Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐบาลงัดมาตรการคุมแล้งต่อหน้าฝน! สทนช. วิเคราะห์หน้าแล้งปีนี้วิกฤต 12 จังหวัดเสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค เป็นเวลา 3 เดือน สาเหตุเพราะไม่มีแหล่งน้ำสำรองเพื่อผลิตน้ำประปา รัฐบาลสั่งกระทรวงมหาดไทย เร่งหาแหล่งน้ำใกล้เคียง

การประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 2/2562 ที่มี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 1 พ.ค. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. ได้รายงานผลวิเคราะห์จากข้อมูลน้ำฝนของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2562 ร่วมกับปริมาณแหล่งน้ำในแหล่งน้ำผิวดินต่างๆ คาดว่า จะมีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค เนื่องจากขาดแคลนแหล่งน้ำสำรอง สำหรับการผลิตน้ำประปา จำนวน 12 จังหวัด แบ่งเป็น

ภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร กำแพงเพชร ลำพูน อุตรดิตถ์ ตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์ กาฬสินธุ์

ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท อ่างทอง

ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี

เบื้องต้น สนทช. ได้จัดทำข้อมูลและแผนที่แสดงแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียงพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยให้หน่วยงานใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการต้นทุน เพื่อใช้ในการวางแผนแก้ไขพื้นที่ขาดแคลนน้ำด้วย ขณะเดียวกันขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนงานการแก้ไขปัญหาประสบภัยแล้งและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ระยะสั้น โดยใช้งบประมาณของหน่วยงานในพื้นที่จัดหาน้ำแจกจ่ายในพื้นที่ประสบภัยและใช้รถบรรทุกน้ำแจกจ่ายน้ำดื่ม จัดซื้อภาชนะบรรจุสำรองน้ำ ซ่อมแซมขุดบ่อบาดาล ซ่อมแซมถังเก็บน้ำ ขุดลอกแหล่งน้ำ ก่อสร้างและซ่อมแซมระบบกระจายน้ำ

ระยะกลาง เป็นการพัฒนาแหล่งน้ำโดยการเพิ่มความจุ แหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำอื่นๆ รวมโครงการที่มีความพร้อมในการดำเนินการ มีจำนวนทั้งสิ้น 144 โครงการ งบประมาณ 1,200 ล้านบาท สามารถเพิ่มแหล่งเก็บกักได้ 28.12 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ที่ประชุมให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพตรวจสอบแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์วิกฤต และให้จังหวัดเป็นเจ้าภาพในการบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประกาศภัยแล้ง โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นศูนย์กลางการอำนวยการ ซึ่งแต่ละจังหวัดจะต้องจัดหมวดหมู่การช่วยเหลือ รวมทั้งให้กระทรวงมหาดไทยและการประปาภูมิภาคพิจารณาหาแหล่งน้ำสำรองในการผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภคและบริโภค

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณามาตรการเตรียมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2562 ตามปฏิทินการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 31 ตุลาคม 2562

ขอบคุณภาพประกอบสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า