Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกรายงานสถานการณ์ด้านสื่อมวลชนไทยในรอบปี 61 ประกาศให้เป็นปีแห่งการ “ซึมแทรก ซึมทรุด”

วันที่ 31 ธ.ค. 61 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยรายงานสถานการณ์ด้านสื่อมวลชนไทยในรอบปี พ.ศ. 2561 เป็นปีแห่งการ “ซึมแทรก ซึมทรุด” เพราะยังคงเผชิญความเสี่ยงและท้าทายหลายประเด็น โดยเฉพาะการไม่มีสิทธิและเสรีภาพอย่างเต็มที่ ภายใต้กฎหมายพิเศษของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในห้วงระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ อุตสาหกรรมสื่อทั้งระบบยังอยู่ในภาวะยากลำบากอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผล กระทบด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมการเสพข้อมูลข่าวสารที่มุ่งไปสู่ทิศทาง ทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงสรุปสถานการณ์สื่อฯใน 4 ประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. ถูกควบคุมด้วยกฎหมายพิเศษ : แม้ว่าปี 2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ รองรับสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การพูด การพิมพ์ไว้ ในมาตรา 34 และ มาตรา 35 บัญญัติ ให้บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการ เสนอข่าวสาร หรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ทว่ายังคง มีการบังคับใช้ ประกาศ คสช.และคำสั่งหัวหน้า คสช. 4 ฉบับ เกี่ยวข้องกับสื่อ มวลชนที่ยังไม่มียกเลิก สวนทางกับบรรยากาศของการปลดล็อคทางการเมือง เพื่อเดินหน้าสู่การเลือกตั้งที่ประชาชนต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างครบ ถ้วนรอบด้าน แม้ว่าองค์กรสื่อจะร่วมกันรณรงค์ เรียกร้องและออกแถลงการณ์ มาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา แต่การยกเลิกประกาศคสช.และคำสั่งหัวหน้าคสช. ทั้ง 4 ฉบับ ก็ไม่เป็นผล 4 ประกาศ คสช.และคำสั่งหัวหน้า คสช. ประกอบด้วย
        ประกาศ คสช.ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การขอความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคสช.และการเผย แพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ
        ประกาศคสช.ที่103 /2557 แก้ไขเพิ่มเติม ประกาศคสช.ฉบับที่ 97 /2557 โดยห้ามวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของ คสช.โดยเจตนาไม่สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคสช.ด้วยข้อมูลอัน เป็นเท็จ
        คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 (ข้อ5)ให้อำนาจเจ้าพนักงานรักษา ความสงบเรียบร้อยมีอำนาจออกคำสั่งห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำ ให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด
        คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 41/2559 เรื่อง การกำกับดูแลการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่อสาธารณะ โดยมีเจตนาในการขยายอำนาจ ตามมาตรา 37 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้ครอบคลุมไปถึงประกาศของคสช. ฉบับที่ 97/2557 และฉบับที่103/2557 รวมทั้งคุ้มครองการใช้อำนาจของ กสทช.

ขอบคุณภาพจาก Watcharathit Katsri

2. จับตากฎหมายกระทบเสรีภาพ : ประเทศไทยอยู่ในช่วงขับเคลื่อนตามแผน การปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ รวมถึงแผนปฏิรูปด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยี สารสนเทศ หนึ่งในนั้นคือการจัดทำ พระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและ มาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน. พ.ศ. . ซึ่งก่อนหน้านี้องค์กรสื่อได้รวมพลังคัด ค้านในหลายประเด็น แต่ในที่สุดร่างกฎหมายดังกล่าวก็ได้รับความเห็นชอบใน หลักการจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 โดยมีข้อสังเกตบาง ประการ และคณะรัฐมนตรีได้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฏีกาพิจารณาก่อน เสนอกลับคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง ในชั้นนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวจึงไม่น่าจะทัน การพิจารณาของสภานิติบัญญัติชุดนี้ ถึงกระนั้น องค์กรสื่อก็ยังยืนยันหลักการ ในการกำกับดูแลกันเอง อันเป็นหลักการสากลที่นานาประเทศใช้กำกับดูแล เรื่องจริยธรรม อีกทั้งจะต้องไม่มีตัวแทนฝ่ายรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง
        นอกจากนี้ยังมีร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับเสรีภาพบนโลกออนไลน์ ได้แก่ พระราช บัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่ผ่านความ เห็นชอบจากครม.แล้วเช่นกัน แต่หลายประเด็นอาจจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ การแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชนตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ รวมทั้งติดตาม ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ…. ร่างพระ ราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ… การแก้ไข พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ ว่าจะมีส่วนใดริดรอนเสรีภาพของประชาชนและ สื่อมวลชนหรือไม่

