Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อย. แจง คุมเข้มกระบวนการผลิตน้ำปลาในประเทศไทย ต้องได้มาตรฐานก่อนจำหน่ายสู่ผู้บริโภค โดยสถานที่ผลิตต้องได้มาตรฐานจีเอ็มพี และผลิตภัณฑ์น้ำปลาต้องไม่พบจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคและสารพิษจากเชื้อแบคทีเรีย ส่วนน้ำปลาที่จะส่งออกจะต้องผ่านมาตรฐานและความปลอดภัยตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า ขอให้ทุกฝ่ายมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำปลาที่ผลิตจากผู้ผลิตในประเทศไทย

วันนี้ (24ต.ค.61) นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ชี้แจงเกี่ยวกับกระบวนการผลิตน้ำปลาในประเทศไทย ว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้กำกับดูแลการผลิตน้ำปลาที่ผลิตในประเทศไทยทั้งก่อนจำหน่ายและหลังจำหน่ายสู่ท้องตลาดอย่างเข้มงวด โดยสถานที่ผลิตต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (มาตรฐาน GMP) ซึ่งมีข้อกำหนดเรื่องการควบคุมคุมกระบวนการผลิต ตั้งแต่การรับวัตถุดิบ การควบคุมกระบวนการผลิต การบรรจุ และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ รวมถึงผลิตภัณฑ์น้ำปลาที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยจะต้องมีคุณภาพ มาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงว่าด้วยเรื่อง น้ำปลา โดยต้องไม่พบจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค และสารพิษจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum)

ทั้งนี้ เมื่อปี 2560 กระทรวงสาธารณสุขโดย อย. และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม โบทูลินัม และสารพิษโบทูลินัม ในตัวอย่างน้ำปลา รวม 48 ตัวอย่าง ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบทั้งสารพิษโบทูลินัมและเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม โบทูลินัม ในน้ำปลาทุกตัวอย่าง จึงขอให้ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยของน้ำปลาที่ผลิตจากผู้ผลิตในประเทศไทย

นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากกรณีมีข่าว U.S. FDA ออกประกาศห้ามนำเข้าน้ำปลาจากประเทศไทย นั้น อย. ขอชี้แจงเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคว่า กรณีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเตรียมหลักฐานเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของทางสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่ประเด็นการตรวจพบความไม่ปลอดภัยของน้ำปลาจากประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม อย. จะเชิญผู้ประกอบการตามที่เป็นข่าวมาหารือและชี้แจงในประเด็นดังกล่าว พร้อมทั้งเข้าตรวจสอบกระบวนการผลิตของโรงงานผลิตน้ำปลา และจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจกับ U.S. FDA เรื่องความปลอดภัยในกระบวนการผลิตน้ำปลาของประเทศไทยต่อไป

ทั้งนี้ อย.จะทบทวนมาตรฐานน้ำปลาทั้งในเรื่องมาตรฐานจุลินทรีย์ สารปนเปื้อนบางชนิด และมาตรฐานอื่น ๆ ผ่านคณะทำงานวิชาการเพื่อให้ปรับปรุงข้อกำหนดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันยิ่งขึ้น และยินดีให้ร่วมมือกับหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสนับสนุนให้น้ำปลาไทยสามารถส่งออกและสามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศต่อไปได้

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม>>>

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า