Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หากติดตามข่าวที่สะท้อนผ่านหน้าสื่อถึงความบาดหมางของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันสองสถาบัน ที่มีอย่างต่อเนื่อง ย่อมตั้งคำถามถึงปรากฎการณ์ว่า  กิจกรรม “ปทุมวันอุเทนถวายร่วมใจ สืบสานปณิธาณ พ่อหลวง รัชกาลที่9” ช่วยกันเป็นจิตอาสาถางหญ้า ทำทางเดินเข้าออกให้สะดวก และทำความสะอาดทั้งบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรและศูนย์ฝึกอบรมที่ 3 อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี นำสองมหาวิทยาลัยให้มาอยู่ร่วมกันได้อย่างไร และหากถอดสมการความขัดแย้งที่สั่งสมมกันมาอย่างต่อเนื่อง อะไรคือสิ่งที่ทำให้วัยรุ่นเลือดร้อนทั้งสองที่มาอยู่ร่วมกันได้

อาจารย์วิชาญ ทองท่าฉาง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ได้ไขกุญแจปลดล็อคความขัดแย้งของนักศึกษา อย่างน่าสนใจ โดยปูพื้นสถานการณ์ปัญหาความไม่ลงรอยกันของสถาบันว่า การก่อเหตุครั้งล่าสุดคือ เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 และจนถึงขณะนี้ไม่มีการปะทะเกิดขึ้น เป็นห้วงบรรยากาศที่ลดความขัดแย้ง  ถึงแม้จะยังมีความหวาดระแวงกันอยู่ทั้งสองฝั่งก็ตาม แต่นี่คือสัญญาณที่ดีของการเคาะปัญหาที่สั่งสมมาอย่างช้านาน และสร้างความเชื่อมั่นว่าเดินมาถูกทาง จึงใช้กิจกรรมเป็นสื่อกลางสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมามีการพูดคุยกันหลายภาคส่วน จนนำมาสู่การผลักดันและสนับสนุนงบประมาณอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดรูปธรรม

อาจารย์วิชาญ ระบุว่า แม้ปมปัญหาเด็กตีกันจะถูกหยิบยกมาแก้ไข  แต่ท้ายที่สุดก็สะดุดกับความไม่ต่อเนื่อง ของผู้บริหาร ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกันไป หรือบางครั้งก็เดินกันคนละทาง ภายใต้ข้อจำกัดที่เปลี่ยนแปลงทุก 4 ปี แต่ล่าสุดเมื่อเราเดินหน้าสางปมปัญหาดังกล่าว จากการเสริมหนุนด้านงบประมาณทีชัดเจนจากหน่วยงานที่มีความตั้งใจจริง จึงทำให้เกิดกิจกรรมได้อย่างชัดเจน ในการนำเด็กนักศึกษาทั้งสองสถาบันมาเข้าร่วม

“แน่นอนว่า มันมีทั้งเด็กของทั้งสองสถาบัน ที่เห็นด้วยไม่เห็นด้วย ภายใต้ความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน และสิ่งสำคัญที่สุดนั้นคือ แรงต้านอันเกิดมาจากต้นตอสำคัญในโลกออนไลน์  ซึ่งมันส่งผลต่อการตัดสินใจของพวกเขา ซึ่งมีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างเผ็ดร้อน  ตัดสินฟันธงแบบหยาบๆ  หรือ ตั้งคำถามไปแล้วได้อะไร”

แต่เด็กสรุปกันเองว่าในระยะยาว จะต้องทำกิจกรรมต่อเนื่องและไม่ควรทิ้งระยะห่าง พวกเขามองไปถึงการจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่น กีฬา หรือจับบัดดี้ระหว่างสถาบัน ตลอดจนควรหากิจกรรม ที่ตรงกับความถนัดด้านวิชาชีพของแต่ละสถาบัน แล้วมาดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ตามความถนัดและทักษะที่มี เช่นโครงการสร้างบ้านให้ผู้ด้อยโอกาส” อาจารย์วิชาญ ระบุ

