มเติมดังนี้ว่า

1.สายรัดข้อมือนี้ เป็นระบบสมัครใจของครอบครัวผู้ป่วยในการร่วมโครงการ การสมัครทำโดยสมัครออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น Thaimissing เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีการบังคับหรือไปหาสมาชิกใดๆทั้งสิ้น ครอบครัวผู้ป่วยที่สมัครดำเนินการด้วยตัวเอง

2.โครงการเพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ (14 กพ 2562) ดังนั้นผู้สมัครเข้าโครงการทั้งหมดคือผู้ทราบข่าวเมื่อวานนี้เท่านั้น ทั้งนี้ มีครอบครัวผู้ป่วยที่ได้รับสายรัดข้อมูลไปทำการทดลองสวมใส่จำนวน 80 ครอบครัว ซึ่งเป็นครอบครัวคนหายรายเดิมที่พบตัวแล้วของมูลนิธิกระจกเงา และสมาชิกของสมาคมออทิสติก ซึ่งผู้รับการทดลองใช้งานยินยอมในการสมัครเข้าร่วมโครงการ

3.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่งสื่อสารผ่านสาธารณะเกี่ยวกับโครงการนี้เป็นครั้งแรกเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นวันเปิดตัวโครงการ และไม่เคยมีคำสั่งเป็นหนังสือให้ไปสำรวจข้อมูลผู้ป่วยจิตเวช โรคสมองเสื่อมเกี่ยวกับโครงการนี้อย่างแน่นอน

4.มูลนิธิกระจกเงาได้คุยกับผู้ได้รับผลกระทบจากการมีบุคคลอ้างว่าเป็นตำรวจไปพบที่บ้าน และได้คุยกับตำรวจผู้เกี่ยวข้องแล้ว การกระทำดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องใดๆกับโครงการสายรัดข้อมือหาย(ไม่)ห่วงอย่างแน่นอน

5.การดำเนินการโครงการนี้ทำด้วยเจตนาดีต่อการช่วยเหลือครอบครัวผู้สูญหายและคำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบคอบ เรียนย้ำว่า โครงการนี้เป็นระบบสมัครใจเข้าร่วมโครงการและระบบไว้วางใจต่อการให้ข้อมูล อย่างไรก็ตามมูลนิธิกระจกเงาจะน้อมรับทุกปัญหาที่เกี่ยวกับโครงการเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป แต่ข้อความที่เพจ DRAMA ADDICT นำเสนอไม่ใช่เกิดจากการดำเนินโครงการของเราอย่างแน่นอน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า