Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คนไทยได้รับเกียรติ รับตำแหน่ง “ประธานคณะมนตรใหญ่องค์การการค้าโลก” กำกับดูแลการค้าเสรีของโลก

น.ส.สุนันทา กังวาลกุลกิจ เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ณ นครเจนีวา รับตำแหน่ง ประธานคณะมนตรีใหญ่ WTO เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา ต่อจาก ผู้แทนญี่ปุ่น

โดยเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่ดังกล่าวตั้งแต่มีการก่อตั้ง WTO เมื่อปี 2538 (24 ปี) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อถือ และความไว้วางใจของนานาชาติที่มีต่อประเทศไทย คณะมนตรีใหญ่เป็นองค์กรสูงสุดของ WTO ทำหน้าที่กำกับดูแลภาพรวมการดำเนินงานขององค์กร

WTO เป็นองค์กรระหว่างประเทศเพียงแห่งเดียวด้านการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่เจรจาจัดทำและกำกับดูแลกฎกติกาทางการค้าที่ใช้บังคับสมาชิกทุกประเทศอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนให้การค้าโลกมีความเสรียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ WTO ยังเป็นองค์กรเดียวที่มีกลไกการระงับข้อพิพาทด้านการค้าเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับสมาชิกและทำให้การค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันสามารถดำเนินได้อย่างโปร่งใสและสามารถคาดการณ์ได้ ส่งผลให้ WTO เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการค้าและเศรษฐกิจโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน และถูกนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานในเวทีการค้ากรอบอื่นๆ ทั่วโลก

การเข้ารับตำแหน่งในครั้งนี้ ถือว่ามีความท้าทายอย่างยิ่ง เพราะเป็นช่วงสภาวะเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศอยู่ในภาวะเฝ้าระวัง ซึ่งเป็นผลจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน การเสริมสร้างความเข้มแข็งและความน่าเชื่อถือของ WTO จึงถือเป็นภารกิจสำคัญในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่อระบบการค้าพหุภาคี

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นในการเตรียมประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 12 (MC12) ที่จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2563 ซึ่งจะกำหนดทิศทางการค้าและการดำเนินการของ WTO ในอนาคต โดยเฉพาะการปฏิรูปองค์การการค้าโลก หรือ WTO Reform เพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของพลวัตทางการค้าได้ดียิ่งขึ้น ภารกิจของประธานคณะมนตรีใหญ่ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของ WTO จึงมีทั้งการเสริมสร้างและผลักดันให้สมาชิกได้ข้อสรุปที่ทุกฝ่ายสามารถเห็นชอบร่วมกัน เพื่อให้การด าเนินงานของ WTO เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้สมาชิกและประชาคมโลกมั่นใจว่า WTO ยังเป็นองค์กรสำคัญที่กำกับดูแล และสร้างความเป็นธรรมทางการค้าระหว่างประเทศ

องค์การการค้าโลก (WTO) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 โดยมีสมาชิกแรกตั้ง 128 ประเทศ ไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 164 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทำหน้าที่บริหารความตกลงทางการค้ากว่า 30 ฉบับ อาทิ ความตกลงเกษตร ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้การอุดหนุน ความตกลงว่าด้วยมาตรการปกป้อง เป็นต้น โดยความตกลงฉบับล่าสุดคือ ความตกลงว่าด้วยการ อำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2560 นอกจากนี้ ยังมีองค์กรทบทวนนโยบายทางการค้า (TRP) ของประเทศสมาชิก รวมทั้งองค์กรในการระงับข้อพิพาท (DSB) ทั้งนี้ WTO ยังมีกลไกในการเจรจาเพื่อปรับปรุงกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศให้ทันสมัยและเป็นธรรม รวมทั้งเจรจาจัดทำกฎเกณฑ์ในเรื่องใหม่ๆ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

 

ที่มาแลภาพPermanent Mission of Thailand to the World Trade Organization – WTO

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า