Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรรมาธิการ เตรียมนำ ร่าง พ.ร.บ.ข้าว เข้าที่ประชุม สนช.พิจารณาต่อ แม้มีหลายฝ่ายเสนอขอให้เลื่อนไปหลังเลือกตั้ง ยืนยันคิดมาดีเก็บข้อมูลมากกว่า 2 ปี ไม่ได้เร่งรัด พร้อมออกเอกสารแจงเรื่องห้ามจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้รับรอง เป็นความคลาดเคลื่อน

วันที่ 25 ก.พ. ห้อง 302 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2 พลเอกมารุต ปัชโชตะสิงห์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ข้าว พ.ศ. …. แถลงข่าวในประเด็นการทบทวนร่าง พ.ร.บ. ข้าว โดยระบุว่า ร่างกฎหมายเกิดจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาข้าวและชาวนามากกว่า 2 ปี พบว่าชาวนาทุกจังหวัดเรียกร้องให้มีกฎหมายว่าด้วยข้าว โดยมีความต้องการ 3 อย่างคือ ต้องการเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ต้องการราคารับซื้อข้าวเปลือกเป็นราคาตายตัว และต้องการให้โรงสีรับซื้อในราคาที่สะท้อนตามความเป็นจริงและเป็นธรรม

คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ร่างกฎหมายโดยกำหนดให้หลักการของร่างพ.ร.บ.ข้าว เพิ่มประสิทธิภาพของกลไกภาครัฐ ในการขับเคลื่อนนโยบายในการส่งเสริม พัฒนาชาวนา รวมถึงภาคการผลิตและภาคการตลาดให้มีความเข้มแข็ง ให้ผลผลิตข้าวมีคุณภาพ มีมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น โดยไม่เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของพี่น้องชาวนา

ทั้งนี้ยืนยันว่า กฎหมายฉบับนี้ได้เริ่มเสนอโดย สนช.ตั้งแต่ 20 ส.ค. 2561 แต่ถูกพิจารณาว่าเข้าข่าย พ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงิน จึงส่งให้รัฐบาลพิจารณารับรองและกลับเข้าสู่การพิจารณาวาระแรกของ สนช. เมื่อ 25 ธ.ค. 2561 จึงไม่ใช่เป็นการเร่งรัดกฎหมาย โดยร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้จะเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ในวันพรุ่งนี้ (อังคารที่ 26 ก.พ.) เวลา 09.00 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ข้าว พ.ศ. …. ยังได้จัดทำเอกสารชี้แจง โดยตอนหนึ่งระบุถึง ข้อกังวลเรื่อง “ห้ามจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้รับรองพันธุ์” ว่าเกิดจากการนำข้อความในร่างกฎหมายเดิมที่เสนอเป็นครั้งแรกมาเสนอ แต่ได้มีการตัดเรื่องนี้ออกแล้วในชั้นกรรมาธิการ ส่วนเรื่องการให้โรงสีออกใบรับซื้อข้าวจากชาวนาและแจ้งไปยังกรมการข้าวยังให้มีอยู่แต่อาจจะให้ยกเว้นการรับซื้อระหว่างชาวนาในระดับชุมชน และไม่ใช่การรับซื้อเฉพาะพันธุ์ข้าวที่รับรองเท่านั้น

อีกด้านหนึ่งนายอนุชา นาคาศัย ประธานยุทธศาสตร์ภาคกลาง พรรคพลังประชารัฐ แถลงขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ถอนร่าง พ.ร.บ.ข้าว ออกไปก่อน และขอให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้พิจารณากฎหมายดังกล่าวแทน เพราะจุดยืนของพรรคพลังประชารัฐ ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหากฎหมายที่ สนช.กำลังพิจารณา โดยเฉพาะมาตรา 20 ที่เกี่ยวกับการให้โรงสี ออกใบรับรองการซื้อข้าว และมาตรา 27/1 เกี่ยวกับการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวต้องผ่านความเห็นชอบจากกรมการข้าว เนื่องจากเห็นว่า 2 ประเด็นนี้ยังเป็นเรื่องที่ชาวนาถกเถียงและเคลือบแคลงใจ ประกอบกับหากใครไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง

นายอนุชา กล่าวว่า หาก สนช.ยังเดินหน้าต่อไปตนและชาวนาจำนวนมากจะเดินทางไปที่รัฐสภาเพื่อชี้แจงให้ สนช.เกิดความเข้าใจ เพราะกฎหมายนี้อาจจะกระทบกับวิถีชีวิตชาวนา 15 ล้านคนทั่วประเทศ

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการประสานไปที่ พล.อ.ประยุทธ์ ให้ประสานไปยัง สนช.ให้ยุติการพิจารณากฎหมายหรือไม่ นายอนุชา กล่าวว่า เป็นการทำงานคนละส่วน โดยความเห็นดังกล่าวเป็นของพรรค และแยกเด็ดขาดระหว่างการทำงานของรัฐบาลและ สนช. เรื่องนี้จึงไม่เกี่ยวกับ พล.อ.ประยุทธ์

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า