Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อย.และกรมประมงแจงกรณีประเทศไทยได้นำเข้าปลาจากฟุกุชิมะของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด เมื่อปี 2554 ยัน ปลาที่นำเข้ามาปลอดภัย เป็นคนละชนิดที่มีการปนเปื้อน และไม่พบการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี

วันนี้ (6 มีนาคม 2561) นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหาร และยา พร้อมด้วย นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง ร่วมกันแถลงข่าว กรณีสื่อญี่ปุ่นรายงาน ข่าวว่าประเทศไทยได้นำเข้าปลาจากจังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดปัญหาโรงงานไฟฟ้า นิวเคลียร์ระเบิด เมื่อปี 2554 เกิดการรั่วไหลของกัมมันตรังสี และปัจจุบันมีการนำเข้าเนื้อปลามาขายที่ร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยนั้น

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมประมง ขอชี้แจงข้อมูลให้ประชาชนทราบว่า อย. ได้ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าอาหาร โดย อย. ได้ถ่ายโอนภารกิจการ ตรวจสอบการนำเข้าสินค้าเกษตรที่ยังไม่แปรรูปให้กระทรวงเกษตรฯ ได้แก่ สินค้าประมง เนื้อสัตว์ ปศุสัตว์ อาหารทะเล ถั่วธัญพืช เครื่องเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา

โดยมาตรการควบคุมอาหารที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีมี 2 มาตรการ ได้แก่

1.การกำหนดปริมาณการปนเปื้อนกัมมันตรังสีโดยมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานอาหารที่ ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีกำหนดให้ปนเปื้อนได้ไม่เกิน ไอโอดีน – 131 ไม่เกิน 100 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม หรือ เบคเคอเรลต่อลิตร, ซีเซียม – 134 และ ซีเซียม – 137 รวมกันไม่เกิน 500 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม หรือเบคเคอเรลต่อลิตร

2.การกำหนดชนิดอาหารและพื้นที่เสี่ยงในการนำเข้าจะต้องมีหลักฐานในการระบุประเภทปริมาณอาหารจากประเทศต้นทางแสดงที่ด่านนำเข้าทุกครั้ง

อย. ได้มีการประสานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงสาธารณสุขของประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านสถานทูตญี่ปุ่นในประเทศไทย ซึ่งสถานทูตญี่ปุ่นได้แจ้งให้ทราบว่าประเทศญี่ปุ่นมีมาตรการจัดการกับสินค้าที่ตรวจพบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีอย่างเข้มงวด หากตรวจพบอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีเกินมาตรฐานอาหารจากพื้นที่นั้นจะถูกควบคุมและทำลายทันที เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระจายสินค้าไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ภาพประกอบข่าว

ทั้งนี้ อย. ได้ตรวจสอบผลการเฝ้าระวังในปี 2560 ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่น มีการเก็บตัวอย่างปลาและผลิตภัณฑ์ประมงจากเมืองฟูกุชิมะ จำนวน 7,408 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเกินเกณฑ์ 8 ตัวอย่าง เป็นปลา Whitespotted char 4 ตัวอย่าง และ Cherry salmon 4 ตัวอย่าง ส่วนปลานำเข้าเป็นปลากลุ่มปลาตาเดียวไม่ใช่ปลาที่มีปัญหาดังกล่าว ผลการตรวจเฝ้าระวังที่ดำเนินการโดย อย. ในกรณีผลิตภัณฑ์ประมงที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2554 ไม่พบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีเกินมาตรฐานแต่อย่างใด

ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีการสุ่มตรวจสารกัมมันตรังสีในผลิตภัณฑ์ อาหารที่มีโอกาสปนเปื้อนทั้งในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2559 ไม่พบการปนเปื้อน สารซีเซียม – 137 เช่นกัน

นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง กล่าวต่อไปว่า เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของปลานำเข้า กระทรวงเกษตรฯ ได้ประชุมหารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขกำหนดมาตรการในการกำกับดูแลตรวจสอบ ให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ และเชื่อมั่นในระบบตรวจสอบสินค้าเกษตรและอาหารที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ หากพบการปนเปื้อน อย. จะใช้มาตรการส่งคืนหรือทำลายทันที

ขอให้ประชาชนวางใจในการดำเนินงานของ อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้รับฟังข้อมูลข่าวสารให้รอบด้าน อย. จะเฝ้าระวังและติดตามข้อมูลจากทั้งในและต่างประเทศ หากพบผลิตภัณฑ์อาหารใดที่เป็นอันตราย จะประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนทราบทันที

หากผู้บริโภคพบผลิตภัณฑ์อาหารใดสงสัย ว่าจะเป็นอันตราย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด

 

ที่มา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า