Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้ว่าฯ กทม. ลงพื้นที่ตรวจความมั่นคงแข็งแรงของท่าเรือและโป๊ะในพื้นที่ พบชำรุดไม่สามารถใช้การได้ 88 ท่า สั่งการให้ติดป้ายห้ามใช้งาน ย้ำลอยกระทงห้ามเล่นพลุ-โคมลอย ปล่อยโคม ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ

วันที่ 22 พ.ย. 2561 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมผู้บริหารเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจความปลอดภัยท่าเทียบเรือและโป๊ะ เนื่องในวันเทศกาลลอยกระทง ประจำปี 61 ตั้งแต่ท่าเรือท่าช้าง ท่าเรือสะพานพุทธ เขตพระนคร ท่าเรือวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่ ท่าเรือวังหลัง ท่าเรือพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี เขตบางกอกน้อย และท่าเรือพระราม 8 เขตบางพลัด

จากการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของท่าเรือและโป๊ะในพื้นที่ กทม.จำนวน ทั้งหมด 436 ท่า โดยเป็นท่าในแม่น้ำเจ้าพระยา 227 ท่า และท่าในคลอง จำนวน 209 ท่า มีท่าเรือและโป๊ะที่อยู่ในสภาพใช้งานได้ จำนวน 348 ท่า สำหรับท่าเรือและโป๊ะที่ชำรุด ต้องปรับปรุงซ่อมแซมมีจำนวน 88 ท่า กทม.ได้ดำเนินการปิดท่าเรือและโป๊ะ พร้อมติดตั้งป้ายห้ามใช้งานเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งติดตั้งป้ายแสดงจำนวนสูงสุดที่โป๊ะและท่าเรือรับน้ำหนักได้อย่างชัดเจน เพื่อแจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งกรุงเทพมหานครได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรุงเทพมหานครในช่วงวันลอยกระทง ประจำปี 2561 สำหรับท่าเรือขนาดเล็กสามารถรองรับประชาชนได้ 20-30 คน  และท่าเรือขนาดใหญ่รองรับได้ 60-80 คน

พร้อมกันนี้ ผู้ว่าฯ กทม.ได้ออกประกาศ เรื่อง มาตรการป้องกันอันตรายจากการจุดและปล่อยบั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ในช่วงวันลอยกระทง ประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 17 ต.ค.61 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและป้องกันอันตราย รวมทั้งความเสียหายที่จะเกิดแก่ชุมชนและประชาชนโดยทั่วไป พร้อมกำหนดแผนป้อง กันอันตรายจากดอกไม้เพลิง และการเล่นโคมลอยไว้แล้ว โดยได้จัดตั้งชุดเฉพาะกิจประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตรวจสอบ ตรวจตราสถานประกอบการผลิต สะสม และจำหน่ายดอกไม้เพลิงอย่างเข้มงวดตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป รวมทั้งจัดกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการจัดงาน ในช่วงวันลอยกระทง

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและประชาชนมีความปลอดภัยสูงสุด ผู้ที่ฝ่าฝืนจุดและปล่อยบั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุอื่นใดที่คล้ายคลึงกันขึ้นไปสู่อากาศจนทำให้อากาศยานในระหว่างบริการเสียหายจนเป็นเหตุให้อากาศยานนั้นไม่สามารถทำการบินได้ หรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของอากาศยานในระหว่างการบิน ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 600,000 ถึง 800,000 บาท ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558 ทั้งนี้หากประชาชนพบเห็นเหตุสาธารณภัย สามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้ทางโทรศัพท์สายด่วนหมายเลข 199 และ 1555 ตลอด 24 ชั่วโมง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า