Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สทนช. เผยประเทศไทยจะมีฝนลดลงช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ เตรียมแผนรองรับและกักเก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง พร้อมปรับลดการระบายน้ำในอ่างเก็บน้ำ

วันที่ 23 ก.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ กล่าวว่า วันนี้ (23 ก.ย.) ภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมาก 18 จังหวัด คือ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ ตรัง สตูล นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส

สำหรับ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออก ส่วนภาคตะวันตกมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ยังต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณแม่น้ำสงคราม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำบางปะกง

ส่วนช่วงวันที่ 24-28 กันยายน ประเทศไทยมีปริมาณฝนลดลง ขณะที่การติดตามสถานการณ์พายุโซนร้อน “จ่ามี” (TRAMI) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้ว และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางตะวันตกค่อนไปทางเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไต้หวันช่วงวันที่ 28-30 กันยายนนี้ โดยพายุลูกนี้ไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย

จากแนวโน้มการคาดการณ์ฝนที่ลดลงดังกล่าว สทนช. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในแผนการบริหารจัดการและการปฏิบัติการฝนหลวง ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักก่อนสิ้นสุดฤดูฝนกลางเดือนตุลาคมนี้ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลางที่มีปริมาณน้อยกว่า ร้อยละ 60 ของความจุทั้งประเทศ รวมกว่า 143 แห่ง

รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวย้ำว่า จากการคาดการณ์ฝนของ กรมอุตุนิยมวิทยา และ สสนก. ประเทศไทยจะเริ่มมีฝนลดลง จึงให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องวางแผนปรับลดการระบายน้ำในอ่างเก็บน้ำทุกขนาดตามการคาดการณ์ของฝน โดยวันพรุ่งนี้ (24 ก.ย.) สทนช. จะประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อเตรียมการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีน้ำต้นทุนน้อย จำเป็นต้องหารือถึงแผนปฏิบัติการเพื่อลดผลกระทบในพื้นที่เสี่ยง ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แล้งล่วงหน้าด้วย เพื่อให้พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า