Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ผ่านความเห็นชอบ ครม.แล้ว สาระสำคัญเป็นการแก้ไขอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่าย โดยให้การคุ้มครองงานภาพถ่ายตลอดอายุผู้สร้างสรรค์และต่อไปอีก 50 ปี

วันที่ 17 ต.ค.2561 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ใหม่ แก้ไขฉบับเดิมให้สอดคล้องกับการสมัครเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO Copyright Treaty) ซึ่งปัจจุบันมีภาคีสมาชิกทั้งหมด 96 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (อียู) จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย และเป็นการยกระดับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

เจ้าของลิขสิทธิ์ของไทยจะได้รับการคุ้มครองและบังคับใช้สิทธิ์ได้อย่างเต็มที่ในกลุ่มประเทศภาคีสมาชิก และยังส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่มดิจิทัล คอนเทนต์ เพลง ภาพยนตร์ เกม แอนิเมชันต่างๆ สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้สร้างผลงานของไทย รวมถึงต่างประเทศว่าจะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามมาตรฐานสากล สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0

สาระสำคัญมี 3 ประเด็น คือ

1. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแจ้งการนำออก(Notice and Take down) โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางศาล จากปัจจุบันเมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์ขึ้น เจ้าของผลงานต้องพึ่งกระบวนการทางศาลคือฟ้องร้องต่อศาล เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วจึงจะมีการแจ้งให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต(ไอเอสพี)ถอดข้อมูลที่ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบ และบางรายเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศเทศยิ่งต้องใช้เวลานาน แต่ภายใต้การแก้ไขกฎหมายใหม่ ไม่ต้องผ่านกระบวนการทางศาลเจ้าของผลงานสามารถติดต่อไอเอสพีโดยตรงว่ามีการละเมิดผลงานอันมีสิทธิ์ เมื่อไอเอสพีได้ติดต่อกับผู้ที่โพสต์ข้อมูลละเมิดลิขสิทธิ์หากไม่มีการโต้แย้งใด ไอเอสพีก็สามารถถอดข้อมูลออกจากระบบได้เลย ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาในการดำเนินการสั้นลง

2. แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยี ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดชอบของผู้ให้บริการซึ่งมี 4 ประเภท คือ ผู้ให้บริการในฐานะสื่อกลาง ,ผู้ให้บริการในการเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็นการชั่วคราว ,ผู้ให้บริการในการรับฝากข้อมูลคอมพิวเตอร์ และผู้ให้บริการในการสืบค้นแหล่งที่ตั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์ อีกทั้งกฎหมายฉบับนี้ยังมีการสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการ และเจ้าของลิขสิทธิ์ในการส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรมบนสื่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางสากล และสนธิสัญญาฉบับดังกล่าวด้วย

3. แก้ไขอายุการคุ้มครองงานภาพถ่าย ซึ่งกฎหมายเดิมกำหนดอายุการคุ้มครองงานภาพถ่ายไว้ 50 ปี นับตั้งแต่ได้สร้างสรรค์งานขึ้น แต่ถ้ามีการโฆษณาผลงานชิ้นนั้น ก็ให้มีอายุได้ 50 ปี ตั้งแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของอนุสัญญาฯ ที่กำหนดให้คุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และให้คุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่ผู้สร้างเสียชีวิต และยังกำหนดให้ลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ ให้มีอายุ 50 ปี นับตั้งแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้มีอายุ 50 ปี ตั้งแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ กล่าวว่า การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาจะต้องแก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับปัจจุบันในบางเรื่อง เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อบัญญัติข้อจำกัดความรับผิดของไอเอสพี หรือผู้ให้บริการในฐานะสื่อกลาง โดยนำกระบวนการแจ้งเตือนและการนำออกหรือ Notice and takedown มาใช้ ซึ่งหากเจ้าของผลงานไปพบเว็บไซต์ใช้ผลงานของตนเองโดยไม่ได้รับอนุญาต สามารถยื่น Notice ให้เขาถอดออกไปโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางศาล กฎหมายฉบับใหม่นี้จะเป็นความร่วมมือระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์กับไอเอสพี โดยเจ้าของลิขสิทธิ์จะแจ้งไปยังไอเอสพีเพื่อถอดออกจากหน้าเว็บไซต์ กระบวนการจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า