Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สทนช.ย้ำยังต้องเฝ้าระวัง 3 จว.นครศรีฯ – สุราษฏร์ – ตรัง เหตุน้ำยังปริ่มตลิ่ง ประสาน กฟผ.ปรับลดการระบายเขื่อนรัชชประภา บรรเทาผลกระทบจากฝนที่ตกในพื้นที่ พร้อมคาดการณ์สถานการณ์เริ่มคลี่คลายเหตุฝนใต้จะเริ่มลดลงช่วง 19 – 23 ธค.นี้

 วันนี้ (18ธ.ค.61) นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ภาพรวมของประเทศขณะนี้ว่า ปัจจุบันภาคใต้ยังมีฝนตกหนักบางแห่งใน 12 จังหวัด ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และจ.สตูล โดยปริมาณฝน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนหนักถึงหนักมาก 2 จังหวัดได้แก่ จ.นราธิวาส อ.เมือง  91.7  มม. ขณะที่ จ.นครศรีธรรมราช อ.สิชล 61 มม. และ อ.เมือง 59.5 มม.

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 19 – 23 ธ.ค.61 ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ขณะที่ภาคใต้ฝนจะลดลง

 “จากปริมาณฝนตกสะสมในพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 61 ส่งผลให้น้ำท่วมขังบริเวณพื้นที่ 4 จังหวัดได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง พื้นที่ได้รับผลกระทบ 31 อำเภอ 157 ตำบล 847 หมู่บ้าน โดยใน 1-2 วันนี้ ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสมอาจส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำสายสำคัญระดับอยู่ในระดับวิกฤติต้องเฝ้าระวังพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช คลองท่าดี อ.เมือง, คลองกลาย อ.ท่าศาลา และคลองท่าเลา อ.ทุ่งสง จ.ตรัง แม่น้ำตรัง บริเวณ อ.รัษฎา อ.วังวิเศษ และ อ.ห้วยยอด และ จ.สุราษฎร์ธานี แม่น้ำตาปี บริเวณ อ.พระแสง-เวียงสระ และคลองกระแดะ บริเวณ อ.กาญจนดิษฐ์” นายสมเกียรติกล่าว

อย่างไรก็ตาม สทนช.ได้ติดตามสภาพอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำมากกว่า 80% ของความจุที่ต้องเฝ้าระวังในภาคใต้ แบ่งเป็น ขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน คิดเป็น 87% น้ำไหลเข้าวันละ 1.20 ล้าน ลบ.ม.ระบายออก 1.04 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนปราณบุรี 90% น้ำไหลเข้าวันละ 0.67 ล้าน ลบ.ม. ออก 0.25 ล้าน ลบ.ม. และ เขื่อนรัชชประภา 84% น้ำไหลเข้าวันละ 11.98 ล้าน ลบ.ม.  ระบายออก 5.06 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 16 แห่ง  ซึ่งเบื้องต้นได้ประสานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนรัชชประภา เพื่อป้องกันความเสี่ยงน้ำที่อาจเพิ่มบริเวณ อ.เมืองสุราษฎร์ธานี จากแม่น้ำตาปี พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่องตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ) ซึ่งแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์และกำชับทุกหน่วยงานให้มีการเตรียมแผนบรรเทาผลกระทบอย่างทันท่วงที โดยแจ้งเตือนประชาชนพร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สัมพันธ์กับความจุของอ่างเก็บน้ำและสภาพด้านท้ายน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ และพร้อมสำหรับช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง คาดว่าในวันที่ 20 ธ.ค.61 ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคใต้จะลดลง

นายสมเกียติ กล่าวเพิ่มเติมถึงปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศว่า ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 อ่าง มีปริมาณน้ำ 55,523 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 78% ปริมาณน้ำใช้การ 31,981 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 68% อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 419 แห่ง มีปริมาณน้ำ 3,750 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 69% ปริมาณน้ำใช้การ 3,325 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 66% ทั้งนี้ ยังคงติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อนน้ำน้อยอย่างใกล้ชิดให้เป็นไปตามแผนการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งอย่างเคร่งครัด โดยอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำระหว่าง 30-50% ของปริมาณน้ำใช้การ แบ่งเป็น ขนาดใหญ่ 6 แห่ง ได้แก่ แม่มอก ห้วยหลวง ลำพระเพลิง มูลบน ลำนางรอง สิรินธร ขนาดกลาง 58 แห่ง ขณะที่อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำน้อยกว่า 30% ของปริมาณน้ำใช้การ ได้แก่ ขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ อุบลรัตน์ 216 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 12 % ทับเสลา 24 ล้าน ลบ.ม. 17% และกระเสียว 34 ล้าน ลบ.ม.13% และขนาดกลาง 42 แห่ง.

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า