3.ธุรกิจสื่อยังระส่ำ : การใช้อำนาจพิเศษของ คสช. ในการออกมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการทีวีดิจิทัล ด้วยการพักชำระหนี้ค่าสัมปทานเป็นเวลา 3 ปี ตามที่ผู้ประกอบการร้องขอ เป็นสัญญาณที่การแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ของธุรกิจสื่อได้อย่างชัดเจนตลอดทั้งปีที่ผ่านมาต่อ เนื่องมาตั้งแต่ปี 2560

ฝั่งของสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เปิดโครงการลาออกด้วยความสมัครใจในช่วงสิ้นปี หนังสือพิมพ์ เชียงใหม่นิวส์ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่ ตีพิมพ์ข่าวสารในพื้นที่ภาคเหนือมานานกว่า 27 ปี อำลาแผงเมื่อ 5 มี.ค.2561 ผันตัวสู่ออนไลน์ และวันที่ 4 มกราคม 2562 นิตยสารวิเคราะห์ข่าวการเมืองรายสัปดาห์ สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ที่จะอำลาแผงเช่นกันหลังยืนหยัดมาได้ถึง 66 ปี เนชั่นสุดสัปดาห์ อำลาแผงไปก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนนิตยสารสตาร์พิคส์รายเดือน ที่อยู่คู่แผงหนังสือไทยมากว่า 52 ปี ประกาศปิดตัว ตีพิมพ์ ฉบับที่ 888 เดือน เม.ย. 2018 เป็นฉบับรายเดือนเล่มสุดท้าย!!

นิตยสาร Secret เครืออมรินทร์ ประกาศเลิกผลิต เดือนมิ.ย. วางแผงฉบับสุด ท้าย ปรับรูปแบบการนำเสนอผ่านช่องทางออนไลน์ และช่องทางโซเชียลมี เดียต่างๆ รวมทั้ง Student Weekly ในเครือ Bangkok Post ได้ประกาศวาง แผงเป็นฉบับสุดท้าย ฉบับวันที่ 30 ก.ย. ถือเป็นการปิดตำนานนิตยสารภาษา อังกฤษที่อยู่คู่นักเรียนไทยมากว่า 50 ปu นิตยสารแพรวก้าวเข้าสู่ปีที่ 40 ประกาศปรับจากรายปักษ์ เป็นรายเดือนฉบับแรก เริ่มเดือน ต.ค.

ฟากฝั่งของสื่อทีวี เริ่มตั้งแต่ “นิวทีวีช่อง18” เป็นช่องแรกของปี ที่ปรับโครง สร้างโดยมีคำสั่งลดพนักงาน 30 % ตามติดด้วยสปริงนิวส์ช่อง19 เลิกจ้าง พนักงาน 80 พร้อมกับการต่อลมหายใจด้วยการขายหุ้นให้กับทีวีไดเร็ค และ ให้บางรายการไปออกอากาศทางช่อง NOW26 ในเครือเนชั่น ซึ่งเป็นจังหวะ เดียวกับที่เนชั่นเปิดตัวทีมผู้บริหารชุดใหม่ได้ไม่นาน ปลายปีสถานีโทรทัศน์ ‘Money Channel ’ แจ้งยุติออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 และจะรุก ตลาดผลิตคอนเทน สร้างความเข้มแข็งในโลกออนไลน์ แม้กระทั่งสื่อยักษ์ ใหญ่ อย่างสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3 ก็ยอมเปิดโครงการเกษียณอายุให้ แก่พนักงานอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งภาวะธุรกิจเช่นนี้ สื่อระดับโลกอย่างสำนักข่าวรอยเตอร์เอง มีแผนลด พนักงาน 3,200 ตำแหน่ง ปิดสำนักงาน 133 แห่งทั่วโลก ภายใน 2 ปีข้างหน้า ตามแผนปรับโครงสร้างบริษัท

4. บทเรียนถ้ำหลวง : เป็นเหตุการณ์ที่ต้องบันทึกไว้กับเหตุการณ์ที่สื่อมวลชนทั่วโลกมากกว่าพันชีวิตปักหลักทำข่าวต่อเนื่องยาวนาน 17 วัน ในภารกิจช่วย 13 ชีวิตทีมหมูป่าอะคาเดมี่ ติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย เป็นสถานการณ์ที่ยากทั้งการช่วยเหลือ และยากต่อการรายงานข่าวบนเนื้อที่ ปากถ้ำที่มีหลากหลายอุปสรรค เงื่อนไข ข้อจำกัดที่ต้องแข่งกับเวลา และการช่วงชิงยอดผู้ชมและเรตติ้งของข่าวให้ได้มากที่สุด นำมาซึ่งคำชื่นชม ตำหนิ และบทเรียนให้กับสื่อมวลชนนำกลับไปเป็นการบ้านเพื่อยกระดับมาตรฐาน วิชาชีพต่อไป

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
30 ธันวาคม 2561

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า