Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ฝนตกเหนือเขื่อน ป่าสักฯ เพิ่ม ส่งผลให้น้ำไหลเข้าเขื่อนพระราม 6 สูง เร่งคุมการระบายน้ำ ขณะที่ศูนย์เฉพาะกิจฯ ย้ำเฝ้าระวังพื้นที่ท้ายน้ำ พร้อมคาด “พายุมังคุด” ขึ้นฝั่งจีนเริ่มอ่อนแรง แต่ยังส่งผลเหนือ-อีสานของไทยบางพื้นที่

วันที่ 16 ก.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ ประจำวันที่ 16 ก.ย. 61 ว่า พายุไต้ฝุ่น “มังคุด” (MANGKHUT) กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีแนวโน้มจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ และเคลื่อนเข้าสู่ประเทศจีนตอนใต้ในคืนวันนี้ ซึ่งอาจมีผลกระทบกับจังหวัดชายขอบของประเทศไทยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน แต่ไม่รุนแรงนักตั้งแต่คืนวันนี้

อย่างไรก็ตาม จะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้บริเวณพื้นที่รับลมมรสุมด้านตะวันตกของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ซึ่งศูนย์เฉพาะกิจฯ ยังต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ จากการติดตามปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ณ เวลา 06.00 น. พบว่า มีฝนตกหนักถึงหนักมากใน 11 จังหวัด ได้แก่ จ.จันทบุรี 147 มม. จ.ระนอง 102 มม. จ.พังงา 100 มม. จ.ตราด 80 มม. จ.ปทุมธานี 76 มม. จ.กระบี่ 73 มม. จ.สุราษฎร์ธานี 71 มม. จ.ลพบุรี 68 มม. จ.ตรัง 65 มม. จ.ฉะเชิงเทรา 57 มม. กรุงเทพฯ 57 มม. ตามลำดับ

จากปริมาณฝนที่ตกต่อเนื่องในพื้นที่เหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในบริเวณ จ.เพชรบูรณ์ และ จ.สระบุรี ส่งผลให้น้ำไหลเข้าเขื่อนป่าสักฯ เพิ่มขึ้น โดยปริมาณน้ำปัจจุบัน 507 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 53% ของความจุ ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 52.08 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 38.95 ล้าน ลบ.ม. ดังนั้นเพื่อรักษาระดับและปริมาณน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม กรมชลประทานได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำของเขื่อนเมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่ผ่านมา แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ เวลา 12.00 น. ระบายในเกณฑ์ 420 ลบ.ม./วินาที และเวลา 15.00 น. ระบายในเกณฑ์ 450 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนพระราม 6 สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ท้ายน้ำเขื่อนพระราม 6 จะควบคุมการระบายน้ำท้ายเขื่อนไม่เกิน 500 ลบ.ม./วินาที ซึ่งศูนย์เฉพาะกิจฯ ได้เน้นย้ำกรมชลประทานแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนรับทราบสถานการณ์ล่วงหน้าแล้ว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำอย่างต่อเนื่องด้วย

สำหรับปริมาณน้ำในอ่างฯ ขนาดใหญ่ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) และปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ ทั้ง 6 แห่งมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากปริมาณน้ำไหลเข้าน้อยกว่าระบายออก ดังนี้ 1. เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร ปริมาณน้ำ 103% ของความจุ 2. เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ปริมาณน้ำ 98% ของความจุ 3. เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี ปริมาณน้ำ 94% ของความจุ 4. เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ปริมาณน้ำ 92% ของความจุ 5. เขื่อนนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี ปริมาณน้ำ 93% ของความจุ และ 6. เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก ปริมาณน้ำ 87% ของความจุ

ส่วนระดับน้ำแม่น้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ มีระดับน้ำน้อยถึงน้ำปานกลาง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีระดับน้ำปานกลางถึงมาก มีน้ำสูงกว่าตลิ่งบางแห่ง โดยต้องเฝ้าระวัง แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ จ.กาญจนบุรี แม่น้ำนครนายก จ.นครนายก และแม่น้ำปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี

 

ขอบคุณภาพ : รอบรั้วชลประทาน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า