Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ทีมงานจิสด้า ประเมินและติดตามสถานการณ์ สถานีอวกาศเทียนกง-1

ประเด็นคือ – สถานีอวกาศเทียนกง – 1 ของจีนตกสู่โลกแล้ววันนี้ ลงในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ไม่ทำความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินชาวโลก

เฟซบุ๊ก “จับตาเทียนกง 1” เปิดเผยว่า หน่วยงานติดตามและรายงานสถานการณ์ของสถานีอวกาศเทียนกง-1 ของจีน หรือ China Manned Space Agency: CMSA ประกาศผ่านทางเว็บไซต์ว่า เมื่อเวลา 08.15 ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 07.15 ตามเวลาในประเทศไทย สถานีอวกาศเทียนกง-1 ของจีน ได้ตกสู่พื้นโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ โดยไม่มีรายงานความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ก่อนหน้านี้ ข้อมูลอัพเดทตำแหน่งตก วันที่ 2 เมษายน 2561 เวลา 4:30 ของสถานีอวกาศเทียนกง-1 ของ satview, เครือข่ายเฝ้าระวังวัตถุอวกาศ (space surveillance network: SSN) และ GISTDA ตำแหน่งตกของสถานีอวกาศเทียนกง-1 ถูกคาดการณ์วันที่ 2 เมษายน 2561 ช่วงเวลา 6:00 – 10:30 ว่าจะตกที่ มหาสมุทรแปซิฟิก และ แอตแลนติก ถ้ามีความคืบหน้าจิสด้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะอัพเดทข้อมูลใหม่อย่างต่อเนื่อง

ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน ผู้เชี่ยวชาญกลศาสตร์วงโคจร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ จิสด้า เปิดเผยว่า สถานีอวกาศเทียนกง-1 โครจร 16 รอบต่อ 1 วัน ล่าสุดตรวจพบอยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้ฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 7 – 10 กิโลเมตรต่อวินาที แต่จะเพิ่มความเร็วในการเคลื่อนที่มากขึ้นเรื่อยๆ สืบเนื่องจากการเคลื่อนตัวใกล้พื้นโลก ที่มีแรงดึงดูดให้เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น

ด้านองค์การอวกาศยุโรป (The European Space Agency : ESA) และ Aerospace ออกมาแถลงคาดการณ์ว่าสถานีอวกาศเทียนกง-1 กำลังจะตกลงสู่พื้นโลกในเช้าวันนี้ แต่แอนดรูว อับราฮัม (Andrew Abraham) สมาชิกอาวุโสของทีมงาน ด้านเทคนิคของ Aerospace กล่าวว่า ตำแหน่ง และเวลา ตกของสถานีอวกาศ ยังคงไม่สามารถระบุได้อย่างแน่นอน

เนื่องด้วยปัจจัยที่มีผลต่อการตก อย่างเช่น ดวงอาทิตย์ สภาพอากาศ และอัตราการเผาไหม้ของยาน ล้วนมีส่วน ทำให้ทิศทางจุดตกของ เทียนกง-1 อาจเปลี่ยนตำแหน่งได้หลายร้อยกิโลเมตร ภายในระยะเวลาไม่กี่นาที ทำให้นักวิทยาศาสตร์ จะสามารถคำนวณเวลา และระบุจุดตกของยานนี้ได้จริง และแม่นยำที่สุด ในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงสุดท้าย ก่อนยานจะลงสู่มหาสมุทร หรือพื้นดิน

สำหรับสถานีอวกาศเทียนกง-1 เป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของจีน มีน้ำหนักมากกว่า 8 ตัน ความยาวประมาณ 10 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เมตร วัสดุส่วนใหญ่จะเป็นโลหะ เช่น ไทเทเนียม ซึ่งมีคุณสมบัติทนไฟ จึงไม่ถูกเผาไหม้กับชั้นบรรยากาศ หากหลงเหลือตกลงสู่บริเวณชุมชน หรือที่อยู่อาศัยของประชาชนอาจจะเกิดความเสียหายได้

สถานีอวกาศเทียนกง-1 ขึ้นสู่วงโคจร ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2554 โดยทางการของจีนใช้เป็นสถานีอวกาศ เพื่อทดลองและพัฒนาเทคนิค ส่วนต่อขยายที่จำเป็น สำหรับการขยายศูนย์อวกาศ และหวังจะส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไปประจำการบนสถานีในอนาคต

เส้นทางการโคจรสถานีอวกาศเทียนกง-1 ผ่านพื้นที่ประเทศไทย วันที่ 2 เม.ย. 2561 ตามเวลาประเทศไทย เวลา 00.50 สถานีอวกาศเทียนกง-1 โคจรรอบโลกด้วยความสูงจากพื้นโลกโดยเฉลี่ย 149.74 กิโลเมตร

สำหรับประชาชนที่ต้องการติดตามสถานการณ์สามารถติดตามการรายงานได้ที่เฟซบุ๊ก จับตาเทียนกง1

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า