Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ชาวบ้านใน จ.ชุมพร โวย อ่างเก็บน้ำของชลประทานที่ก่อสร้างด้วยงบกว่า 25 ล้านบาท ผ่านมาสองปีหลายฤดูฝน ไม่สามารถเก็บน้ำใช้หน้าแล้งได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 61 ที่หน้าบริเวณสันอ่างกักเก็บน้ำ ม. 8 ต.นาชะอัง อ.เมือง จ.ชุมพร นายทวีป ไทยสวี ปลัดอำเภอได้ทำหน้าที่เป็นประธานในการทำความเข้าใจและหาข้อสรุประหว่างชาวบ้านชุมชนนาชะอัง นายเกริกศักดิ์ ลีลานนท์ วิศวกร ชำนาญการพิเศษโครงการก่อสร้างชลประทานที่ 14 ชุมพร กรณีที่ชาวบ้านได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังอำเภอเมืองชุมพร เรื่องอ่างกักเก็บน้ำห้วยพรุกำได้ก่อสร้างมา 2 ปีแล้ว ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ โดยมีนายเฉลิมชัย ชูศรี นายกเทศมนตรีตำบลนาชะอัง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 และชาวบ้านชุมชนนาชะอัง หมู่ 8 กว่า 30 คน เข้าร่วมรับฟัง

นายพิบูรณ์ สุตราม ตัวแทนชาวบ้านได้เปิดเผยว่า เมื่อประมาณ 4-5 ปีก่อน ชุมชนนาชะอังหมู่ 8 แห่งนี้เคยได้ทำเรื่องเพื่อขอให้ทางชลประทานชุมพร ได้ทำอ่างกักเก็บน้ำให้ในพื้นที่ หมู่ 8 เนื่องจากสภาพพื้นที่ดังกล่าวมีลาดเชิงเขาสลับซับซ้อน มีกระแสน้ำไหลลงมารวมเป็นเส้นทางเดียวกันลงสู่ที่ต่ำและมวลน้ำที่ไหลหลาก เพียงพอที่เห็นสมควรจะทำอ่างกักเก็บไว้ใช้ได้ในหน้าแล้ง

นายพิบูรณ์ กล่าวว่า เรื่องได้เงียบหายไป จนปี 2559 ได้มีผู้รับเหมาได้นำเครื่องจักรเข้ามาบุกเบิกพื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้างอ่างกักเก็บน้ำ โดยทางท้องถิ่นและชาวบ้านไม่รับรู้ว่ามีการเข้ามาสำรวจจุดและพิกัดเมื่อไร แต่ชาวบ้านก็ไม่ติดใจอะไรเพราะถือว่าทางชลประทนได้ให้ความสำคัญที่จะช่วยเหลือชาวบ้าน จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอ่างกักเก็บน้ำให้ตามความต้องการ

นายพิบูรณ์ กล่าวต่อว่า หลังจากที่ก่อสร้าง มีการทำป้ายชื่อโครงการ ชลประทานขนาดเล็ก อาคารทำนบดินห้วยพรุกำ ม.8 ต.นาชะอัง อ.เมือง จ.ชุมพร และระบุบนป้ายว่ารัฐบาลสร้างมอบให้ราษฎรเพื่อใช้ประโยชน์และดูแลบำรุงรักษาร่วมกัน โดยใช้งบประมาณปี 2560 จำนวน 25 ล้านบาท และขณะนี้ผ่านมา 2 ปีแล้วที่โครงการก่อสร้างนี้ได้เสร็จสิ้นและทำการส่งมอบให้กับทางชลประทานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แต่ชาวบ้านไม่เคยไม่ใช้ประโยชน์จากอ่างแห่งนี้เลย เพราะ 2 ปีที่ผ่านมา ปริมาณฝนที่ตกหนักติดต่อกันมานานกว่า 2-3 เดือนของทุกปี น้ำที่ไหลจากที่สูงเข้ามาในอ่าง จะอยู่ได้ไม่เกิน 4-5 วันก็จะแห้งหายไป ซึ่งก็เชื่อได้ว่าอ่างแห่งนี้รั่ว ไม่สามารถจะกักเก็บน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ได้แต่อย่างใด ทำให้เสียหายและเสียดายงบประมาณ 25 ล้านบาทอย่างมาก

ด้านนายเกริกศักดิ์ ลีลานนท์ วิศวกรชำนาญการพิเศษ โครงการก่อสร้างชลประทานที่ 14 ชุมพร กล่าวว่า ทางชลประทานได้ออกแบบอ่างแห่งนี้ บรรจุน้ำไว้ได้จำนวน  5 หมื่นลูกบาศก์เมตร สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้กว่า 100 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรอีกกว่า 100 ไร่ แต่ส่วนที่ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้นั้น ทางชลประทานไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้เข้ามาสำรวจตรวจสอบบริเวณคันเขื่อน ไม่พบการรั่วซึมแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ต้องขอรอปริมาณน้ำที่จะไหลมาเติมเต็ม เพื่อจะตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งในการแก้ไขปัญหาน้ำหายไปจากอ่างนั้นมาจากสาเหตุอะไรต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงว่าการทำความเข้าใจและหาข้อสรุปทั้งสองฝ่ายเป็นไปด้วยดี ชาวบ้านได้พึงพอใจในการตอบข้อซักถามและแนวทางในการแก้ไข ใช้เวลากว่า 1 ชม. จึงแยกย้ายกันกลับ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า