Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ระบบการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของไทย มีการเปลี่ยนแปลงระบบมาแล้วหลายรูปแบบ จนถึงระบบที่เรียกว่า “ทีแคส”  (TCAS) ที่กำลังสร้างปัญหาให้กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง ย้อนดูระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยของเด็กไทยต้องผ่านมาแล้ว กี่ระบบ

ดั้งเดิมในการรับเด็กจบ ม.6 หรือเทียบเท่า เพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ใช้วิธีเดียว คือ “รับตรง” มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะกำหนดหลักเกณฑ์ในการรับนักศึกษาเอง

ปี 2504 เริ่มมีระบบกลาง หรือที่เรียกว่า “เอนทรานซ์” ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในขณะนั้นร่วมกันจัดทำระบบกลางขึ้นมา จากนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้เข้าร่วมในระบบกลางนี้

ปี 2516 เมื่อเกิด “ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ” จึงมีการวางระบบเอนทรานซ์ อย่างเป็นทางการ โดยเอนทรานซ์ในยุคนั้น เมื่อสอบแล้วสามารถเลือกคณะที่อยากเข้าได้ 6 อันดับ และเป็นการสอบได้ครั้งเดียว

ปี 2542 เกิดปฏิรูประบบเอ็นทรานซ์ ครั้งใหญ่ ยุคนี้สามารถสอบได้ 2 ครั้ง ให้ใช้คะแนนครั้งที่ดีที่สุด 90 % รวมกับคะแนน GPA หรือ คะแนนจากผลการเรียนตลอดหลักสูตรระดับมัธยมปลาย 10 % เลือกคณะได้ 4 อันดับ และเก็บคะแนนสะสมได้ 2 ปี

แต่เอนทรานซ์ยุคปฏิรูปนี้ ได้สร้างปัญหาสำคัญขึ้น คือ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสอนไม่ทัน ทำให้นักเรียนหันไปพึ่งความรู้จากโรงเรียนกวดวิชาอย่างมาก

ปี 2549 เริ่มเปลี่ยนมาใช้ระบบ “แอดมิชชั่น” ครั้งแรก เป็นระบบที่ออกแบบมา เพื่อหวังแก้ปัญหาให้นักเรียนมาใช้เวลาในห้องเรียนมากขึ้น โดยระบบแอดมิชชั่น กำหนดว่า ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ต้องใช้คะแนนเกรดเฉลี่ยสะสม หรือ GPAX คือเกรดเฉลี่ยทุกวิชาที่เรียนตลอดหลักสูตรมัธยมปลาย รวมกับ เกรดเฉลี่ยกลุ่มสาระ GRA ถึง 30 %

นอกจากนี้ ต้องสอบ A-NET คือแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง และ O-NET แบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน โดยส่วนนี้เด็กทุกคนต้องสอบ แต่สัดส่วนในการใช้คะแนน A-NET และO-NET แล้วแต่มหาวิทยาลัยกำหนด

จากนั้น ในปี 2553-2555 แอดมิชชั่น ได้ลดคะแนนในส่วนเกรดเฉลี่ยสะสม หรือ GPAX เหลือ 20 % เพิ่มคะแนน O-NET เป็น 30 % ยกเลิกการสอบ A-NET เปลี่ยนเป็นการสอบ GAT (การทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป) และ PAT (การสอบวัดความถนัดเฉพาะวิชาการและวิชาชีพ) เก็บคะแนนได้ 2 ปี สอบได้ 4 ครั้ง ต่อมาลดลงเป็น 3 และ 2 ครั้ง แต่ไม่ตอบโจทย์ กลุ่มสถาบันการแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) จึงจัดสอบความถนัดทางแพทย์และอีก 7 วิชาเอง ขณะที่มีมหาวิทยาลัย หลายแห่งเปิดการรับตรงมากขึ้น เมื่อส่วนกลางใช้ระบบนี้

ปี 2556-2559 แอดมิชชั่น ใช้ข้อสอบกลาง แต่ปี 2558 เพิ่มวิชาที่ต้องสอบเก็บคะแนน จาก 7 วิชาสามัญ เป็น 9 วิชา และมีการสอบ O-NET และเริ่มมีระบบ เคลียริงเฮ้าส์ หรือ การยืนยันสิทธิ์ เพื่อป้องกันการกันที่ หรือ กั๊กที่นั่ง

ทั้งนี้ ระบบแอดมิชชั่นและเอนทรานซ์ เลือกตั้งคณะที่ต้องการได้ 4 ลำดับเหมือนกัน

และ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ปี 2560 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. ประกาศใช้รูปแบบรับศึกษาใหม่ เรียกว่า ระบบ ทีแคส TCAS  (Thai University Central Admission System ) มี 5 ขั้นตอน คือ

  1. คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน ไม่มีการสอบข้อเขียน มหาวิทยาลัยจะคัดเลือกเอง
  2. สมัครโควต้า มีสอบข้อเขียน เปิดให้นักเรียนในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่
  3. การรับตรงร่วมกัน สอบตรง รวมกับ โครงการรับตรงกลุ่มกสพท. (กลุ่มแพทย์) เลือกได้ 4 สาขาวิชา และต้องเคลียริงเฮ้าส์สิทธิ์
  4. การรับแอดมิชชั่น ใช้เกณฑ์แบบระบบแอดมิชชั่น โดยมีคะแนน GPAX, O-NET, GAT/PAT
  5. การับตรงอิสระ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีเกณฑ์การสอบที่จัดขึ้นเอง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า