Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เครื่องหมาย “สวัสดิกะ” หรือสัญลักษณ์ของกองทหารนาซีที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จุดชนวนกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมไทยมาหลายต่อหลายครั้ง ก่อนเหตุการณ์ไอดอลสาววงดังใส่ชุดลายสวัสดิกะซ้อมคอนเสิร์ต ก่อนหน้านี้ เครื่องหมายไม่พึงประสงค์นี้ก็เคยปรากฎในหนังสั้นค่านิยม 12 ประการที่รัฐบาลให้สร้างขึ้น บนซุ้มแสดงความยินดีของบัณฑิตจบใหม่ของมหาวิทยาลัยชื่อดัง และเป็นธีมงานกีฬาสีของโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ จนเกิดคำถามว่าเด็กไทยรู้เรื่องนาซีมากน้อยเพียงใด

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์สุ่มหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้น ม.3 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของการศึกษาภาคบังคับมากางดู เพื่อตรวจสอบสถานการณ์การรับรู้ประวัติศาสตร์โลกของเด็กไทยผ่า

สุ่มหนังสือเรียน 3 เล่ม พบพูดถึงนาซีเล่มเดียว

จากการสุ่มหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ทั้งหมด 3 เล่ม จากรายชื่อหนังสือวิชาประวัติศาสตร์ม.3 ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการทั้งหมด 6 เล่ม  พบว่า มีหนังสือที่กล่าวถึงลัทธินาซีเพียงเล่มเดียว

หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) มีเนื้อหาที่กล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งหมด 2 หน้า โดยบรรยายลำดับเหตุการณ์ที่นำไปสู่การต่อสู้ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะและผลกระทบทั้งด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม โดยระบุว่ามีผู้บาดเจ็บล้มตายระหว่างสงครามมากกว่า 20 ล้านคน ทั้งนี้ไม่ได้กล่าวถึงบทบาทของนาซีในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่อย่างใด

ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

ส่วนหนังสือ ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)  ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเสริมการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง ก็พบว่ามีเนื้อหาอธิบายเรื่องความร่วมมือและความขัดแย้งในคริสตศตวรรษที่ 20 เพียง 2 หน้า โดย 1 หน้าแบ่งกล่าวถึงความขัดแย้งในสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น โดยไม่ได้กล่าวถึง “นาซี” ขณะที่อีก 1 หน้าพูดถึงความร่วมมือในกรอบสันนิบาตชาติและองค์การสหประชาชาติ

เมื่อสำรวจเนื้อหากิจกรรมท้ายบท พบว่ากิจกรรมครอบคลุมเนื้อหาประวัติศาสตร์โลกในศตวรรษที่ 21 โดยกว้าง ๆ เช่น กิจกรรมที่ 7 ให้วิเคราะห์ข่าวบทบาทของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปคว่ำบาตรอิหร่าน และความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่น ส่วนแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด 10 ข้อกล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวน 1 ข้อ โดยถามถึง “ข้อดี” ของสงครามโลกครั้งที่ 2  ส่วนกิจกรรมอื่นๆ ไม่ได้กำหนดให้ผู้เรียนได้เลือกหัวข้อในการทำกิจกรรมเองแต่อย่างใด

หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ม.3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์

หนังสือเรียนจากการสุ่มเพียงเล่มเดียวที่กล่าวถึง “นาซี” คือหนังสือ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ม.3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ โดยกล่าวถึง อดอล์ฟ อิตเลอร์ ผู้นำพรรคนาซีว่า “ได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่สร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศจนนำไปสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ”ในตอนท้ายของเนื้อหาพัฒนาการและการสร้างสรรค์ด้านต่าง ๆ ของทวีปยุโรป

นอกจากนี้ ในส่วนเนื้อหาเรื่อง “สงครามโลกครั้งที่ 2” ยังกล่าวถึงไว้ในตอนต้นว่า

“หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1918 ยุโรปมีสันติภาพและความสงบสุขอยู่ระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อพรรคนาซี ซึ่งมีอดล์ฟ ฮิตเลอร์เป็นผู้นำมีอำนาจทางการเมืองในค.ศ. 1933 เยอรมนีได้เริ่มนโยบายขยายดนแดนและอิทธิพลเข้าไปในยุโรประหว่าง ค.ศ. 1936 – 1948 จนนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศและกลายเป็นสงครามในที่สุด”

และกล่าวถึงการขยายตัวของลัทธิฟาสซิสต์และลัทธินาซี รวมถึงลัทธินิยมทหารว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และสรุปในส่วน “ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 ” ว่า “ลัทธินาซีของเยอรมนีเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและทำให้เกิดสงคราม” และมีเนื้อหาครอบคลุมถึงกฎหมายนูแรมเบิร์กที่พรรคนาซีได้ออกและกวาดล้างชาวยิว โดยชี้ว่า “การพิจารณาคดีนูแรมเบิร์ก (Nuremberg Trials) จึงเป็นการเปิดเผยความชั่วร้ายของลัทธินาซีให้ประชาคมโลก”

ทั้งนี้ จากการสุ่ม 3 เล่ม พบว่า มีจุดประสงค์ในการบรรยายการเกิดและการคลี่คลายสงครามเย็นในภาพกว้างเท่านั้น ไม่มีเล่มใดพูดถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

หนังสือเรียนที่จะใช้ในสถานศึกษาได้จำเป็นต้องได้รับใบประกาศรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการก่อน และโรงเรียนจะเลือกหนังสือจากรายการหนังสือที่ได้รับอนุญาตเพื่อนำมาสอนต่อไป

สพฐ.ชี้ การศึกษาภาคบังคับสอนไว้พอแล้ว

สาเหตุที่หนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์ชั้นม. 3 มุ่งอธิบายสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกว้าง ส่วนหนึ่งมาจากข้อกำหนดที่ระบุไว้ให้ทุกโรงเรียนต้องปฏิบัติ โดยหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระบุว่านักเรียนที่จะจบการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องสามารถ “ วิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ความร่วมมือและความขัดแย้งในคริสตศตวรรษที่ 20 ตลอดจนความพยายามในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง” พร้อมทั้งยกเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นตัวอย่างเนื้อหาที่ควรรู้ แต่ไม่ได้กำหนดโดยชัดเจนว่าการศึกษาเรื่องใดเป็นภาคบังคับ นักเรียนจำเป็นต้องทราบทุกคนบ้าง

ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งให้ความเห็นว่า การกำหนดหลักสูตรไว้เช่นนี้ประกอบกับกำหนดเวลาเรียนไว้เพียง 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ทำให้ครูสอนต้องตามที่หลักสูตรกำหนด และเลือกลงรายละเอียดในเรื่องที่ถนัด

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์นำมาใช้โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อความแล้ว

อย่างไรก็ดี น.ส.นิจสุดา อภินันทาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ให้สัมภาษณ์แก่สื่อหลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า เรื่องนี้คงไม่จำเป็นต้องปรับหลักสูตรเพราะเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ นักเรียนได้เรียนเพียงแต่อาจจำไม่ได้ กรณีไอดอลสาวใช้เครื่องหมายสวัสดิกะน่าจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า