Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – พบคฤหาสน์โบราณในสวนยางพารา ที่ จ.สงขลา พร้อมอุปกรณ์เครื่องจักรไอน้ำ เครื่องรีดยางขนาดใหญ่ ที่สั่งซื้อมาจากอังกฤษ  ขณะที่ชาวสงขลาวอนทายาทปัจจุบัน เก็บรักษาอุปกรณ์โบราณ ไว้เพื่อลูกหลานได้ศึกษา

วันที่ 13 ก.ย. 60 ผู้สื่อข่าวได้รับการบอกเล่าจาก นายชาติชาย พุทธกูล อายุ 50 ปี ชาวบ้านคลองรำ ต.ทุ่งหมอ อ.สะเดา จ.สงขลา อาชีพทนายความว่า ที่บ้านคลองรำ ต.ทุ่งหมอ อ.สะเดา จ.สงขลา หลังสถานีรถไฟคลองรำ (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) ติดกับโรงพักทุ่งหมอ มีบ้านโบราณขนาดใหญปลูกในเนื้อที่หลายไร่ สร้างด้วยไม้สักและไม้ท้องถิ่น พร้อมเรือนพักคนงานหรือกงสีด้านหลังกว่า 30 ห้อง สภาพบ้านชำรุดทรุดโทรม แต่ยังคงสภาพรอยรอยความรุ่งเรืองของอดีต มีภาพบรรพบุรุษของเจ้าของบ้านติดอยู่ รวมถึงภาพพระบรมฉายาลักษณ์รัชการที่ 9 แบบนูนต่ำมีตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ติดที่เนื้อประตู ภายในบ้านชั้น 2 เป็นห้องต่างๆ 3 ห้องนอน มีรูปภาพรวมญาติถ่ายตั้งแต่ พ.ศ.2465 หลายรูป

โดยชาวบ้านเล่าว่า บ้านหลังนี้มีประวัติเคียงคู่กับการเข้ามาของยางพาราในจังหวัดสงขลา เมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว เดิมบ้านหลังนี้เป็นยายบุญมากเจริญ หรือยายฉ้าย เป็นชาว ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา (มีศักดิ์เป็นคุณทวดของ นายศักระ กปิลกาญจน์ ปลัดจังหวัดสงขลา) ท่านมีสามีเป็นคหบดีชาวสงขลา ได้ริเริ่มปลูกยางพาราเป็นเจ้าแรกในระบบอุตสาหกรรมการเกษตร มีการนำเข้าต้นยางพาราพันธุ์มาเลเซียมาปลูกในเนื้อที่ 5 พันไร่

ต่อมาได้แพร่หลายไปสู่ชาวบ้าน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บ้านคลองรำ อ.สะเดา พร้อมทั้งนำญาติพี่น้องชาวป่าขาดอพยพมาด้วยนับ 100 คน เพื่อมาทำสวนยางพารา ปัจจุบันเป็นชุมชนอยู่ถึงทุกวันนี้ พร้อมทั้งสั่งเครื่องจักรไอน้ำยี่ห้อ Tangyes Patents จากเมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เพื่อนำมาฉุดเครื่องรีดยางพาราแผ่นจำนวนหลายเครื่องในโกดัง และเครื่องรีดยางพาราบางตัวมีเครื่องยนต์ยุคแรกติดตั้งแยกต่างหาก จากการคาดคะเน พอจะทราบว่าที่นี่เป็นแหล่งผลิตยางพาราคุณภาพคุณภาพสูงส่งในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศเป็นระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูงในยุคสมัยนั้น

ปัจจุบัน เครื่องจักรทุกชนิดยังคงอยู่ที่บ้านหลังนี้ ถูกทิ้งร้างได้รับเสียหายจากธรรมชาติ พร้อมกับการเลือนหายไปกับประวัตศาสตร์สวนยางพาราแห่งแรกในสงขลา ทั้งนี้ อยากให้ลูกหลานตระกูลกปิลกาญจน์ ทายาทปัจจุบันผู้ครอบครองบ้านหลังนี้ รักษาตัวบ้าน อุปกรณ์การผลิตยางแผ่นโบราณไว้เพื่อลูกหลานได้ศึกษา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า