Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผย 9 จังหวัดได้รับผลกระทบน้ำท่วมจากพายุ ‘เบบินคา-เซินติญ’ เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ต่อเนื่อง จับตา 6 จังหวัดภาคเหนือเสี่ยงโคลนถล่ม น้ำป่าหลาก น้ำท่วมฉับพลัน 

วันที่ 19 ส.ค. 2561 นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า อิทธิพลของพายุโซนร้อนเบบินคา ะละมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 17 – 19 ส.ค. 2561 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินถล่มใน 6 จังหวัด ได้แก่ จ.น่าน เชียงราย ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ และ จ.แม่ฮ่องสอน รวม 35 อำเภอ 122 ตำบล 472 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,252 ครัวเรือน 13,425 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 2 จังหวัด และยังมีสถานการณ์อุทกภัย 4 จังหวัด รวม 25 อำเภอ 110 ตำบล 454 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,228 ครัวเรือน 13,381 คน ได้แก่

จ.น่าน น้ำลิ้นตล่งหลากเข้าท่วม 9 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอสันติสุข, แม่จริม, ท่าวังผา, ปัว, เชียงกลาง, ภูเพียง, เวียงสา, ทุ่งช้าง และอำเภอเมืองน่าน รวม 50 ตำบล 202 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,365 ครัวเรือน 5,917 คน ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น

จ.พะเยา น้ำไหลหลากและเกิดดินสไลด์ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปง, เชียงม่วน, เชียงคำ, แม่ใจ, เมืองพะเยา และอำเภอดอกคำใต้ รวม 25 ตำบล 154 หมู่บ้าน 3 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,680 ครัวเรือน 6,970 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น

จ.เชียงราย น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่ลาว, เทิง, พาน, แม่สรวย, เวียงป่าเป้า และอำเภอแม่จัน รวม 22 ตำบล 64 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 80 ครัวเรือน 216 คน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง

จ.ลำปาง น้ำไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังเหนือ, งาว, เมืองปาน และอำเภอแจ้ห่ม รวม 13 ตำบล 34 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 103 ครัวเรือน 278 คน ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น

ส่วนสถานการณ์จากอิทธิพลพายุโซนร้อนเซินติญ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค. ถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มรวม 32 จังหวัด รวม 109 อำเภอ 405 ตำบล 2,350 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 51,161 ครัวเรือน 149,831 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 27 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 5 จังหวัด รวม 24 อำเภอ 137 ตำบล 1,041 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,493 ครัวเรือน 58,005 คน ได้แก่
จ. นครพนม น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอปลาปาก อำเภอท่าอุเทน อำเภอธาตุพนม อำเภอนาแก อำเภอวังยาง อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาหว้า และอำเภอนาทม
จ.อุบลราชธานี ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเขื่องใน
จ.บึงกาฬ น้ำในแม่น้ำโขงล้นตลิ่งในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอโซ่พิสัย อำเภอปากคาด และอำเภอศรีวิไล
จ.กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน และอำเภอร่องคำ
จ.เพชรบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง และอำเภอบ้านลาด ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์น้ำภาพรวมระดับน้ำเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงแจกจ่ายถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า