Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเทศไทยมีการใช้ยาเพื่อป้องกันการมีผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่ โดยการใช้ยาเป๊ป และยาเพร็ป สามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ถึงร้อยละ 92 แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

กำลังเป็นกระแสความสนใจของสังคม สำหรับกรณี 4 สาว ติดเชื้อ HIV เสียชีวิตหลังพากันไปสักลาย ซึ่งญาติตั้งข้อสงสัยว่าติดเชื้อ HIV จากเข็มสัก เรื่องนี้นพ.เมธิพจน์ ชาตะเมธีกุล ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ออกมาให้ข้อมูลว่า การเสียชีวิตจากการติดเชื้อ HIV ภายในระยะเวลา 1 เดือน แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากระยะฟักตัวของเชื้อโรคอยู่ในระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เวลาเริ่มรับเชื้อเข้ามาในร่างกายจนเริ่มปรากฏอาการ ประมาณ 3-5 ปี หรือนานกว่านั้น เพราะเชื้อ HIV จะอาศัยเม็ดเลือดขาวและทำลายเซลล์สำคัญที่ต่อสู้กับโรคภายนอกร่าง คือ เม็ดเลือดขาวซีดีโฟร์ รวมถึงทำลายระบบคุ้มกันร่างกาย

ขณะที่เพจ Drama-addict ระบุว่า เรื่องนี้จะต้องแยกเป็น 2 ประเด็น คือ ถ้าผู้ตายติดเชื้อจากการสัก ซึ่งมันเป็นไปได้หากสักในร้านที่ไม่สะอาด ไม่ใช้อุปกรณ์ใหม่ทุกราย แต่เอาไปล้างแล้วเอามาสักคนอื่นต่อ ซึ่งแค่นี้มันไม่เพียงพอที่จะฆ่าเชื้อแบบนั้นมีโอกาสติดได้ ตัวอย่าเกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศจะไปสักร้านไหน จำไว้ว่าต้องเลือกร้านที่มีมาตรฐาน ใช้อุปกรณ์สะอาด ใช้เข็มใหม่เสมอ

และต่อให้ติดเชื้อจากการสัก ระยะเวลาที่โรคนี้จะพัฒนาจากติดเชื้อเป็นระยะสุดท้ายคือ เอดส์ จะใช่เวลาประมาณ 4-11 ปี จึงจะแสดงอาการ แล้วส่วนมากถ้าเสียชีวิตคือติดเชื้อฉวยโอกาส เพราะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อ HIV ดังนั้นไปสักมาสามสี่เดือนติดเชื้อ HIV แล้วเสียชีวิตไม่น่าจะเป็นไปได้อย่างยิ่ง…

สำหรับ HIV คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิด ‘โรคเอดส์’ โดยจะทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่าย ไวรัสนี้จะไปทำลายเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน (ระบบภูมิคุ้มกันคือระบบที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคภายนอกร่างกาย) เมื่อเชื้อไวรัส HIV ทำลายระบบภูมิคุ้มกันแล้ว ร่างกายจะติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่าย และเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้
ปัจจุบันประเทศไทย มีการใช้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ตามแนวทางดังนี้

1. ยาเพร็ป (Pre-Exposure Prophylaxis หรือ PrEP) สำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง หรือมีคู่สัมพันธ์ที่มีเชื้อ HIV เพร็ป เป็นการให้ยา 2 ตัว ร่วมกันก่อนการสัมผัสเชื้อ คือ ยาทีโนโฟเวียร์ (TDF) ให้ร่วมกับเอมทริซิตาบีน (FTC) สามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 92 ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการทานยา ผู้ใช้ยาจะต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีเชื้อ HIV มาก่อน

2. ยาเป๊ป (Post -Exposure Prophylaxis หรือ PEP) ป้องกันก่อนเสี่ยง ก่อนสัมผัสเชื้อ คือ ยาฉุกเฉินที่ต้องทานหลังการได้สัมผัสหรือได้รับเชื้อ HIV ภายในเวลา 72 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV แต่พึ่งไปสัมผัสหรือรับเชื้อ HIV มา จำเป็นต้องกินยาให้เร็วที่สุดภายหลังการสัมผัสเชื้อจากภาวะเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ยาเป๊ปจะช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของสารพันธุกรรมในเชื้อ และยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ การรับประทานยาชนิดนี้ จำเป็นต้องทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งเดือน และต้องทานยาต้านไวรัสเหมือนกับผู้ติดเชื้อ HIV อาจมีผลข้างเคียงคือ ท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน

การป้องกันการมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ โดยการใช้ยาเป๊ป และยาเพร็ป อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV ได้จริง ดังจะเห็นได้จาก แนวทางการรักษาและป้องกันการติดเชื้อ HIV ของสถาบันที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งนำไปสู่การลดการระบาดของโรคเอดส์ได้อย่างได้ผลในอนาคตนั่นเอง

 

สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเปิดเผยตัวตน แต่ต้องการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี และขอรับยาเพร็พ – เป๊ป หรือขอคำปรึกษา สามารถติดต่อได้ที่เว็บไซต์เลิฟแคร์สเตชั่น www.lovecarestation.com

อ้างอิงข้อมูลจากเพจ หาหมอ.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  1. 4 สาวเสียชีวิต หลังพากันไปสักลาย ญาติสงสัยติดเชื้อ HIV จากเข็ม
  2. เผยผลชันสูตรศพ! สาวติดเชื้อ HIV นาน 1 ปีก่อนไปสัก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า