Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

(ยงยุทธ ติยะไพรัช / ภาพจาก youngyutofficial)

แกนนำพรรคเพื่อชาติ ชูหนุนตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติภาคประชาชน” ปลดล็อก 250 ส.ว. ขณะที่ “ไพบูลย์” เสนอใช้ มาตรา 270 ประชุมร่วมสองสภาแก้ปัญหารัฐบาลเสียงปริ่มน้ำพิจารณากฎหมายสำคัญ เชื่อ “บิ๊กตู่” อยู่มั่นคง

นายยงยุทธ ติยะไพรัช แกนนำพรรคเพื่อชาติ อดีตประธานรัฐสภาและอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์ข้อสนับสนุนตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” ผ่านเฟซบุ๊ก ยงยุทธ ติยะไพรัช ว่า

“ในวันนี้ผมยังขอยืนยันสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติภาคประชาชน ซึ่งหลายคนยังไม่เข้าใจบางคนก็นำเสนอเอาคนที่มีปัญหากับระบอบประชาธิปไตยมาเป็นผู้นำรัฐบาลแห่งชาติ รัฐบาลแห่งชาติภาคประชาชนที่ผมเสนอคือการให้ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งหันหน้ามาพูดคุยกันเพื่อหาทางออกและปลดล็อค 250 สว.ให้ไปอยู่วงนอกแล้วหาประธานสภาผู้แทนราษฎรและคัดเลือกนายกรัฐมนตรีจาก ส.ส.ที่มีอยู่ เพื่อให้ประชาธิปไตยเดินหน้าต่อไป ซึ่งจะเป็นการหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจตัดวงจรการยึดอำนาจสร้างความหวัง ความศรัทธาให้กับพี่น้องประชาชน ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ออกนอกระบบ ดังเช่นที่หลายคนอ้างเพื่อจะเอาคนที่มีทัศนคติเป็นลบต่อระบอบประชาธิปไตยมาเป็นนายก ทำให้แนวทางการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติจึงมั่วกันไปหมด

ส.ส.ทุกคนล้วนแต่มีวุฒิภาวะกันทั้งนั้นและได้รับความไว้วางใจผ่านฉันทานุมัติจากประชาชนที่เลือกให้เข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน เป็นที่พึ่งหวังว่าจะให้เข้ามาช่วยกันนำพาประเทศชาติให้หลุดพ้นจากกับดักทั้งความขัดแย้ง กับดักการช่วงชิงอำนาจจากพวกนอกระบบ เพื่อเป้าหมายจะให้ประเทศชาติ เดินหน้าไปได้อย่างแท้จริง ความทุกข์ยากของประชาชนทั้งจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและปัญหาหมักหมมต่างๆของบ้านเมือง จะได้รับการแก้ไขเสียที ส.ส. ทุกพรรคที่ผ่านสนามเลือกตั้งมาจนถึงวันนี้ ทุกคนคุยกันได้หัวหน้าพรรคบางคนก็เกรงใจทหาร ทั้งที่ความจริงหัวหน้าพรรคแต่ละพรรครู้จักกันมาทั้งนั้น นักการเมืองที่มีแนวคิดสอดรับกันไม่จำเป็นต้องมีนายหน้า แค่ยกหูโทรศัพท์คุยกันจาก 1 เป็น 2 จาก 10 เป็น 100 หลายคนรวมกันก็มีพลัง แล้วไปเปิดเวทีคุยกัน จะทำได้หรือไม่ได้ จะได้บอกให้ประชาชนที่เฝ้ารอความหวังได้รับทราบ ไม่ต้องรอไปให้ ส.ว.หรือทหารมาบงการครับ”

“ไพบูลย์” เสนอ ม.270 แก้เสียงปริ่มน้ำ

ด้าน นายไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป กล่าวว่า ตามที่หลายฝ่ายเป็นห่วงว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หากได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ส.เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรไม่มาก เสียงเพียงปริ่มน้ำจะบริหารราชการแผ่นดินไม่ได้ เพราะจะมีปัญหาในการพิจารณาผ่านกฎหมายต่างๆ รวมทั้งการพิจารณากฎหมายงบประมาณแผ่นดิน ที่สามารถดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 โดยใช้การพิจารณาในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้ ตนมั่นใจว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จะมีเสียง ส.ส. และ ส.ว. สนับสนุนในรัฐสภามากกว่า 500 เสียง ทำให้สามารถบริหารราชการแผ่นดินไปได้ด้วยความมั่นคง

(ไพบูลย์ นิติตะวัน)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2560

มาตรา 270 นอกจากจะมีหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ให้วุฒิสภาตามมาตรา 269 มีหน้าที่และอำนาจติดตาม เสนอแนะและเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ในการนี้ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภาเพื่อทราบทุก 3 เดือน

ร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ให้เสนอและพิจารณาในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา

ร่างพระราชบัญญัติใดที่คณะรัฐมนตรี เห็นว่า เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ให้แจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบพร้อมกับการเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้น ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมิได้แจ้งว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา เห็นว่า ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของแต่ละสภา อาจเข้าชื่อกันร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้วินิจฉัย การยื่นคำร้องดังกล่าวต้องยื่นก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาแล้วแต่กรณี จะพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นแล้วเสร็จ

เมื่อประธานรัฐสภาได้รับคำร้องตามวรรคสาม ให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการร่วมซึ่งประกอบด้วยประธานวุฒิสภาเป็นประธาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่ง ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนคณะรัฐมนตรีคนหนึ่ง และประธานคณะกรรมาธิการสามัญคนหนึ่งซึ่งเลือกกันเองระหว่างประธานคณะกรรมาธิการสามัญในวุฒิสภาทุกคณะเป็นกรรมการ เพื่อวินิจฉัย

การวินิจฉัยของคณะกรรมการร่วมตามวรรคสี่ให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการร่วมดังกล่าวให้เป็นที่สุด และให้ประธานรัฐสภาดำเนินการไปตามคำวินิจฉัยนั้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รวมความเห็น “รัฐบาลแห่งชาติ” ทุกขั้วการเมือง เห็นด้วย หรือ คัดค้าน?

“รัฐบาลแห่งชาติ” คืออะไร… จะเป็นจริงได้ไหม?

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า