ด้าน อาจารย์วีนัส  ทัดเนียม รองอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สะท้อนว่า เรื่องที่สองสถาบันไม่ลงรอยกัน หวาดระแวงกัน มันเป็นทุนเดิม และเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ซึ่งทุกฝ่ายอยากหาทางออกให้ได้ แต่มันต้องใช้เวลา และกิจกรรมในครั้งนี้ก็เป็นนิมิตหมายที่ดี  ที่จะทำให้นักศึกษาปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนทัศนคติ เหมือนว่าเขาได้มีเวลาทบทวน จูนเข้าหากัน ให้เขาได้แสดงออกทางความคิดมากขึ้น และให้เขาได้รู้ว่าการเป็นพลเมือง ไม่มีใครเหนือกว่าใคร ไม่มีใครได้สิทธิพิเศษ แต่ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎกติกา

“พอเขาได้มาพูดคุยกัน เราก็ชื่นใจที่ได้เห็นรอยยิ้ม เห็นเสียงหัวเราะของทั้งสองสถาบัน มันเกิดพื้นที่ด้านบวกมากขึ้น และนักศึกษาก็ดีใจที่ได้มาทำกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งมันควรมีเวทีแบบนี้บ่อยๆ รัฐเองควรเข้ามาสนับสนุนส่งเสริม ให้เด็กๆทำดีเพื่อสังคม และหลังจากนี้ เราจะมีการถอดบทเรียนของทั้ง2สถาบัน เพื่อให้เขาได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน หรือนำไปถ่ายทอดสู่รุ่นน้องได้” อาจารย์วีนัส สรุปทิ้งท้าย

ขณะที่ ร.ต.สิทธิศักดิ์ อาร์ชม นายกองค์การบริหารนักศึกษาจากอุเทนถวาย เปิดใจหลังเข้าร่วมกิจกรรมด้วยกันว่า สองวันที่อยู่ด้วยกันเบื้องต้นคือเกิดการแลกเปลี่ยนมุมมอง เรียนรู้ระหว่างกัน ทำให้รู้จักกันมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมแบบนี้ไม่มีในห้องเรียน พวกเราทั้งสองสถาบัน อยากลบภาพนักเลงหัวไม้ ชกต่อยกัน เราอยากหาทางออกของปัญหาร่วมกัน และการเปลี่ยนแปลงมักเกิดจากกลุ่มคนจำนวนน้อยก่อนเสมอ ผมอยากให้ทั้งสองสถาบัน หันหน้ามาพูดคุยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การหยุดใช้ความรุนแรง สร้างค่านิยมใหม่ในรุ่นของพวกเราและส่งต่อสิ่งดีงามสร้างสรรค์ให้กับรุ่นต่อไป

ฝั่งปทุมวัน อย่าง “วรวิทย์ ผุดผ่อง” นศ.ชั้นปี ที่3  คณะวิศวกรรมศาสตร์ บอกว่า เรามองข้ามเรื่องสถาบันออกไป เพราะสิ่งที่เราได้ทำร่วมกันเหน็ดเหนื่อยก็เพื่อ ระลึกถึงพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 เดินตามรอยเท้าพ่อ ซึ่งพวกเราสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวม และพิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเราร่วมมือกันทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ร่วมกันได้หากเรามีสิ่งยึดเหนี่ยวมองเป้าหมายเดียวกัน

“การพูดคุย พบปะกัน ทำให้ปัญหาลดลงได้แม้ทุกวันนี้สังคมมองว่าพวกเราก้าวร้าว ซึ่งพวกเราต้องใช้เวลาพิสูจน์ ขอให้เปิดใจมองพวกเราใหม่ ว่าเราสามารถทำสิ่งดีๆให้กับสังคมได้ ที่ผ่านมาอาจล้มคลุกคลาน ผิดไปบ้าง แต่อยากขอโอกาสจากสังคมให้พวกเราได้เริ่มต้นใหม่” วรวิทย์ ทิ้งท้าย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า