Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลากหลายความเห็นคอการเมืองต่อประเด็นร้อนๆ “รัฐบาลแห่งชาติ” หรือการรวมเสียงทุกพรรคการเมืองเป็นรัฐบาลแบบไม่มีฝ่ายค้าน ซึ่งดูแล้วนาทีนี้จะมีแต่เสียงคัดค้านมากกว่าเสียงตอบรับ

วันที่ 14 เม.ย. นายเทพไท เสนพงศ์ ว่าที่ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊กเสนอตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” เพื่อให้บ้านเมืองมีทางออกไม่เจอทางตัน พร้อมรายชื่อ “นายกฯคนกลาง” 4 รายชื่อ วาระชั่วคราว 2 ปี เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้องและแก้รัฐธรรมนูญก่อนจัดการเลือกตั้งใหม่ (อ่านข่าว : ‘เทพไท’ ชงตั้ง ‘รัฐบาลแห่งชาติ’ ‘พล.อ.เฉลิมชัย-พลากร-ศุภชัย-ชวน’ เป็นนายกฯคนกลาง )

หลังจากนั้นเพียง 2 วัน นายเทพไท ได้ทวีตข้อความ ระบุว่า “ผมจะไม่ใช้คำว่ารัฐบาลแห่งชาติอีกต่อไป ข้อเสนอของผมในการที่ให้พรรคการเมืองทุกพรรคถอยคนละก้าว เพื่อจัดตั้งรัฐบาลด้วยกันโดยมี นายกฯคนกลาง ผมขอใช้ชื่อว่า รัฐบาลปรองดอง ไม่ใช่รัฐบาลแห่งชาติ”

นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก วันที่ 16 เม.ย. ระบุว่า “ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่มีความพยายามจะทำให้เกิดทางตั้งทั้งปวงและพยายามจะเสนอทางออกเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ โดยคิดว่า จะให้สังคมยอมรับเป็นทางเลือกที่จำเป็นของสังคมไทย ทั้งที่ยังไม่ได้เห็นความพยายามใดๆ ที่จะทำให้ทางออกเกิดตามเงื่อนไขและกลไกประชาธิปไตย กกต.และผู้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งปวงต้องทำงานอย่างโปร่งใส ยึดถือความถูกต้องและผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวมเป็นที่ตั้ง แล้วประเทศจะมีทางออก รีบประกาศผลการเลือกตั้งอย่างตรงไปตรงมาและเที่ยงธรรมโดยเร็ว ประเทศไทยยังมีทางออกและระบอบประชาธิปไตย ยังเป็นความหวังที่สร้างทางออกร่วมกันอย่างเป็นจริง”

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ กล่าวในวันที่ 15 เม.ย. ว่า “การเสนอรัฐบาลแห่งชาติ หลังการเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านมาไม่ถึง 30 วันคงไม่เหมาะสม พรรคการเมืองยังสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ตามรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย และเชื่อว่า ประชาชนคงไม่เห็นด้วยเช่นเดียวกัน การตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ควรจะเหมาะสมกับสถานการณ์อื่นที่เหมาะสมมากกว่าปัจจุบัน”

อีกฟาก นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ประธานคณะกรรมการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐ ออกมาบอกในวันที่ 15 เม.ย. เช่นกันว่า “รัฐบาลแห่งชาติที่พูดกันอยู่เชื่อว่า ไม่มี เพราะสุดท้ายแล้วพรรคการเมืองที่มีอยู่จะปรับตัวเข้าหากันได้ ไม่มีใครอยากถอยกลับไปสู่ความวุ่นวายขัดแย้ง ทุกคนพร้อมทำงานเพื่อบ้านเมือง”

เช่นเดียวกับ นายไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องเก่าที่พูดกันมานาน เป็นข้อเสนอจากกลุ่มบุคคลที่ไม่ชอบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์นั่นเอง ซึ่งข้อเสนอรัฐบาลแห่งชาติไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยมีการเสนอมาตลอด

“พอมาครั้งนี้กลุ่มที่มาเรียกร้อง จะเห็นได้ชัดว่าส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งหมดนี้จึงเป็นการเสนอแท็กติดในการขจัด พล.อ.ประยุทธ์ออกไป และช่วงชิงชัยชนะทางการเมืองเท่านั้นเอง ซึ่งเชื่อว่าการตั้งรัฐบาลแห่งชาติโอกาสมันไม่เกิดขึ้น เพราะมีหลายขั้นตอน ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้และมั่นใจว่าการตั้งรัฐบาลปกติก็น่าจะทำได้ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร”

รวมทั้ง น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า “เคยพูดหลายครั้งแล้ว รัฐบาลแห่งชาติไม่มีจริง ขัดรัฐธรรมนูญและขัดกับหลักการประชาธิปไตยอย่างชัดเจน รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า ต้องมีผู้นำฝ่ายค้านและถึงไม่ขัดรัฐธรรมนูญก็ขัดกับหลักการประชาธิปไตย เพราะการจะมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ต้องมีการตรวจสอบ ถ่วงดุล ถ้าทุกพรรคไปเป็นรัฐบาลหมดไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลก็ไม่ต่างอะไรกับเผด็จการ”

และ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ที่กล่าวว่า การมีรัฐบาลแห่งชาติดีหรือไม่ ในความเห็นส่วนตัวผมว่า ไม่ดีแน่ เพราะจะไม่มีใครตรวจสอบตามระบบรัฐสภา ประชาชนที่เลือก ส.ส.มา จะเสียประโยชน์อย่างมาก ถ้านักการเมืองสมผลประโยชน์กันแบ่งผลประโยชน์กันจะไม่มีใครตรวจสอบ การทุจริตคอร์รัปชั่นจะทวีคูณมากขึ้น และดีไม่ดีนักการเมืองจะแอบเจรจานิรโทษกรรมคดีของแต่ละฝ่ายกัน อ้างว่าบ้านเมืองจะขัดแย้งวุ่นวายจำเป็นต้องฮั้วกัน คราวนี้จะยิ่งกว่านิรโทษกรรมสุดซอย หลักนิติธรรมจะเสียหาย

ขณะที่ รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ทวีตข้อความทางทวิตเตอร์ @kovitw1 ในวันที่ 16 เม.ย. ว่า “ไม่มีทางตันสำหรับประชาธิปไตย  หากเลือกตั้งแล้วตั้งรัฐบาลไม่ได้ ก็เลือกตั้งใหม่เท่านั้นเอง”

ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในวันที่ 17 เม.ย. หลังประชุมครม.ถึงเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ ว่า “ไม่มีความเห็นนะครับ” เช่นเดียวกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ถูกถามถึงประเด็นนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งเจ้าตัวย้ำคำเดียวว่า “ไม่รู้”

นี่เป็นเพียงเสียงส่วนหนึ่งของผู้คนในแวดวงการเมืองที่มีต่อข้อเสนอเรื่อง “รัฐบาลแห่งชาติ” ที่ถูกพูดถึงหนาหูอีกครั้ง ท้ายที่สุด “รัฐบาลแห่งชาติ” จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่คงต้องติดตาม ที่สำคัญบรรดานักการเมืองคงต้องยินยอมพร้อมใจร่วมไม้ร่วมมือด้วยจึงจะเกิดขึ้นได้จริง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“รัฐบาลแห่งชาติ” คืออะไร… จะเป็นจริงได้ไหม?

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า