Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘พาณิชย์’ เผย 4 สาเหตุทำราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น คาดหลังอินโดนีเซียยกเลิกคำสั่ง ‘ห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม’ ราคาน้ำมันจะคลี่คลายใน 1-2 เดือนนี้

รณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

วันนี้ (10 มิ.ย. 2565) สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า รายงานราคาน้ำมันปาล์มดิบ เดือน พ.ค. 2565 อยู่ที่เฉลี่ยขวดละ 68 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 เฉลี่ย 54 – 55 บาท ในปี 2564 ตามการสูงขึ้นของราคาผลปาล์มดิบที่ขยับจากราคาเฉลี่ย 6.5 บาทต่อกิโลกรัม ในปี 2564 เป็น 9.6 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วงม.ค.-เม.ย. 2565

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ประเทศอินโดนีเซียประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม มีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.2565 ประเมินว่า แม้ว่า อินโดนีเซียจะเริ่มส่งออกน้ำมันปาล์มอีกครั้ง แต่ราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกจะยังคงทรงตัวระดับสูงในระยะสั้น วิกฤติด้านราคาน่าจะคลี่คลายลงในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า

เมื่ออุปทานน้ำมันปาล์มจากอินโดนีเซียเข้าสู่ตลาดอย่างเต็มที่ คาดการณ์ว่าจะมีอุปทานน้ำมันปาล์มจากอินโดนีเซียเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นในช่วง 1-2 เดือนนับจากนี้ เนื่องจากมีผลผลิตปาล์มส่วนหนึ่งที่เกษตรกรเก็บไว้ในช่วงที่มีประกาศห้ามส่งออก เมื่อรวมกับผลผลิตปัจจุบันด้วยแล้ว ทำให้นักวิเคราะห์ต่างคาดหมายว่าจะมีอุปทานน้ำมันปาล์มเข้าสู่ระบบมากขึ้น

ปัจจุบันอินโดนีเซียมีการเก็บสต็อกน้ำมันปาล์มอยู่แล้วประมาณ 5 ล้านตัน ขณะที่ความสามารถในการกักเก็บเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 6-7 ล้านตัน ซึ่งจะเต็มความจุภายในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อินโดนีเซียต้องหันกลับมาส่งออกน้ำมันปาล์มอีกครั้ง เพราะหากยังไม่มีการส่งออกก็จะไม่มีการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในช่วงถัดไป เมื่อผลผลิตล้นตลาดและไม่มีสถานที่เก็บสต็อกจะเกิดการเน่าเสีย นอกจากเหตุผลในด้านปริมาณส่วนเกินในตลาดอินโดนีเซียแล้ว การเก็บสต็อกน้ำมันปาล์มเป็นเวลานาน ยังส่งผลให้น้ำมันปาล์มเสื่อมคุณภาพลงอย่างรวดเร็วด้วย

สถิติด้านการผลิตและการบริโภคน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซีย พบว่า อินโดนีเซียมีความสามารถในการผลิต 4 ล้านตันต่อเดือน ใช้บริโภคในประเทศเพียง 1.5 ล้านตันต่อเดือนเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะถูกส่งออกในปริมาณ 2.5 ล้านตันต่อเดือน ข้อมูลนี้บ่งชี้ว่า ปริมาณน้ำมันปาล์มส่วนเกิน และความสามารถในการเก็บสต็อกที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อินโดนีเซียต้องกลับมาส่งออกน้ำมันปาล์มอีกครั้ง แต่ราคาอาจยังไม่ลดลงในทันที เนื่องจากข้อบังคับของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ยังกำหนดเพดานการส่งออกเพื่อป้องกันการขาดแคลนในประเทศ ขณะเดียวกัน ในด้านอุปสงค์ของผู้นำเข้าจากอินเดียจีน และสหภาพยุโรป ต่างคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันปาล์มในอนาคตจะอยู่ในช่วงขาลง ทำให้ผู้นำเข้าส่วนหนึ่งชะลอการนำเข้าเพื่อรอราคาที่เหมาะสม

สำหรับสถานการณ์ตลาดน้ำมันปาล์มของไทย กรมการค้าภายใน ระบุว่า ณ วันที่ 31 พ.ค.2565 ไทยมีสต็อกของน้ำมันปาล์มต่อเดือนอยู่ที่ระดับ 190,000-200,000 ตัน เพียงพอต่อความต้องการในประเทศและสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและประเทศได้ ตลาดส่งออกหลักของไทย คือ อินเดีย มีมูลค่าส่งออกในสัดส่วน 74.7% ของการส่งออกน้ำมันปาล์มทั้งหมดของไทยในไตรมาสแรก ปี 2565 ขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบของไทย อยู่ที่ 54-55 บาทต่อลิตร ใกล้เคียงกับราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียที่ 55-56 บาทต่อลิตร

ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าวว่า ราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นมาจาก 4 สาเหตุหลัก คือ

1. การฟื้นตัวของความต้องการน้ำมันปาล์มในตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดอินเดีย

2. มาตรการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนในประเทศ โดยในปี 2565 ได้ออกมาตรการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มแล้ว 2 ครั้ง คือ เดือน ม.ค.-มี.ค. และเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา

3. ผลกระทบด้านพลังงานที่เกิดจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้มีการใช้น้ำมันปาล์มผสมเป็นไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นในฐานะพลังงานทดแทน

4. ผลกระทบจากภัยแล้งในแอฟริกาใต้ ทำให้ปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองลดลง ภาคการผลิตอาหารส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องหันมาใช้น้ำมันปาล์มเป็นทางเลือกมากขึ้น

เครดิตภาพ http://www.suksomboon.com/

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า