Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 

ชาวกรุงเทพฯ ประสบปัญหาฝุ่น PM2.5 มาหลายวัน แต่รู้หรือไม่ว่าที่มาของ PM2.5 มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน
วันนี้ ทีมข่าวเวิร์คพอยท์พามาดูมาตรการแก้ปัญหาอย่างรอบด้านที่ทั่วโลกนิยมใช้กัน

อาจจะฟังดูตลกแต่ส่วนหนึ่งของปัญหา PM2.5 มาจากการเผาในภาพรวมจริง ๆ ทั้งนี้มาตรการห้ามต่าง ๆ อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้มากน้อยลดหลั่นกันไป
ในระยะแรก รัฐบาลจีนก็พยายามให้ประชากรลดละเลิกอาหารปิ้งย่าง และงดกินของทอด ซึ่งได้รับการตอบกลับจากอินเตอร์เน็ตที่ไม่งดงามนัก

แต่การห้ามชาวบ้านจุดเตาไฟเป็นเรื่องใหญ่ในอินเดีย เพราะประชากรในอินเดียมีจำนวนมากที่ยากจนและต้องพึ่งพาการจุดไฟทำอาหารแบบเก่า รัฐบาลอินเดียแก้ปัญหานี้ด้วยการแจกแก๊ส LPG ให้ชาวบ้านหลายล้านคน เป็นหนึ่งในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในบ้านไปกลาย ๆ นอกจากนี้ศาลสูงอินเดียยังแก้ปัญหาการเผาระดับครัวเรือนด้วยการควบคุมการเล่นดอกไม้ไฟในเทศกาล Diwali โดยให้จุดแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น อย่างไรก็ดี คนก็ยังจุดดอกไม้ไฟกันทั่วไปและหลังเทศกาลนี้มลพิษในอินเดียก็ยังเพิ่มสูงเหมือนเดิม

การเผาระดับครัวเรือนที่สำคัญอีกอย่างคือการเผาขยะ ซึ่งตัวอย่างประเทศที่มีมาตรการเรื่องนี้อย่างเด็ดขาดคือฟิลิปปินส์ เพราะออกกฎหมาย Ecological Solid Waste Management ที่ให้มีโทษสำหรับการเผาขยะ

ในหลายพื้นที่สาเหตุของฝุ่นควันบางส่วนมาจากไฟป่าและการเผาวัสดุการเกษตร จึงมีมาตรการต่าง ๆ แก้ปัญหานี้

ทุก ๆ เดือนพฤษภาคม สิงคโปร์และมาเลเซียจะพบปัญหา “Haze” หรือหมอกควันจากไฟป่าที่พัดมาจากอินโดนีเซียเป็นประจำ สาเหตุการเกิดไฟมาจากการลักลอบเผาป่าในเกาะบอร์เนียวและสุมาตราเพื่อเคลียร์หน้าดินทำเกษตรกรรม หลายครั้งลุกลามเป็นไฟป่า ปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นทุกปีจนสิงคโปร์และมาเลเซียช่วยกันผลักดัน “ข้อตกลงอาเซียนเรื่องปัญหาหมอกควันข้ามแดน” เพื่อวางโร้ดแมปจัดการเรื่องนี้กับอินโดนีเซียอย่างจริงจัง

รัฐบาลอินเดียก็พบว่ากรุงนิวเดลีประสบปัญหาหมอกพิษจากการเผาของเกษตรกรด้วยเช่นกัน จึงได้ออกเงินกว่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบห้าพันล้านบาทหาทางเลือกให้เกษตรกรเลิกเผาวัสดุจาการเกษตร โดยช่วยจัดหารถไถกลบให้ ตลอดจนร่วมมือกับภาคธุรกิจให้ช่วยซื้อเศษฟางข้าวไปทำเป็นพลังงานในการผลิต นอกจากนี้ หนึ่งในมาตรการรวมถึงการแต่งเพลงชักชวนให้เกษตรกรหยุดเผา

ส่วนไทยเองก็เคยแก้ปัญหาหมอกควันจากการเผาเศษวัสดุได้สำเร็จ จนอยู่ในโผ 25 วิธีที่ดีที่สุดในการหยุดยั้งมลพิษทางอากาศของ UN โดยแก้ด้วยการออกมาตรการควบคุมห้ามเผาอย่างเด็ดขาดเป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน

แม้จะรู้อยู่เต็มอกว่าส่วนหนึ่งของปัญหาหมอกควันส่วนหนึ่งแล้วมาจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่น้อยครั้งที่รัฐบาลจะเลือกแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ ซึ่งรัฐบาลที่แก้ได้อย่างอยู่หมัดคือรัฐบาลจีน มีการออกมาตรฐานจำกัดการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม บางเมืองมีการประกาศรายชื่อโรงงานที่ปล่อยควันเสียเป็นรายเดือน  มีการปรับและปิดโรงงานที่ปล่อยควันเสียเกินค่ามาตรฐานกว่า 2,500 โรงงาน

