Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สทนช.ชง 4 มาตรการด่วนสกัดแล้ง กนช. แจงพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำ ตั้งหน่วยงานเจ้าภาพหลักจับคู่พื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมเชื่อมข้อมูลแหล่งน้ำรัศมี 50 กม.ให้ 4 กระทรวงหลัก เพื่อเตรียมความพร้อมดึงน้ำใกล้เคียงเข้าช่วยเหลือ

วันที่ 12 มี.ค.2562 นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2562 สนทช.ได้รายงานให้ที่ประชุมทราบถึงสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน รวมถึงแผนการบริหารจัดการน้ำพร้อมมาตรการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2561/2562

ในส่วนของปริมาณน้ำต้นทุนนั้น ปรากฏการณ์เอลนินโญระดับอ่อนจะส่งผลต่อเนื่องไปถึง เดือน เม.ย. ซึ่งจะทำให้ปริมาณฝนของประเทศไทยต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2557 ที่มีปัญหาภัยแล้ง แต่จากการบริหารจัดการการใช้น้ำจะทำให้ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ เพียงพอต่อการใช้ทั้งในการอุปโภคบริโภคในภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม การดูแลสิ่งแวดล้อม จนถึงฤดูฝนเดือน พ.ค. จากการคาดการณ์ปริมาณฝนรวมของประเทศไทยเดือน มีนาคม 62 มีค่าต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 5 ภาคเหนือจะมีปริมาณฝนประมาณ 10-35 มิลลิเมตร ต่ำกว่าค่าปกติ 20 % สําหรับภาคอื่นๆ ปริมาณฝนจะต่ำกว่าค่าปกติ 10% ส่วนเดือนเมษายน 62 ปริมาณฝนทุกภาคส่วนใหญ่จะต่ำกว่าค่าปกติ 10% สําหรับเดือนพฤษภาคม ปริมาณฝนตกทั้งประเทศจะมีค่าใกล้เคียงปกติ และคาดการณ์ว่าจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม

ทั้งนี้ สทนช. ได้เสนอวิธีดำเนินการบรรเทาและลดผลกระทบพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเร่งด่วนใน 4 มาตรการหลัก คือ

1. แจ้งเตือนเกษตรกรงดการปลูกพืชฤดูแล้งและพืชต่อเนื่อง โดยมี กระทรวงมหาดไทย โดยจังหวัดเป็นเจ้าภาพหลัก พื้นที่เป้าหมาย 21 จังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเน้นสร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำและการเพาะปลูกพืชเข้าถึงเกษตรกรโดยตรง ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

2. ติดตามเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค โดยมอบให้กระทรวงมหาดไทย โดยจังหวัด และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นเจ้าภาพหลัก พื้นที่เป้าหมาย 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ ชัยภูมิ นครราชสีมา เลย กาญจนบุรี และราชบุรี โดยมีมาตรการจัดเตรียมรถบรรทุกน้ำ เครื่องสูบน้ำ จากหน่วยงานสนับสนุน ผ่านกลไกของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (กอปภ.จ) ให้สามารถเข้าดำเนินการช่วยเหลือได้ทันที ซึ่ง สทนช. ได้ชี้เป้าแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน ในรัศมี 50 กม. พร้อมจัดส่งข้อมูลให้ 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงกลาโหม รับทราบ เพื่อเตรียมแผนสำรองกรณีต้องดึงน้ำจากแหล่งน้ำอื่นใกล้เคียงมาสนับสนุนและบรรเทาปัญหาในฟื้นที่ประสบภัยได้ทันสถานการณ์

3. ทบทวนแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้ง ปี 2561/62 ให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังอ่อน โดยมอบมหายให้กรมชลประทาน และกรมทรัพยากรน้ำเป็นเจ้าภาพหลัก ในพื้นที่เป้าหมาย คือ พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคทั้งในและนอกเขตการประปาภูมิภาค (กปภ.) และพื้นที่เสี่ยงการเกษตรที่เพาะปลูกเกินแผน เพื่อดำเนินการเร่งตรวจสอบความต้องการใช้น้ำแล้ววิเคราะห์สมดุลน้ำเป็นรายพื้นที่

4. กรณีที่มีการปรับแผนการจัดสรรน้ำ โดยเฉพาะในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลักได้แก่ กรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่รับผิดชอบอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 อ่าง นั้น จะต้องพิจารณาอ่างเก็บน้ำที่มีความจุของน้ำใช้การจากน้อยไปมาก เพื่อสร้างความสมดุลของปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ให้เพียงพอต่อการจัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญ รวมถึงมีน้ำสำรองในต้นฤดูฝนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในปีต่อๆ ไป

อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า