SHARE

คัดลอกแล้ว

การย้ายพรรค เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับวงการการเมืองไทย อาจะด้วยเพราะการเกิดใหม่ของหลายพรรค ทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่จะถึงนี้ มีการโยกย้ายพรรคมากเป็นพิเศษ ทีมข่าวเวิร์คพอยท์สรุปข่าวของพรรคใหญ่ๆ มาให้ดูกัน

 

วันที่ 26 พ.ย. ที่ผ่านมา ถือเป็นหมุดหมายที่สำคัญอีกวันหนึ่งของการเมืองไทยในช่วงนี้ เพราะเป็นวันสุดท้ายที่สมาชิกพรรคการเมืองต่างๆ จะสามารถ “ย้ายพรรค” ได้ เพื่อให้ครบเงื่อนไขการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอย่างน้อย 90 ก่อนวันเลือกตั้ง (24 ก.พ. 62)

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ได้รวบรวมความเคลื่อนไหวของ 9 พรรคการเมืองที่มี “อดีต ส.ส.” “อดีต ส.ว.” (เลือกตั้ง) หรือ “อดีตรัฐมนตรี” ย้ายเข้า-ออกอย่างค่อนข้างคึกคักในช่วงที่ผ่านมา โดยในภาพรวมแต่ละพรรคมีการย้ายเข้า-ออก ดังนี้

 

พรรคพลังประชารัฐ

ถือเป็นพรรคการเมืองที่มีนักการเมืองจากกลุ่มก๊กต่างๆ ย้ายเข้ามาร่วมพรรคมากที่สุด โดยมาจากพรรคเพื่อไทย (รวมถึงอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยและพลังประชาชน) มากที่สุดถึงกว่า 40 คน รองลงมาได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ 13 คน และพรรคภูมิใจไทย 10 คน ทั้งนี้ไม่มีผู้ที่ย้ายออกจากพรรคไปสังกัดพรรคการเมืองอื่น

อ้างอิง https://www.bbc.com/thai/thailand-46341533?ocid=socialflow_facebook

 

 

พรรคเพื่อไทย

พรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดจากการเลือกตั้งครั้งหลังสุด มีอดีต ส.ส. จากพรรคการเมืองอื่นย้ายเข้าพรรคเพียง 2 คน ได้แก่ นคร มาฉิม จากพรรประชาธิปัตย์ และ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่ย้ายกลับมาจากพรรคเพื่อธรรม สลับขั้วกับ นลินี ทวีสิน ที่ย้ายออกจากพรรคเพื่อไทยไปดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อธรรม

ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยถือเป็นพรรคที่ได้รับผลกระทบจากการที่สมาชิกย้ายพรรคออกมากที่สุด โดยมีสมาชิกอย่างน้อย 82 คนที่ย้ายออกจากพรรคเพื่อไทยไปสังกัดพรรคการเมืองอื่น โดยมีสมาชิกพรรคและอดีตผู้สนับสนุนพรรคกว่า 40 คนที่ย้ายไปอยู่พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งโดยตรงในการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้

อย่างไรก็ตาม สมาชิกบางส่วนจำนวนมากกว่า 20 คน ได้ย้ายพรรคไปอยู่กับพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) และพรรคเพื่อชาติ ซึ่งถือเป็นพรรคพี่น้อง/พรรคพันธมิตร กับพรรคเพื่อไทย รวมถึงบางส่วนได้ย้ายไปอยู่พรรคประชาชาติ ซึ่งมีจุดยืนไม่จับมือกับขั้วการเมืองของกองทัพเช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย ดังนั้นจึงอาจมองได้ว่าสมาชิกพรรคกลุ่มนี้ สุดท้ายก็คงจะกลับมาเป็นแนวร่วมกับพรรคเพื่อไทยในการต่อสู้กับขั้วตรงข้ามทางการเมือง

ดูรายชื่อเต็ม ผู้ย้ายเข้า-ออก จากพรรคเพื่อไทยได้ที่https://www.facebook.com/WorkpointNews/photos/a.153956988306921/801809650188315/?type=3&theater

 

 

พรรคประชาธิปัตย์

พรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ในรอบนี้มีอดีตรัฐมนตรีย้ายพรรคมาสมทบเพิ่มเพียง 1 คน ได้แก่ นายอร่ามอาชว์วัต โล่ห์วีระ จากพรรคความหวังใหม่ แต่ในขณะเดียวกัน กลับมีอดีต ส.ส. ของพรรคย้ายออกไปสังกัดพรรคการเมืองอื่นอย่างน้อยถึง 27 คน โดย 2 พรรคการเมืองที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ออกไปสังกัดมากที่สุดคือ พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมพลังประชาชาติไทย จำนวนทั้งสิ้น 13 คน และ 9 คน ตามลำดับ

