Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ส่งหลักฐานการติดตามโบราณวัตถุชาติในต่างแดนกลับคืน 5 รายการ หลังยืนยันได้ว่ามีแหล่งกำเนิดในไทยจริง ปราสาทพนมรุ้ง 4 ชิ้น ปราสาทพิมาย 1 ชิ้น

ที่ประชุมคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย ครั้งที่ 1 / 2561 ที่มีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน เห็นชอบให้จัดส่งข้อมูล และหลักฐาน เพื่อดำเนินการติดตามนำกลับสู่ประเทศไทย ยืนยันได้ว่ามีแหล่งกำเนิดในประเทศไทยจริง จำนวน 23 รายการ แบ่งเป็นองค์ประกอบ โบราณสถาน 5 รายการ ได้แก่

  • เสาติดผนัง ปราสาทพนมรุ้ง 2 รายการ
  • ทับหลังแสดงภาพเล่าเรื่อง รามายณะ ปราสาทพนมรุ้ง 1 รายการ
  • ประติมากรรมรูปม้า ปราสาทพนมรุ้ง 1 รายการ
  • ทับหลังแสดงรูปบุคคลเหนือแนวหงส์ ปราสาทพิมาย 1 รายการ

สำหรับรายละเอียดของโบราณวัตถุ ทั้ง 5 รายการ ประกอบด้วย

เสาติดผนัง ที่พิพิธภัณฑ์นอร์ตัน ไซมอน สหรัฐ / ช่องว่างที่โคนเสาติดผนัง ปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ / การทดลองนำชิ้นส่วนไปเชื่อมช่องว่าง โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

1.เสาติดผนัง แสดงรูปสตรีใช้มือซ้ายถือลายก้านต่อดอก มีรูปบุคคลขนาดเล็กอยู่ด้านข้าง ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ใน พิพิธภัณฑ์นอร์ตัน ไซมอน ประเทศสหรัฐอเมริกา มีแหล่งข้อมูลปรากฏในรายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาค 2 พ.ศ. 2503-2504 ของกรมศิลปากร หนังสือ “ศิลปะสมัยลพบุรี” ของหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2510 และหนังสือ “ปราสาทเขาพนมรุ้ง : ศาสนบรรพตที่งดงามที่สุดในประเทศไทย” ของหม่อมราชวงศ์สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ พิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2531 โดยผลการศึกษา ถือเป็นโบราณวัตถุที่ถูกลักลอบนำออกไปจากปราสาทพนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ด้วยเหตุผลดังนี้

ลวดลายของเสาติดผนัง ที่พิพิธภัณฑ์นอร์ตัน ไซมอน ประเทศสหรัฐอเมริกา มีลักษณะและองค์ประกอบของภาพคล้ายกับเสาประดับผนังด้านอื่นๆ ที่ยังเหลืออยู่ของปราสาทพนมรุ้ง คือ มีรูปแบบศิลปะบาปวนและแบบนครวัดผสมผสานกัน ลำตัวเสาสลักเป็นลายก้านต่อดอกซึ่งมีขีดสองขีดแบ่งก้านออกเป็นสามส่วน อันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะแบบบาปวน และส่วนโคนเสาสลักเป็นภาพเล่าเรื่อง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะแบบนครวัด นอกจากนี้กรอบของเสาทั้งสองข้างยังมีแนวลายเล็กๆขนาบอยู่ ซึ่งลักษณะดังกล่าวเหมือนกับเสาติดผนังต้นอื่นๆ ของปราสาทพนมรุ้ง และขนาดของเสาติดผนังที่พิพิธภัณฑ์นอร์ตัน ไซมอน ประเทศสหรัฐอเมริกา สัมพันธ์กับขนาดของเสาติดผนังด้านทิศตะวันออกประตูมณฑปด้านเหนือปราสาทพนมรุ้ง สามารถต่อเข้ากันได้พอดีกับส่วนที่ยังคงเหลืออยู่

(2 รูปแรก) เสาติดผนัง ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย สหรัฐฯ / (2 รูปหลัง) ช่องว่างที่เสาติดผนัง ประตูปราสาทพนมรุ้ง และการทดลองนำชิ้นส่วนมาเชื่อมต่อโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

2.เสาติดกับผนัง แสดงรูปสตรีใช้มือซ้ายถือลายก้านต่อดอก มือขวาอยู่ในท่าคล้ายหลั่งทักษิโนทก ให้แก่บุคคลที่นั่งคุกเข่า ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีแหล่งข้อมูลปรากฏอยู่ในรายงานและหนังสือทั้ง 3 เล่ม เช่นเดียวกับเสาติดผนังชิ้นแรก โดยผลการศึกษา ถือเป็นโบราณวัตถุที่ถูกลักลอบนำออกไปจากปราสาทพนมรุ้ง ด้วยเหตุผลคือ รูปแบบศิลปะของเสาติดผนังดังกล่าว มีลักษณะและองค์ประกอบของภาพคล้ายกับเสาประดับผนังด้านอื่นๆ ที่ยังเหลืออยู่ของปราสาทพนมรุ้ง คือมีรูปแบบศิลปะบาปวนและแบบนครวัดผสมผสานกัน ลำตัวเสาสลักเป็นลายก้านต่อดอกซึ่งมีขีดสองขีดแบ่งก้านออกเป็นสามส่วน อันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะแบบบาปวน และส่วนโคนเสาสลักเป็นภาพเล่าเรื่อง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะแบบนครวัด ขณะที่กรอบของเสาทั้งสองข้างยังมีแนวลายเล็กๆ ขนาบอยู่ ซึ่งลักษณะดังกล่าวเหมือนกับเสาติดผนังต้นอื่นๆ ของปราสาทพนมรุ้ง

นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานภาพถ่ายเก่าของเสาติดผนังก่อนที่จะหายไปในเอกสารต่างๆ และขนาดของเสาติดผนังที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย ตรงกับขนาดของเสาติดผนังด้านตะวันตกของประตูมณฑปด้านเหนือ ปราสาทพนมรุ้ง และเมื่อทดลองนำภาพชิ้นส่วนเสาติดผนังไปเชื่อมต่อกับพื้นที่ว่างของเสาที่ปราสาทพนมรุ้ง พบว่าสามารถเชื่อมต่อเข้ากันได้พอดี

(ภาพเล็ก) ทับหลังสลักภาพเล่าเรื่อง รามายณะตอนกุมภกรรณต่อสู้กับกองทัพวานร ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย

3.ทับหลังแสดงภาพเล่าเรื่องรามายณะ ตอนกุมภกรรณต่อสู้กับกองทัพวานร ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา สันนิษฐานว่าอาจเป็นโบราณวัตถุที่ถูกลักลอบนำออกไปจากปราสาทพนมรุ้ง หรือปราสาทพิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ด้วยเหตุผลดังนี้ รูปแบบศิลปกรรม ได้แก่ การแต่งกายและเครื่องประดับ รวมทั้งการจัดวางองค์ประกอบของภาพ เป็นลักษณะของศิลปะที่ปรากฎบนปราสาทหินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้แก่ พิมาย พนมรุ้ง จัดอยู่ในศิลปะบาปวน-นครวัด ขณะที่ขนาดความสูงของทับหลังที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย สามารถเข้ากันได้พอดีกับขนาดพื้นที่ว่างเหนือกรอบประตูของมณฑปปราสาทประธานด้านทิศใต้ (สูง 88.9 เซนติเมตร)

ประติมากรรมลอยตัวรูปม้า (เทพพาหนะ) ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย

4.ประติมากรรมลอยตัวรูปม้า (เทพพาหนะ) มีเครื่องประดับที่คอ หลัง และขาทั้งสี่ ม้าเป็นพาหนะของพระวายุ เทพผู้รักษาทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ปัจจุบันถูกเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย โดยปรากฏแหล่งข้อมูลในนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย. กรมศิลปากร. 2542. และปราสาทเขาพนมรุ้ง ศาสนบรรพตที่งดงามที่สุดในประเทศไทย. หม่อมราชวงศ์ สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. 2531. ผลการศึกษาพบว่า เป็นโบราณวัตถุที่ถูกลักลอบนำออกไปจากปราสาทพนมรุ้ง ด้วยเหตุผลดังนี้ ปรากฏหลักฐานภาพถ่ายเก่าในหนังสือ “ปราสาทเขาพนมรุ้ง : ศาสนบรรพตที่งดงามที่สุดในประเทศไทย” ซึ่งระบุว่า เป็นประติมากรรมที่นำไปจากปราสาทพนมรุ้ง

นอกจากนี้ จากการขุดแต่งปราสาทพนมรุ้ง โดยกรมศิลปากร ได้พบประติมากรรมรูปสัตว์ต่างๆ ที่เป็นสัตว์พาหนะของเทพประจำทิศ เช่น โค ช้าง ระมาด กระบือ หงส์ คชสีห์ ประติมากรรมเหล่านี้เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จ.นครราชสีมา เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบทางศิลปกรรม พบว่ารูปแบบลวดลายเครื่องประดับของประติมากรรมรูปม้า มีลักษณะเหมือนกับประติมากรรมรูปสัตว์อื่นๆ ที่ได้จากปราสาทพนมรุ้ง และลักษณะของเนื้อหินยังเป็นชนิดเดียวกันอีกด้วย รวมถึงขนาดและสัดส่วนของประติมากรรมรูปม้า มีขนาดใกล้เคียงกันกับประติมากรรมรูปสัตว์อื่นๆ ที่ได้จากปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย

ทับหลังแสดงภาพรูปบุคคลเหนือแนวหงส์ ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย

5.ทับหลังแสดงภาพรูปบุคคลเหนือแนวหงส์ โดยทับหลังสลักภาพแบ่งเป็น 2 แนว แนวบนสลักภาพบุคคลประทับนั่งอยู่กึ่งกลาง ขนาบข้างด้วยบุคคลฟ้อนรำ แนวล่างเป็นแถวรูปหงส์ ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย โดยปรากฏแหล่งข้อมูลในกลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยผลการศึกษาพบว่า เป็นโบราณวัตถุที่ถูกลักลอบนำออกไปจากปราสาทพิมาย ด้วยเหตุผลคือ ทับหลังดังกล่าวมีรูปแบบศิลปะและอายุสมัยตรงกับอายุของปราสาทพิมาย และลวดลายบนทับหลัง เป็นลักษณะเดียวกันกับทับหลังที่พบจากปราสาทพิมาย เช่น ลักษณะการแต่งกาย การจัดวางองค์ประกอบบนทับหลังที่มีการแบ่งภาพออกเป็น 2 ตอน ตอนบนสลักรูปบุคคล และตอนล่างสลักเป็นแนวของหงส์ ทับหลังลักษณะนี้ได้ค้นพบอยู่หลายชิ้นที่ปราสาทพิมาย ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้ส่งข้อมูลข้อคืนโบราณวัตถุ ประติมากรรมกลุ่มประโคนชัย ที่ยืนยันแหล่งกำเนิดในประเทศไทย อีก 18 รายการด้วย

ที่มา : กรมศิลปากร,  MGR online /

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า