Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ตอบทุกคำถามปัจจัยเร่งให้ ศอร.ปฏิบัติการนำทีมหมูป่าออกจากถ้ำ  ขณะที่ “ผบ.หน่วยซีล” เปิดเผยขั้นตอนในการพาทีมหมูป่าอะคาเดมี ทั้ง 13 คน ออกจากถ้ำหลวง ทุกคนดำน้ำโดยใช้หน้ากากแบบพิเศษ

พลเรือตรี อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ  กองเรือยุทธการ หรือ ผบ.หน่วยซีล ตอบคำถามผู้สื่อข่าว หลังการแถลงข่าวปิดศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวง –ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย วันที่ 11 ก.ค. ถึงขั้นตอนในการนำน้องๆ ทีมหมูป่าอะคาเดมี และโค้ชเอก เอกพล จันทะวงษ์ ออกจากถ้ำหลวงว่า ในการนำน้องๆ ออกจากเนินนมสาว ใช้อุปกรณ์ wet suit หรือเสื้อผ้าที่ใส่ป้องกันความหนาว ขนาด 5 มิลลิเมตร เครื่องช่วยหายใจ หน้ากากแบบเต็มหน้า มีท่อแบบพิเศษที่ปล่อยอากาศตลอดเวลา โดยน้องหายใจปกติ

เมื่อดำน้ำ น้องๆ มีขวดอากาศ มีการปรับความเป็นกลาง “ไม่ให้จม ไม่ให้ลอย” โดยมีนักดำน้ำ 2 คนประกบต่อน้อง 1 คน น้องไม่ต้องทำอะไร อยู่นิ่งๆ ลอยออกมาดำน้ำผ่านซอกหินไปเรื่อยๆ ซึ่งบางช่วงต้องดำน้ำ บางช่วงตื้น บางช่วงน้ำไม่สูงนักจนมาถึงโถง 3

แม้ขณะนั้นจากโถง 3 ถึง โถง 1 น้ำจะแห้งจนสามารถเดินได้แล้ว แต่เราไม่อยากให้น้องๆ เดิน เพราะการเดินจากโถง 3 มาถึงปากถ้ำ “โคตรเหนื่อย” จึงให้น้องๆ นอนในเปล เปลที่ใช้ เพื่อไม่ให้น้องหลุดออกจากเปล ขณะที่บางช่วยต้องขึ้นเนิน มีการต้องชักรอกเป็นระยะๆ ซึ่งจากโถง 3 มาโถง 1 ใช้กำลังพลจากหน่วยต่างๆ รวมทั้งทีมนานาชาติ 100 กว่าคน เพื่อพาน้องออกจากถ้ำ โดยให้น้องเป็นไข่ในหิน และทุกจุดต้องมีพยาบาลตรวจเช็คตลอดและสุดท้ายก็ปลอดภัย

พลเรือตรีอาภากร กล่าวระหว่างการแถลงข่าวปิด ศอร.ด้วยว่า  ตอนที่เราเจอน้องๆ ก็อุ่นใจ และคิดว่า น้องๆ น่าจะอยู่ได้เป็นเดือน แต่สุดท้ายมาเจอข้อจำกัด เนื่องจากอากาศในถ้ำน้อยลง มีออกซิเจนเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ และน้ำฝนที่ตกลงมา เราสู้กับธรรมชาติยากมาก เมื่อฝนมาอะไรก็ต้านทานไม่ได้ จะเจาะถ้ำก็เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร เพราะความหนาของชั้นหินถึง 500 เมตร และไม่รู้ตำแหน่งของน้องๆ ในทีมดำน้ำจึงคุยกัน สุดท้ายจึงมีแผน ที่ได้ร่วมมือกับนักดำน้ำมืออาชีพระดับโลก ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก ผบ.ศอร. และหน่วยเหนือให้ทำได้

“ภารกิจตรงนี้ยากจริงๆ ไม่เคยเจอ ต้องเป็นบทเรียนพัฒนาบุคลากรเพิ่มไปอีกเพื่อรับภัยพิบัติหลายรูปแบบ กองทัพเรือต้องเตรียมคนให้พร้อม เพราะกองทัพเรือบอกว่า จะไม่ทิ้งประชาชน” ผบ.หน่วยซีล กล่าว

(คลิปการพาทีมหมูป่าออกจากถ้ำ เผยแพร่โดยเพจหน่วยซีล Thai NavySEAL)

นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวง –ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย หรือ ผบ.ศอร. กล่าวเสริมว่า ถ้าออกซิเจน เหลือ 12 เปอร์เซ็นต์จะโคม่าออกซิเจนบีบให้เราต้องทำงานแข่งเวลา เพราะคนทั่วไปหายใจที่ออกซิเจน 20 เปอร์เซ็นต์ และน้ำกำลังมา ฤดูฝนภาคเหนือฝนตกมาเป็นน้ำตก พื้นที่ที่น้องๆอยู่ ประมาณ 5 คูณ 5 ประมาณ 25 ตารางเมตรก็จะน้อยลง เป็นตัวเร่งที่ 2 ให้เราตัดสินใจ

และความพร้อมในขณะนั้น คือ สูบน้ำลดลงได้มาก ซึ่งคนที่อยู่เบื้องหลัง คือ ทีมสูบน้ำจนถึงวันดีเดย์ ( 8 ก.ค. 61) น้ำแทบจะไม่มี โดยสามารถสูบน้ำออกได้ 1,000,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม. ) ขณะที่น้ำในถ้ำ ที่น้องต้องเผชิญ คือ 500,000 ลบ.ม. และมีน้ำเติมเข้าทุกวัน วันละ 20,000 ลบ.ม.

สรุปสถานการณ์พาทีมหมูป่ากลับบ้าน 

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์ : workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว   
ยูทูบ: workpoint news   
ทวิตเตอร์: workpoint news   
อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า