ดูรายชื่อเต็ม ผู้ย้ายเข้า-ออก จากพรรคประชาธิปัตย์ได้ที่นี่
https://www.facebook.com/WorkpointNews/photos/a.153956988306921/801778113524802/?type=3&theater

 

พรรคภูมิใจไทย

พรรคภูมิใจไทย มีอดีต ส.ส. และรัฐมนตรี จากพรรคการเมืองอื่นย้ายพรรคมาสมทบอย่างน้อย 16 คน และมีอดีต ส.ว. “จากการเลือกตั้ง” เข้ามาสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพิ่มด้วยอีก 2 คน

อย่างไรก็ตาม มีสมาชิกพรรคบางส่วนย้ายออกจากพรรคเช่นเดียวกัน โดยจำนวน 10 คนได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และอีก 3 คนได้ย้ายไปอยู่กับพรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคประชาชาติ

 

พรรคชาติไทยพัฒนา

กลุ่ม “สะสมทรัพย์” ได้ย้ายจากพรรคเพื่อไทยมาอยู่สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนาในการเลือกตั้งครั้งนี้ นอกจากนี้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีต ส.ส. จากพรรคมาตุภูมิ ยังมาอยู่ร่วมกับพรรคชาติไทยพัฒนาแบบเกินความคาดหมายของใครหลายคนด้วย

อย่างไรก็ตาม สมาชิกจำนวนไม่น้อยได้ย้ายออกไปจากพรรค โดยมี 7 คน ออกไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ 6 คนย้ายไปอยู่พรรคภูมิใจไทย และอีก 2 คน ไปอยู่พรรคประชาชาติ

 

พรรคไทยรักษาชาติ

พรรคพี่น้องของพรรคเพื่อไทย มีอดีต ส.ส. และรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยถึง 20 คน ย้ายมาสังกัดพรรคนี้ นำโดย จาตุรนต์ ฉายแสง, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ วีรกานต์ มุสิกพงศ์ โดยมี ปรีชาพล พงษ์พานิช อดีต ส.ส. ขอนแก่นพรรคเพื่อไทย ก็ย้ายพรรคมา และได้เลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค

นอกจากนี้ ยังมีอดีต ส.ส. จากพรรคประชาธิปัตย์ ย้ายพรรคมาสมทบด้วย 1 คน ได้แก่ อสิ มะหะมัดยังกี อดีต ส.ส. จังหวัดสตูล

 

พรรคเพื่อชาติ

พรรคพันธมิตรอีกพรรคหนึ่งของพรรคเพื่อไทย มีอดีต ส.ส. จากพรรคเพื่อไทย รวมถึงอดีต ส.ส. ที่เคยสังกัดพรรคไทยรักไทย มาสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อชาติรวม 5 คน โดยพรรคเพื่อชาติมีผู้สนับสนุนคนสำคัญที่เป็นที่รู้จักดีเช่น นายยงยุทธ์ ติยะไพรัช และนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช.

พรรคประชาชาติ

พรรคการเมืองที่มีฐานเสียงอยู่ที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และเป็นที่มั่นของ “กลุ่มวาดะห์” นำโดย วันมูหะมัดนอร์ มะทา ซึ่งย้ายมาจากพรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติสามารถดึงอดีต ส.ส. เขตใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่กระจัดกระจายกันอยู่ตามพรรคต่างๆ มารวมตัวกันได้ถึง 6 คน

นอกจากนี้ พรรคยังมี นิติภูมิณัฐ มิ่งรุจิราลัย หรือที่รู้จักกันในชื่อเดิม นิติภูมิ นวรัตน์ อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย เป็นรองหัวหน้าพรรคด้วย

พรรครวมพลังประชาชาติไทย

พรรคก่อตั้งโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตแกนนำ กปปส. และอดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ พรรครวมพลังประชาชาติไทยดึงอดีต ส.ส. จากพรรคประชาธิปัตย์มาร่วมได้ถึง 9 คน โดยฐานเสียงอยู่ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของนายสุเทพ และ 3 จังหวัดชายแดนใต้

พรรคมี “หม่อมเต่า” ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าพรรค นอกจากนี้ยังมีคนในแวดวงการเมืองที่เป็นที่รู้จักหลายคนเข้าร่วม เช่น สุริยะใส กตะศิลา อดีตแกนนำพันธมิตรฯ และ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ นักวิชาการและอดีตหัวหน้าพรรคมหาชน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า