นอกจากนี้ยังกำหนดให้บริษัทใหญ่ ๆ ต้องเขียนแผนการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าที่สุด ไม่มีการสูญระหว่างทาง โดยเริ่มจาก 1,000 บริษัทที่ใช้พลังงานมากที่สุด ก่อนขยายเป็น 10,000 บริษัท และให้อำนาจรัฐบาลส่วนท้องถิ่นในการตรวจตราและทำโทษ

น่าคิดว่าเป็นเพราะจีนมีอำนาจรัฐที่แข็งแกร่งหรือไม่จึงสามารถใช้วิธีนี้ได้ เพราะอินเดียที่มุ่งมั่นลดปัญหามลภาวะเช่นกันก็ไม่สามารถต่อรองกับภาคธุรกิจได้ เห็นได้จากการที่งดเว้นข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมให้การก่อสร้างในภาคการผลิตต่าง ๆ เพื่อรักษากำลังการผลิต ส่วนยุโรปไม่พบว่ามีปัญหาหมอกควันจากสาเหตุนี้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษคือการสันดาปเชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ หลายประเทศจึงจัดให้มีการตรวจคุณภาพเครื่องยนต์ ซึ่งรายงานเรื่อง
Air pollution in Asia and the Pacific: Science-Based Solution โดยองค์การสหประชาชาติระบุว่ากระบวนการตรวจสอบรถยนต์เก่าของกรุงโตเกียวมีประสิทธิภาพมาก และหากรถยนต์นั้นไม่ผ่านการตรวจสอบก็จะไม่สามารถวิ่งบนถนนได้โดยเด็ดขาด เพราะจะมีพนักงานและเทคโนโลยีตรวจเช็กอยู่ตลอดเวลา ขณะที่อินเดียเองก็กำหนดให้รถยนตร์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่และรถ SUV ที่มีเครื่องยนตร์แรงม้ามากกว่า 2000 ซีซีห้ามวิ่งบนถนน

หลายที่ควบคุมตั้งแต่การผลิตและนำเข้ารถยนต์ให้ตรงตามมาตรฐาน อย่างประเทศอังกฤษ สิงคโปร์ อิสราเอล และเมืองฮัมบูร์กประเทศเยอรมันระบุว่ารถยนต์ที่จะวางขายในพื้นที่ได้ต้องผ่านมาตรฐานไอเสียระดับ “Euro 6” แล้วเท่านั้น มาตราฐานดังกล่าวเป็นการตรวจสอบคุณภาพรถที่พัฒนาโดยมาตรฐานยานยนต์ยุโรป โดยปัจจุบันไทยกำหนดให้ผ่านค่ายูโร 4 ก็สามารถใช้ได้แล้ว

นอกจากนี้แล้วหลายประเทศ เช่น นอร์เวย์ กรีก ฝรั่งเศส สเปน และเม็กซิโก ยังประกาศผลักดันให้ไม่มีการซื้อขายหรือใช้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลภายในกรอบเวลาอันใกล้

หลายเมืองที่มีการจราจรแน่นหนาเลือกใช้วิธีการลดปริมาณรถยนต์บนท้องถนน ฮิตที่สุดคือการให้รถเข้าเมืองได้ตามหมายเลขป้ายทะเบียน โดยดูว่าเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ และอนุญาตให้เข้าเมืองสลับวันกัน มาตรการนี้ถูกใช้ในกรุงโรม กรุงปารีส กรุงเม็กซิโกซิตี กรุงปักกิ่งและกรุงนิวเดลี [1]

ขณะที่บางเมือง เช่น โคเปนเฮเกนและลอนดอนเลือกใช้วิธีเก็บค่าเข้าย่านใจกลางเมืองให้แพงขึ้นเพื่อลดการนำรถเข้ามา และปารีสประกาศเป้าสร้างเมืองให้เป็นเมืองเดินเท้า

รัฐบาลจีนเป็นเจ้าใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ โดยให้เงินชดเชยค่าแบตเตอรี โดยในช่วงแรกให้เงินสูงถึง 60,000 หยวน หรือประมาณ 3 หมื่นบาท ปัจจุบันเมื่อรถไฟฟ้าเป็นที่นิยมแล้วก็มีการปรับลดเงินชดเชยลงมา แต่ทั้งนี้ผู้ใช้รถไฟฟ้าก็ได้รับสิทธิพิเศษจากรัฐบาลในการขับรถไปรอบ ๆ โดยไม่ถูกจำกัดเขตถนนแบบรถยนต์ทั่วไป นอกจากจีนแล้ว ญี่ปุ่นและเยอรมันก็เป็นตัวอย่างประเทศที่มอบเงินสนับสนุนให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า โดยบางแห่งอำนวยความสะดวกเรื่องจุดชาร์จไฟและที่จอดรถพิเศษด้วย

