Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รองนายกฯ นำทูต 20 ประเทศ ชมการทำลายซากเรือประมง 9 ลำ ที่สมุทรสาคร ก่อนทยอยทำลายให้ครบ 861 ลำที่ตรวจสอบแล้วว่าเป็นเรือผุพัง ป้องกันแอบนำไปกระทำความผิดอีก มั่นใจประสิทธิภาพตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำ ยืนยันไทยแก้ปัญหาครบทุกด้าน ส่วนจะสามารถปลดล็อกใบเหลืองได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณา พร้อมให้เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปตรวจสอบสิ้นเดือนนี้

วันที่ 12 กันยายน 2561 พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี นำคณะเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย จำนวน 20 ประเทศ จากสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศสมาชิกอาเซียนลงพื้นที่ จ.สมุทรสาคร เพื่อตรวจติดตามการรื้อทำลายซากเรือประมง จำนวน 9 ลำ กลางแม่น้ำท่าจีน พร้อมนำชมการยกระดับประสิทธิภาพระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ของประเทศไทยที่ได้มาตรฐาน โดยมีผู้แทนจากศูนย์บัญชาการแก้ไขการทำประมงผิดกฏหมาย(ศปมผ.) กรมประมง และกรมเจ้าท่า ร่วมให้การต้อนรับ

พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (Illegal Unreported  and  Unregulated  Fishing หรือ IUU) ก้าวหน้ามีผลเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยเวลานี้รัฐบาลไทยสามารถบริหารจัดการเรือประมงไทยได้ทั้งระบบ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ทำให้ภาพลักษณ์การประมงของไทยในสายตาชาวโลกเกิดเป็นภาพบวก เช่น สร้างความยั่งยืนให้กับทรัพยากรประมง มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ดำเนินการอย่างเข้มข้นสร้างความชัดเจนของสถานะกองเรือประมงไทยเข้าสู่ระบบ

มีรายชื่อเรือประมงที่ถูกกฎหมายทั้งหมด 10,743 ลำ อยู่นอกระบบอย่างถาวรไม่สามารถกลับเข้าสู่ทะเบียนเรือไทยและเทียบท่าในประเทศไทยได้อีกต่อไป 6,315 ลำ

ส่วนเรือประมงที่ผุพังแล้วต้องรื้อทำลายซากเรือประมงตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้นำไปแอบแฝงทำผิดกฎหมายอีก 861 ลำ สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนประมงชายฝั่ง แก้ไขเรื่องแรงงานประมงทั้งระบบสร้างความเชื่อมั่นให้กับการประมงของไทยไร้ซึ่งการค้ามนุษย์และแรงงานผิดกฎหมาย

พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี

โดย พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า การรื้อทำลาย แสดงถึงความจริงจังกับการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายขาดการายงานและไร้การควบคุม หรือ IUU เพื่อให้มีจำนวนเรือที่สอดคล้องทรัพยากร การใช้แรงงานที่ถูกต้องและใช้เครื่องมือจับปลาที่ถูกต้อง

ปัจจุบันมีเรือประมงจอดทิ้งไม่มีเจ้าของ 861 ลำ ต้องดำเนินการรื้อทำลายซากเรือประมงนอกระบบทะเบียนเรือตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย เพื่อไม่ให้นำไปแอบแฝงกระทำผิดกฎหมาย โดยขณะนี้ได้จัดทำรายงานความคืบหน้าการแก้ปัญหาให้อียู แล้วและพร้อมที่จะรับการประเมินสิ้นเดือนนี้ และไม่กังวลว่าจะได้รับการปลดล็อกหรือไม่

นายเปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป (สูทสีดำ)

ด้านนายเปียร์ก้า ตาปิโอลา เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป ระบุว่า เห็นความมุ่งมั่นของไทยในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย แต่ไม่สามารถให้ความเห็นได้ว่าจะสามารถปลดล็อกได้หรือไม่

นายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร ระบุว่า ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือกับภาครัฐทั้งการขึ้นทะเบียนเรือ  การใช้แรงงานที่ถูกต้อง แต่ยอมว่ามีผู้ประกอบการบางส่วนที่ปรับตัวไม่ทัน ต้องเลิกกิจการและเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน

ทั้งนี้ อียู มีมติให้ใบเหลืองไทย เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558 ด้วยเหตุผลยังไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ทำให้ไทยต้องมีการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และการจัดการด้านการประมงของไทยให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของ อียู หากไม่ปฎิบัติตาม อาจจะถูกให้ใบแดง ถูกสั่งห้ามนำเข้าสินค้าอาหารทะเลไทยเข้าไปจำหน่ายในตลาด อียู

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า