Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมอนามัย แนะน้ำดื่มสะอาดไม่ได้วัดที่ค่าความเป็นกรด-ด่าง แต่มีหลายปัจจัยช่วยยืนยันค่าความสะอาด ประชาชนอย่าเพิ่งตื่นตระหนกตามคลิป พร้อมเผยกรมอนามัยได้ยกร่างกฎกระทรวงคุณภาพน้ำบริโภคของประเทศไทยเพื่อกำหนดมาตรฐานน้ำบริโภคให้มีมาตรฐานครอบคลุมทุกแหล่ง

จากกรณีที่มีการโพสต์คลิปนำน้ำดื่มยี่ห้อต่างๆ มาทดสอบสภาพความความเป็นกรด-ด่างต่างกันอย่างไร ด้วยการใช้ชุดทดสอบแบบหยดสารเคมีผสมกับน้ำที่ต้องการตรวจ และประเมินว่ายี่ห้อไหนมีค่าเท่าไร การสาธิตทดสอบน้ำดื่มยี่ห้อต่างๆ ทดสอบนั้นส่วนใหญ่ไม่ปรากฏค่าเป็นน้ำที่สะอาด ดื่มได้ แต่กลับพบค่าเป็นสีที่แตกต่างและแสดงให้เห็นว่าน้ำในแต่ละยี่ห้อไม่มีคุณภาพ ไม่ควรนำมาดื่ม

นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า การเผยแพร่คลิปดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดต่อประชาชนที่จะเลือกน้ำดื่มเพื่อบริโภคได้ เพราะการจะพิจารณาน้ำบริโภคดีหรือไม่ดีมีหลายตัวชี้วัด ไม่ใช่แค่ความเป็นกรด-ด่าง อย่างมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาดื่มได้ที่กรมอนามัยกำหนดเพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพน้ำประปานั้นมีถึง 20 ตัวชี้วัด ทั้งด้านกายภาพ เคมี แบคทีเรีย โดยเฉพาะค่าความเป็นกรด-ด่าง กำหนดเป็นช่วง 6.5-8.5 จึงไม่แปลกที่ผลทดสอบตามคลิปจะเปลี่ยนสีและประชาชนไม่ต้องกังวลในค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำดื่ม รวมถึงคลิปการทดลองวัดคุณภาพน้ำบริโภคด้านความกระด้าง การวัดการเหนี่ยวนำด้วยไฟฟ้า เป็นต้น

ทั้งนี้ จากการสุ่มตรวจสอบคุณภาพน้ำบริโภคในปี 2561 ของกรมอนามัยพบว่า มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการบริโภค ร้อยละ 40.13 โดยน้ำประปาน้ำตู้หยอดเหรียญและน้ำบรรจุถัง 20 ลิตร มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการบริโภคมากที่สุด แต่สำหรับพื้นที่ทุรกันดารที่ขาดแคลนน้ำสะอาด ก่อนนำมาดื่มควรต้มให้เดือดอย่างน้อย 1 นาที เก็บในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิดมิดชิด ส่วนการนำน้ำจากแม่น้ำลำคลอง หรือแหล่งน้ำผิวดินแหล่งอื่น ๆ มาใช้โดยตรง ควรปรับปรุงคุณภาพน้ำและฆ่าเชื้อโรคก่อนด้วยการแกว่งสารส้มชนิดก้อนในน้ำและให้สังเกตตะกอนในน้ำ หากเริ่มจับตัวให้นำสารส้มออก ตั้งทิ้งไว้จนตกตะกอนแล้วนำเฉพาะน้ำใสมาฆ่าเชื้อโรคโดยใช้หยดทิพย์ อ.32 ของกรมอนามัยซึ่งเป็นสารละลายคลอรีนชนิดเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วน 1 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร หรือเติมผงปูนคลอรีนตามปริมาณที่กำหนด จากนั้นปล่อยให้มีระยะเวลาฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อย 30 นาที ก่อนนำไปใช้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำได้

กรมอนามัยได้ยกร่างกฎกระทรวงคุณภาพน้ำบริโภคของประเทศไทยขึ้นเพื่อกำหนดมาตรฐานน้ำบริโภคให้มีมาตรฐานครอบคลุมทุกแหล่ง โดยเฉพาะน้ำประปาซึ่งมีตัวชี้วัดถึง 21 ตัวครอบคลุมทั้งทางกายภาพ เคมี แบคทีเรียเพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า