Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แม่น้ำที่แห้งขอดในกัวเตมาลา / AFP

ประเด็นคือ – ถ้าไม่ช่วยกัน อีก 30 ปี ผืนดิน 1 ใน 4 ของโลกอาจแห้งแล้งถาวรและภายใน 80 ปีบางพื้นที่ในเอเชียจะร้อนจนอยู่ไม่ได้

ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศล่าสุดเตือนว่าถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียสภายใน 30 ปีข้างหน้า ผืนดินร้อยละ 24-32 หรือประมาณ 1 ใน 4 ของโลกทั้งในยุโรปใต้ แอฟริกาใต้อเมริกากลาง ชายฝั่งออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจกลายเป็นพื้นที่แห้งแล้งถาวร

ข้อตกลงปารีสว่าด้วยสภาพอากาศกำหนดให้ประเทศ ๆ ช่วยกันไม่ทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาในศตวรรษนี้แต่ผลการศึกษาล่าสุดนี้แนะนำให้ทุกประเทศจริงจังกับปัญหาสิ่งแวดล้อมให้เร็วกว่าที่คิดๆ กันก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

เสียงเตือนนี้ออกมาหลังจากที่สหรัฐประกาศถอนตัวจากข้อตกลงปารีสเมื่อกลางปีที่แล้ว สำทับด้วยข้อความผ่านทวิตเตอร์ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า “ในภาคตะวันออก (ของสหรัฐ) น่าจะเผชิญช่วงส่งท้ายปีเก่าที่หนาวเหน็บที่สุดเป็นประวัติการณ์ บางทีเราอาจได้ใช้ประโยชน์จากเศษเสี้ยวข้อดีของโลกร้อนที่ประเทศเราไม่ใช่ประเทศอื่นเคยจ่ายเงินหลายล้านล้านดอลลาร์เพื่อต่อต้านมัน”

อีกหนึ่งผลการศึกษาที่พิมพ์เผยแพร่ใน Science Advances เตือนว่าภาวะโลกร้อนอาจทำให้ภายในปี 2643 (ภายใน 82 ปี) บางพื้นที่ในเอเชียร้อนจนอยู่ไม่ได้ พื้นที่ที่ว่าคือเอเชียใต้โดยเฉพาะทางเหนือของอินเดีย บังกลาเทศ และทางใต้ของปากีสถานซึ่งมีคนอาศัยอยู่ถึงประมาณ 1,500 ล้านคน

หญิงชาวอินเดียเดินบนทะเลสาบที่แห้งเหือด / AFP

ที่ว่าร้อนจนอยู่ไม่ได้คือการที่รู้สึกเหมือนอุณหภูมิรอบตัวสูงถึง 53.9 องศา แม้อุณหภูมิจริงที่วัดได้อาจอยู่ที่ประมาณ 34.4 องศาแต่เมื่อรวมความชื้น 80% จะทำให้รู้สึกเหมือน 53.9 องศาซึ่งเป็นระดับความร้อนที่ร่างกายคนเราไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้

ริชาร์ด รู้ด นักอุตุนิยมวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศ มหาวิทยาลัยมิชิแกน มองว่า “ถ้าไม่ช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกอาจสูงขึ้นกว่า 4 องศาซึ่งนั่นจะทำให้โลกใบนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง”

 

ที่มา Parts of Asia May Be Too Hot for People by 2100

Quarter Of World’s Land Will Be Permanently Drier If Paris Climate Goals Not Met: Study

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า