บางประเทศ แม้จะไม่มีการสนับสนุนเงินค่าซื้อรถโดยตรงแต่ก็สนับสนุนการใช้รถไฟฟ้าในรูปแบบของการงดภาษีรถยนต์หรือค่าใช้จ่ายรายปี ดังจะเห็นได้เนเธอร์แลนด์ละออสเตรเลีย

ขณะที่ออกมาตการลดปริมาณลดเข้าเมือง หลายเมืองก็ตอบสนองผู้ต้องการสัญจรไปมาด้วยการลงทุนกับระบบขนส่งสาธารณะ เมืองไฟว์บวร์กประเทศเยอรมนีมีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพมาก ถึงขนาดมีรถแค่ 428 คนต่อจำนวนประชากรหนึ่งพันคน แต่บางเมืองก็พัฒนาไปไกลกว่านั้น โดยประสานวิธีการนี้กับการออกแบบผังเมือง เมืองโทโยมาในประเทศญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างของเมืองที่รักษาขนาดกะทัดรัดของเมืองไว้ได้และอำนวยความสะดวกให้ประชากรด้วยรถราง

ขณะที่กรุงนิวเดลี ซึ่งเป็นเมืองที่ยังต้องอาศัยรถเมล์และเท็กซีก็มีคำสั่งศาลสูงสุดให้เรถยนต์ที่ให้บริการทั้งหมดเปลี่ยนจากการใช้เครื่องยนต์ดีเซลมาเป็นการใช้พลังงานแก๊ส CNG พร้อมกันนี้ก็จัดให้สร้างสถานีแก๊สทั่วเมือง

นอกจากนี้ หลายเมืองยังพยายามสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนให้คนออกมาปั่นจักรยานมากขึ้น เช่น กรุงลอนดอนกำลังขยายซูเปอร์ไฮเวย์ให้คนใช้จักรยานในเมืองได้อย่างปลอดภัย และเดนมาร์กมีการส่งเสริมวัฒนธรรมจักรยานจนทำให้คนเดนมาร์กเก้าในสิบคนเลือกเดินทางด้วยจักรยานในการสัญจรที่มีระยะทางต่ำกว่าห้ากิโลเมตร

อีกสาเหตุใหญ่ของปัญหาหมอกควันคือการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ทำให้หลายประเทศมุ่งตั้งเป้าลดการใช้โรงไฟฟ้าถ่านหิน เมื่อปีที่แล้ว (2018) รัฐบาลอินเดียเพิ่งปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียใกล้เมืองนิวเดลีไป และตั้งเป้าจะลดพลังงานถ่านหินเหลือ 40% ในปี 2030 ขณะที่รัฐบาลจีนก็ตั้งเป้าลดการใช้ถ่านหินลงครึ่งหนึ่ง โดยเชื่อว่าจะลดการใช้ได้ 180 ล้านตันภายในปี 2020 ส่วนรัฐบาลอังกฤษก็ประกาศยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดภายในปี 2525

นอกจากนี้จีนยังเป็นผู้นำเรื่องการลงทุนสร้างพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดอย่างแสงแดดและพลังงานลม โดยตัวเลขล่าสุดชี้ว่าจีนผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดมากเป็น 36% ของโลก และจากพลังงานลมคิดเป็น 42% ของโลก รัฐบาลจีนยังมีนโยบายตรึงราคาน้ำมันให้สูงไว้อย่างเด็ดขาดทำให้ความสามารถในการใช้พลังงานน้ำมันของประชากรลดต่ำลง แต่นโยบายนี้หากรัฐบาลไม่เข้มแข็งจริงก็ทำได้ยาก ฝรั่งเศสออกนโยบายคิดภาษีน้ำมันเมื่อปลายปีที่ผ่านมาก็ทำให้เกิดการลุกฮือเป็นกลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองในปัจจุบัน

ที่สำคัญที่สุด ต้องมีการสร้างการตระหนักรู้เมื่อเกิดมลพิษ

สิ่งแรก ๆ ที่รัฐบาลจีนทำหลังประสบปัญหามลพิษในปี 2012 คือการสร้างตัวชี้วัดคุณภาพอากาศใหม่ (AQI-Air Quality Index) เนื่องจากก่อนหน้านี้รัฐบาลไม่ได้รวมการตรวจจับฝุ่น PM2.5 ในการตรวจจับมลพิษ ส่วนรัฐบาลอินเดียก็เริ่มวางแผนเพิ่มเครื่องมือการวัดคุณภาพอากาศ และจัดทำข้อมูลเป็นData เพื่อให้ประเทินสถานการณ์ได้อย่างแม่นยำ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป ด้านรัฐบาลเกาหลีใต้ก็พัฒนาระบบแจ้งเตือนประชาชนเมื่อมีมลพิษเกินมาตรฐานผ่าน sms เพื่อให้ประชาชนทราบอย่างทันท่วงทีและดูแลตนเองได้ถูกต้อง

อ้างอิง

Air Pollution in Asia and the Pacific: Science-based solutions

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า