Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เพจสีเเบรนด์ดัง โพสต์ภาพโบสถ์ทาสีทอง ผ่านไปเกือบ 2 ปี ดราม่าเพิ่งบังเกิด กรมศิลป์ฯ เม้นต์ดุ เตรียมตรวจสอบ

จากกรณีเพจสีเเบรนด์ดัง ได้มีการเผยแพร่ภาพโบสถ์โบราณของวัดโพธาราม ทาด้วยสีทองอร่าม พร้อมข้อความว่า “วัดโพธาราม จ.สุพรรณบุรี เดิมชื่อวัดบ้านคอย เพราะตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าคอย มีบรรยากาศร่มรื่น มีโบราณสถานที่สำคัญคือ วิหารที่มีลักษณะโค้งเหมือนท้องเรือสำเภา บางทีเรียกกันว่า “โบสถ์มหาอุต” ภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปหินทรายเก่าแก่จำนวนมากครับ …ขอขอบคุณที่ไว้วางใจ ใช้ … เพื่อทาสีแห่งศรัทธาให้กับวัดโพธารามครับ”

แต่อันที่จริง วัดแห่งนี้เดิมชื่อวัดจรเข้สามพัน ตั้งอยู่หมู่ 6 ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี และเป็นโพสต์เก่าของเพจสีแบรนด์ดัง เมื่อเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา (16 ธ.ค. 59) แต่กลับกลายเป็นประเด็นดราม่าที่ร้อนแรง เมื่อกลุ่มผู้ทำงานในแวดวงสถาปัตย์ ได้นำภาพดังกล่าวไปวิพากษ์วิจารณ์ จนก่อให้เกิดคำถามในวงกว้างว่า

การทาสีโบสถ์อย่างนี้ ถูกต้องตามหลักการบูรณะโบราณสถาน ?

สร้างความงดงามสอดคล้องหลักสุนทรียะ ?

รวมถึงเข้าข่ายการกระทำที่ผิดกฏหมายหรือไม่ ?

ภาพจาก เพจวัดโพธาราม

ยิ่งต่อมาเมื่อเวลา 09.15 น. วันที่ 24 ต.ค. 61 เพจ สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร ซึ่งเป็นผู้ดูแลโบราณสถานในพื้นที่ ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นอย่างดุเดือด ขอให้เพจสีแบรนด์ดัง ลบแท็กหน่วยงานออก เพราะไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงกำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินคดี

“…กรุณาลบเเท็กหน่วยงานออกด้วย เนื่องจากการดำเนินการครั้งนี้สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ เเละกรมศิลปากรเองไม่มีนโยบายที่จะใช้วิธีการนี้ในการบูรณะโบราณสถาน ดังนั้นการโฆษณาของท่านในลักษณะนี้อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดได้

“ทั้งนี้ สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กำลังดำเนินการเก็บหลักฐานวัดทุกวัด (ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ) ที่ถูกบูรณะทาสีทองด้วยฝีมือเอกชนกลุ่มดังกล่าวนี้ เพื่อดำเนินการทางกฎหมายในกรณีที่วัดนั้นมีสถานะเป็นโบราณสถานต่อไป”

หลังจากนั้นก็ยิ่งมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเพิ่มมากขึ้น แต่บางรายก็อดสงสัยไม่ได้ว่า เหตุการณ์ผ่านมาตั้งเกือบ 2 ปีแล้ว ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเพิ่งขยับ โดย ดร.ลลิตา หาญวงษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ใช้ชื่อเฟซบุ๊ก Lalita Hanwong ได้แสดงความคิดเห็นว่า

“เขาโพสต์มาตั้งแต่ 2016 แล้ว แต่กรมศิลป์เพิ่งจะทราบข่าว จะบอกว่าคนที่สำนักฯ ไม่เคยเห็นเลยว่ามีการบูรณะวัดให้เป็นแบบนี้ ก็คงจะไม่ใช่ล่ะมั้งคะ หรือเป็นเพราะกระแสโซเชียล ถึงทำให้สำนักฯ ต้องออกตัวก็ไม่รู้”

ภาพจาก เพจวัดโพธาราม

ต่อมา เพจกลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร ก็ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าวว่า “กรมศิลปากรขอให้ยุติการทาสีทับโบราณสถานทุกแห่ง ชี้ผิดกฎหมายและทำลายความเป็นของแท้ดั้งเดิม นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่มีผู้แชร์ภาพการบูรณะวัดต่างๆ โดยใช้สีทาทับโบราณสถาน เช่น วัดโพธารามและวัดลาวทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีกลุ่มบุคคลอ้างว่าได้บริจาคให้วัดด้วยความศรัทธานั้น ขอให้ยุติการกระทำดังกล่าวโดยทันที

“เนื่องจากผิดหลักการอนุรักษ์ และเป็นการทำลายความเป็นของแท้ดั้งเดิมของโบราณสถาน อีกทั้งยังไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร ตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2535

“ทั้งนี้ อธิบดีกรมศิลปากร ได้สั่งการให้สำนักศิลปากรทั่วประเทศ ตรวจสอบข้อมูลโบราณสถานที่มีการกระทำลักษณะดังกล่าวและประสานกับวัดต่างๆ โดยเร่งด่วน ขอให้ยุติการดำเนินการทั้งหมดและหากเป็นการกระทำที่ผิดต่อ พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2535 ผู้ดำเนินการจะต้องรับผิดชอบและเข้าหารือกรมศิลปากรเพื่อดำเนินการแก้ไขทันที”

ซึ่งการบูรณะวัดด้วยการทาด้วยสีทอง หรือการบูรณะที่ก่อให้เกิดข้อสงสัยว่า ถูกต้องตามหลักการและกฎหมายหรือไม่นั้น คาดว่าเกิดขึ้นในวัดอีกหลายๆ แห่ง และหากสิ่งก่อสร้างดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ผู้ที่กระทำโดยพลการ ก็จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุฯ หมวด 1 มาตรา 10 ที่ระบุว่า

“ห้ามมิให้ผู้ใดซ่อมแซม แก้ไข เปลี่ยนแปลง รื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เคลื่อนย้ายโบราณสถานหรือส่วนต่างๆ ของโบราณสถาน หรือขุดค้นสิ่งใดๆ หรือปลูกสร้างอาคารภายในบริเวณโบราณสถาน เว้นแต่จะกระทำตามคำสั่งของอธิบดี หรือได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี และถ้าหนังสืออนุญาตนั้นกำหนดเงื่อนไขไว้ประการใด ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นด้วย”

ซึ่งก็ต้องติดตามต่อไปว่า สีแบรนด์ดัง จะออกมาชี้แจงอย่างไร รวมถึงผลการตรวจสอบของ สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร จะออกมาว่า การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายมีความผิดหรือไม่ และสิ่งที่สำคัญก็คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีมาตราการอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำขึ้นอีก

เพราะถึงแม้การซ่อมแซมบูรณะ จะเริ่มต้นจากความปรารถนาดี แต่หากขาดความเข้าใจรากเหง้า ความเป็นมา ภูมิปัญญาโบราณที่ลึกซึ้ง ก็อาจกลายเป็นการทำลายความงดงามอันทรงคุณค่า ไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า