Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – ที่ลานหน้าวัดสาขลา ต.นาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ บรรดานักท่องเที่ยวและผู้ใช้แรงงานต่างใช้เวลาในวันหยุดวันแรงงานแห่งชาติเข้าร่วมทำบุญและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ร่วมกันก่อพระเจดีย์ทรายหน้าวัด

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 1 พ.ค.61 ที่ลานหน้าวัดสาขลา ต.นาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ บรรดานักท่องเที่ยวและผู้ใช้แรงงานต่างใช้เวลาในวันหยุดวันแรงงานแห่งชาติ เข้าร่วมทำบุญและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ร่วมกันก่อพระเจดีย์ทรายหน้าวัดซึ่งในปีนี้ทางวัดสาขลา จัดขึ้นเป็นปีที่ 15 โดยมีผู้เข้าร่วมงานและร่วมทำบุญก่อเจดียน์ทรายกว่า 500 คน

สำหรับในปีนี้ทางวัดสาขลา ได้มีการจัดประกวดการก่อเจดีย์ทรายในรูปแบบต่างๆชิงเงินรางวัลมูลค่ากว่า 7,000 บาท อาทิ ประเภทสวยงาม ประเภทความคิดสร้างสรรค์ และประเภทตลกขบขัน ซึ่งทางวัดได้บริการทรายที่ใช้ในการก่อเจดีย์เพียงคันละ 100 บาท โดยรายได้ทั้งหมดนำไปบูรณะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ภายในวัดด้วย ส่วนการตัดสินนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ของคณะกรรมการที่จัดตั้ง

ซึ่งบรรยากาศการก่อเจดีย์ทรายนั้นผู้เข้าร่วมงานต่างเร่งปั้นและตกแต่งกันอย่างสวยงามและปราณีต โดยไฮไลต์ในการประกวดก่อเจดีย์ทรายมีเจดีย์ทรายพระปรางค์ 3 ยอด ปลากระจัง ป่าลูกจาก เจ้าสัวเปรมชัยกับซากเสือดำ ตามรอยพ่อ ป่านกยูง พระนอน และอื่นอีกมากมาย

ในส่วนเงินรางวัลที่ผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมได้รับมา ต่างนำเงินบริจาคเข้าวัดทั้งหมดเพื่อนำไปพัฒนาวัดต่อไป ส่วนบรรยากาศรอบวัดเป็นไปด้วยความชื่นมื่นสนุกสนาน

นาย สุรชัย คุ้มรำไพ อดีตกำนันตำบลนาเกลือและคณะกรรมการการจัดงานกล่าวว่า ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายถือว่าเป็นประเพณีหนึ่งที่มีที่มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง

โดยคนไทยผูกโยงประเพณีนี้เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัดในรูปพระเจดีย์ทราย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์

และนอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีตให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันจัดประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย

ปัจจุบันประเพณีนี้พบเพียงในประเทศไทยและลาวเท่านั้น โดยจัดในช่วงเทศกาลสำคัญเป็นการเฉลิมฉลองการเปลี่ยนศักราช เช่นในวันตรุษ และวันสงกรานต์ เป็นต้น

โดยในบางหมู่บ้านอาจเป็นประเพณีบุญคูนลาน บุญขวัญข้าว ก่อเจดีย์ข้าวถวายเป็นพุทธบูชา อาจนับว่าเป็นประเพณีก่อเจดีย์ทรายได้เช่นเดียวกัน เพราะไม่ได้สร้างเป็นพุทธศาสนสถานถาวรวัตถุใหญ่โต แต่เป็นเพียงเจดีย์ชั่วคราวเพื่อมุ่งถวายเป็นพุทธบูชา

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า